วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

COVID-19 in children

COVID-19 in children

อาการและอาการแสดง

  • ไม่มีอาการ 13%
  • ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พบมากที่สุด คือ ไข้ ไอ (63%, 34%) และรองลงมา ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน (20%) ถ่ายเหลว (20%) ปวดท้อง (18%) น้ำมูกปวดเมื่อยตัว เจ็บคอ ปวดศีรษะ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส
  • บางส่วนมีอาการรุนแรงและมีอาการหลายระบบ

CDC criteria for MIS-C: fever > 24h + elevated inflammatory marker + > 2 systemic involvements + COVID-19 infection

  • ส่วนใหญ่มีอาการ 3-11 วัน (เฉลี่ย 5 วันในเด็ก 5-11 ปีและ 7 วันในเด็ก 12-17 ปี) ส่วนน้อย 4% มีอาการ > 28 วัน (เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หายใจผิดปกติ ใจสั่น การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ)
  • Lab ผิดปกติที่พบ ได้แก่ elevated CRP (54%), ferritin (47%), LDH (37%), D-dimer (35%), procalcitonin (21%), ESR (19%), leukocytes (20%); lymphopenia (19%), lymphocytosis (8%), elevated ALT (30%), CK-MB (25%)

 

เกณฑ์การตรวจหา COVID-19 (Up-To-Date)

  • มีอาการเข้าได้กับ COVID-19 ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่ง
    • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง (medical complexity, genetic disease, neurological disease, metabolic conditions, cardiovascular disease, obesity, DM, asthma/chronic lung disease, sickle cell disease, immunosuppression)
    • สัมผัสโรคมาภายใน 14 วัน
    • มีอาการรุนแรง (ต้องการ O2 supplement, ventilatory support, หรืออาการเข้าได้กับ MIS-C)
  • ตรวจทุกรายที่รักษาตัวในรพ. หรือ ก่อนทำ elective surgery
  • +/- ตรวจก่อนกลับเข้าเรียนหลังจากหายหรือหลังสัมผัสเชื้อ

 

ประเมินความรุนแรง แบ่งเป็น mild, moderate (LRTI without need O2 supplement), severe (O2 supplement), และ critical (ventilation support, sepsis, MOF)

 

การรักษาทั่วไป

  • รักษาประคับประคอง ได้แก่
    • O2 supplement ในรายที่ O2 sat < 94% หรือ pediatric assessment triangle ผิดปกติ > 2 ด้าน (appearance, breathing, circulation)
    • Assisted ventilation (BVM, ETT) ใน apnea, bradypnea, หรือจาก ETCO2  
    • Circulatory support ประเมินภาวะ shock จาก LOC, skin perfusion, pulse
    • Fluid & electrolytes ถ้ามี hypovolemia และจำเป็นต้องได้ IVF แนะนำให้ NSS 20-40 mL/kg IV in 2-4 h และให้ 5%DNSS + KCL 10 mEq/L ต่อเป็น maintenance (ในเด็ก > 28 วัน ที่ไม่มี comorbidity และยกเว้นในเด็กที่มี hypernatremia ซึ่งต้องคำนวณ IVF จาก free water loss)
    • Empirical ATB เมื่อมี CAP หรือ HAP
    • ติดตามภาวะ cytokine release syndrome (ตรวจ CRP, D-dimer, ferritin, LDH 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์; IL-6 ตรวจ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ถ้าค่าสูงกว่าปกติหรืออาการแย่ลง)
    • VTE prophylaxis (ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุ > 12 ปีและมีปัจจัยเสี่ยง) ในเด็กที่ไม่มี MIS-C ให้พิจารณาความเสี่ยงเป็นรายๆไป แนะนำ non-pharmacologic strategies (IPC, early immobilization) ส่วนในเด็กที่มี MIS-C แนะนำให้ aspirin 3-5 mg/kg/d ทุกราย และให้ therapeutic dose LMWH ในรายที่มี VTE, severe LV dysfunction, large CA aneurysm, severe MIS-C, หรือมีความเสี่ยงอื่นๆ
  • Antiviral therapy ใน severe-critical COVID-19 และใน mild-moderate COVID-19 ที่เสี่ยงต่อ severe disease แนะนำให้ remdesivir (เมื่อ supply มีจำกัด ให้กลุ่ม severe ก่อน)
  • Glucocorticoids ให้พิจารณาเป็นรายๆไป เพราะประโยชน์ในเด็กไม่ชัดเจน ใน severe COVID-19 อาจให้ dexamethasone 0.15 mg/kg (max 6 mg) PO/IV daily

 

การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

  • พิจารณาให้ antiviral therapy (nirmatrelvir-ritonavir), monoclonal Ab, หรือ IV remdesivir ในรายที่เสี่ยงต่อ severe disease
  • เน้นที่การป้องกันการกระจายเชื้อ สังเกตอาการ และการรักษาตามอาการ
  • สังเกตอาการ ซึ่งอาจแย่ลงเฉียบพลันที่ประมาณ 1 สัปดาห์หลังเริ่มป่วย ได้แก่ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ริมฝีปาก/หน้าเขียวคล้ำ ซึมลง มือเท้าเย็น ตัวลาย ปัสสาวะออกน้อย กินหรือดื่มน้ำไม่ได้ ต้องไปรับการตรวจรักษาเพิ่มเติมโดยด่วน

การรักษาตามอาการ

ไข้

  • ให้ความรู้ ไม่จำเป็นต้องลดไข้ทุกครั้ง เพราะไข้เป็นการตอบสนองของร่างกายตามปกติ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง หรือทำให้การเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้น
  • ข้อบ่งชี้ในการลดไข้ ได้แก่ shock; มี neurologic, cardiopulmonary, หรือ condition ที่เพิ่ม metabolic rate [burn, post-op]); มีความผิดปกติของ fluid และ electrolytes, ไข้สูง (> 40oC), ไม่สุขสบาย (ซึมลง กินได้น้อย), major head trauma, postcardiac arrest
  • ในเด็กปกติ แนะนำ acetaminophen เป็นตัวเลือกแรก เพราะปลอดภัยกว่า ส่วน ibuprofen มี anti-inflammatory effect ร่วมด้วย มีประสิทธิภาพดีกว่าเล็กน้อยและออกฤทธิ์นานกว่า ไม่แนะนำให้ใช้คู่หรือสลับกัน แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จะเสี่ยงต่อการสับสน และก่อให้เกิด fever phobia แต่ถ้าใช้ตัวใดตัวหนึ่งแล้วไข้ไม่ลดและเด็กไม่สบายตัวมากขึ้นใน 3-4 ชั่วโมง ให้พิจารณาสลับมาใช้อีกชนิดหนึ่ง
    • Acetaminophen 10-15 mg/kg PO q 4-6 h (max 5 dose/24 h, max 75 mg/kg/d x < 4 d)
    • Ibuprofen 10 mg/kg/dose PO q 6 h (max 600 mg/dose, max 40 mg/kg [2.4 g/d]) ในเด็ก > 6 เดือนที่ต้องการลดไข้และต้องการฤทธิ์ anti-inflammatory ร่วมด้วย (เช่น juvenile arthritis) และเด็กยังดื่มน้ำได้ดี
    • การตอบสนองต่อยาเกิดขึ้นภายใน 60 นาที และสูงสุดใน 3-4 ชั่วโมง แนะนำให้ดูที่ภาพรวม ความสุขสบาย (กินได้ เล่นได้) มากกว่าคอยติดตามอุณหภูมิ
  • ไม่แนะนำ external cooling เช่นการเช็ดตัวลดไข้ เพราะมีประสิทธิภาพสั้นและทำให้ไม่สบายตัวมากขึ้น
    • ภาวะที่อาจทำ external cooling ร่วมกับการให้ยาลดไข้ ได้แก่ สงสัยมี heat illness ร่วมด้วย (เช่น ห่อตัวมากเกินไป ร่างกายขาดน้ำ หรือ จากยาเช่น atropine) หรือในเด็กที่มี neurological disorder ที่ร่างกายควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดีและตอบสนองต่อยาลดไข้น้อย
    • ในรายที่ต้องการเช็ดตัวลดไข้ควรให้ยาลดไข้อย่างน้อยก่อน 30 นาที แนะนำน้ำอุ่นสบายๆ (30oC)

คัดจมูก น้ำมูกไหล

  • แนะนำการรักษาประคับประคอง ได้แก่ nasal suction, saline nasal drop/spray/irrigation, hydration, cool mist humidifier
  • ถ้าไม่ดีขึ้น แนะนำ Ipratropium nasal spray (อายุ > 5 ปี); PO pseudoephedrine, topical oxymetazoline (อายุ > 12 ปี)

ไอ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น กินน้ำผึ้ง (2.5-5 mL; อายุ > 1 ปี) ยาอม
  • ไม่แนะนำให้ codeine หรือ dextromethorphan

เจ็บคอ

  • จิบเครื่องดื่มอุ่นหรือเย็น (ชาน้ำผึ้งมะนาว) กินไอศกรีมหรือไอติม อมลูกอม (> 5 ปี) กลั้วน้ำเกลืออุ่น (1/2 ช้อนชาผสมน้ำ 240 mL; > 6 ปี)
  • ในรายที่กินได้น้อย แนะนำให้ใช้ acetaminophen หรือ ibuprofen

 

Vitamin D แนะนำให้ได้รับ vitamin D เสริม โดยเฉพาะในเด็กที่โดนแสงแดดน้อย ไม่เกินขนาดสูงสุดที่แนะนำต่อวัน (< 4000 IU/d ในเด็ก > 9 ปี; < 3,000 IU/d ในเด็ก 4-8 ปี)

 

ระยะเวลากักตัวที่ (CDC 14 JAN 2022)

  • Mild symptoms ให้กักตัว > 5 วันหลังเริ่มมีอาการ (ถ้าไม่มีอาการให้นับวันที่ตรวจพบเชื้อ) + 24 ชั่วโมงหลังไข้ลง + well-fitted mask ต่ออีก 5 วัน (ถ้าใส่ไม่ได้ให้กักตัว 10 วัน)
  • Moderate (LRTI without hypoxia)-severe symptoms ให้กักตัว 10 วัน (ถึง 20 วันใน severe)
  • Moderately-severely immunocompromised ให้กักตัว > 20 วัน

 

ติดตามอาการ ทาง video หรือ phone (+ in-person visit ก่อนหมดระยะกักตัว ในเด็กที่มีอาการ > 4 วัน)

  • ถามอาการทางหัวใจและปอด การไม่ได้กลิ่นหรือไม่รู้รส พัฒนาการระบบประสาท (เช่น ระบบกล้ามเนื้อ การรับรู้ ภาษา ความจำ สมาธิ) อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะและสุขภาพทางใจ และถามอาการของโรคเบาหวาน (พบอุบัติการณ์ DM สูงขึ้น > 30 วันหลังติดเชื้อ)
  • ไม่แนะนำให้ตรวจหา SARS-CoV-2 หลังจากหายแล้ว (ตรวจพบเชื้อได้ถึง 3 เดือน)
  • เมื่อครบระยะกักตัวสามารถรับวัคซีน COVID-19 ได้ ยกเว้นในรายที่ได้ monoclonal Ab หรือ convalescent plasma ให้รอ > 90 วัน

 

Post-exposure Mx

  • ภายหลังใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 (รวม 48 ชั่วโมงก่อนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการ) ให้ตรวจ COVID-19 ที่ 5 วันหลังสัมผัส
  • ถ้ายังไม่ได้วัคซีนหรือยังได้ไม่ครบ ให้แยกกักตัว 5 วัน
  • ถ้าได้วัคซีนครบแล้ว หรือเพิ่งหายจาก COVID-19 ไม่เกิน 90 วัน ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้คนอื่น 10 วันหลังสัมผัส
  • มีการให้ monoclonal Ab ในคนที่เสี่ยงต่อการเกิด severe COVID-10

 

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น