วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

Shoulder impingement syndrome (SIS)

Shoulder impingement syndrome (SIS)

ดูเรื่อง approach to shoulder pain

การตรวจพิเศษสำหรับ SIS คือ Neer และ Hawkins Kennedy impingement test ต้องวินิจฉัยแยกโรคที่สำคัญ คือ rotator cuff tear (older adult, positive drop arm sign + external rotation weakness) และ adhesive capsulitis (restrict active + passive movement) เพราะการรักษาแตกต่างกัน



การรักษา

  • ในรายที่เกิดอาการเฉียบพลัน ให้ประคบเย็น พัก ใช้ยา NSAID 7-10 วัน และนัดติดตามอาการ 1-2 สัปดาห์
  • การรักษาหลัก คือ การทำ rehabilitation อาการควรจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆในหลายสัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทำ plain film และ US MSK หรือทำ MRI (ถ้า US MSK ได้ผลไม่ชัดเจน) แล้วปรับการรักษาตามผล imaging (RC tear, labral tear) ในรายที่ SIS ไม่ดีขึ้นใน 6-9 เดือนให้ refer orthopedist
  • การรักษาอื่นๆที่มีการใช้แต่ไม่มีหลักฐานว่าได้ประโยชน์หรือมีน้อย เช่น taping, subacromial injection, electrical stimulation, phonophoresis, iontophoresis, therapeutic ultrasound, laser, acupuncture, radial extracorporeal shock wave therapy 

 

Rehabilitation ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน

ขั้นแรก คือ การสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบสะบัก (scapular stabilizer) ซึ่งจะทำให้ rotator cuff ที่เกาะจาก scapula มีความมั่นคง เนื่องจากเป็นกลุ่ม postural muscle การออกกำลังจึงเน้นที่จำนวนครั้งมากๆ  แต่ใช้แรงต้านไม่มาก ขณะทำต้องบีบ shoulder blade เข้าหากัน เริ่มจากทำ 25 ครั้ง พัก 30 วินาที ทำซ้ำ 2 ครั้ง ให้เพิ่มแรงต้านถ้าสามารถทำได้ 50 ครั้ง x 2-3 รอบโดยไม่เจ็บ และเมื่อทำได้แล้วให้เริ่มใช้ weight resistance กับเครื่องออกกำลังกายหรือ dumbbell ในท่าเดียวกัน

 ท่าออกกำลังที่แนะนำ ได้แก่ 

  • Row ยางอยู่ระดับเอว ดึงนับ 2 ปล่อยนับ 4

  • Shoulder extension ยางอยู่ระดับเอว ดึงนับ 2 ปล่อยนับ 4

  • Scapular downward rotation and depression ("Supermans") นอนคว่ำเหยียดแขนไปด้านหน้า ยกแขนจากพื้นค้างไว้นับ 2 ค่อยๆลดแขนลงนับ 4
  • Horizontal shoulder abduction ยางอยู่ระดับไหล่ เหยียดศอกตรง ดึงยางจนแขนและลำตัวเป็นรูปตัว “T”



Stretching ทำ 30 วินาที พัก 5-10 วินาที แล้วทำซ้ำ 3 ครั้ง ในแต่ละท่า ช่วงที่ยังเจ็บให้ทำวันละครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นให้ทำ 2-3 ครั้งต่อวันหลังการออกกำลัง ได้แก่

  • Corner ยกแขนทำมุมฉาก เอนตัวไปด้านหน้ายืดหน้าอกและไหล่ค้างไว้

  • Posterior shoulder capsule stretch

  • Sleeper stretch นอนเอาไหล่ด้านหนึ่งลง งอศอกเป็นมุมฉาก ดันมือลงทำ internal rotation

  • Pectoralis minor stretch วางมือบนกำลัง แขนทำมุม 45 องศา ความสูงระหว่างไหล่และเอว บิดตัวออกจากกำแพง


ขั้นที่สอง แก้ไขความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นระหว่างกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ มักพบว่ากล้ามเนื้อทางด้านหน้าไหล่ (anterior deltoid, subscapularis) จะแข็งแรงมากกว่าด้านหลัง (posterior deltoid, external rotator)1.5-2 เท่า เนื่องจากเป็น phasic muscle การออกกำลังจะทำ 2-3 รอบ รอบละ 10-20 ครั้ง แบ่งกล้ามเนื้อเป็น 3 กลุ่ม คือ supraspinatus, external rotation (infraspinatus, teres minor), internal rotation (subscapularis)

เริ่มทำจาก isometric exercise แล้วทำ active exercise แล้วจึงค่อยเพิ่ม resistance

Isometric exercise

  • Supraspinatus ทำท่า “full can” ทำ external rotate 45 องศา ยกแขนออกแรงชนกับกำแพงที่ระดับเอว ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10-15 ครั้ง 2 รอบ
  • External rotator ทำค้างไว้ 2-5 วินาที ทำ 10-15 ครั้ง 2 รอบ
  • Internal rotator มักไม่มีปัญหา

Active exercise เริ่มจาก non-weight ก่อน แล้วจึงค่อยเพิ่ม resistance

  • Active abduction ทำท่า “full can” ทำ external rotate 45 องศา ยกแขนขึ้นจนถึงระดับไหล่ ค้างไว้ 1 วินาที ค่อยๆลดแขนลง ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ ถ้าเพิ่ม resistance ให้ยก dumbbell 0.45 kg ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ ค่อยๆเพิ่มน้ำหนักเป้าหมายคือ 4.5-5.5 kg 20 ครั้ง 3 รอบ

  • Active external rotation เอาแขนแนบลำตัว งอศอกมุมฉาก ทำ external rotation จากท้องหมุนออกจนมือชี้ไปเลยด้านหน้าไปเล็กน้อย ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ ถ้าเพิ่ม resistance ให้ใช้ยางยืด หรือใช้ dumbbell (นอนตะแคงเอาไหล่ด้านตรงข้างลง) ค่อยๆเพิ่มน้ำหนักเป้าหมายคือ 4.5-6.8 kg 20 ครั้ง 3 รอบ หรือใช้น้ำหนักอย่างน้อย 50% ของ internal rotation exercise
  • Active internal rotation ถ้าใช้ resistance ให้นอนตะแคงให้แขนข้างที่ออกกำลังลง น้ำหนักเป้าหมายคือ 6.8-11.3 kg 20 ครั้ง 3 รอบ


 ขั้นที่สาม เน้นที่ secondary shoulder muscle ในการทำงานประสานของไหล่ทั้งหมด

  • Active internal rotation with resistance in 90-90 position น้ำหนักเป้าหมายคือ 9.0-13.6 kg 20 ครั้ง 3 รอบ
  • Active external rotation with resistance in 90-90 position น้ำหนักเป้าหมายคือ 4.5-6.8 kg 20 ครั้ง 3 รอบ


ขั้นที่สี่ แก้ไขความไม่สมดุล หรือการทำงานผิดปกติของร่างกายส่วนอื่นๆที่ต้องทำงานประสานกัน (ขา สะโพก ลำตัว)

 

Ref: Up-To-Date

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากนะครับ ไม่เคยเจอท่าออกกำลังเลย รู้สึกเหมือนเพิ่งเคยเรียน

    ตอบลบ