วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565

GERD in children

GERD in children

ซักประวัติ

  • ทารกพบการสำรอกได้บ่อย ซึ่งปกติจะหายไปหลังอายุ 1 ปี มีส่วนน้อยที่อาจมีอาการของ GERD เช่น อยู่ไม่สุข ไม่ยอมกิน อาเจียนเป็นเลือด ซีด หรือ อาการทางเดินหายใจ
  • เด็กก่อนวัยเรียน อาการมักไม่จำเพาะ เช่น สำรอกเป็นๆหายๆ กินได้น้อย น้ำหนักไม่ขึ้น หรือ persistent wheezing ส่วนอาการที่จำเพาะกับ GERD เช่น Sandifer syndrome
  • เด็กวัยเรียน อาการจะเหมือนวัยผู้ใหญ่ แสบร้อนกลางอก หรือ แน่นหน้าอกที่เป็นหลังอาการ เป็นกลางดึก อาจร้าวไปหลัง เป็นนานหลายนาทีถึงหลายชั่วโมง และอาจถูกกระตุ้นจากความเครียด
    • อาการนอกหลอดอาหาร เช่น sinusitis, laryngitis, asthma, pneumonia, bronchiectasis, otitis media with effusion
  • เด็กที่สื่อสารไม่ได้ อาจตบที่หน้าอก กระสับกระส่าย และ GERD พบได้บ่อยในเด็กออทิสซึมอาจมีด้วยพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

 

การวินิจฉัยแยกโรค

  • Recurrent vomiting, regurgitation (ดูเรื่อง nausea,vomiting) สาเหตุ เช่น gastroparesis (อาเจียนหลังอาหารหลายชั่วโมง อาจเป็นหลัง AGE ได้หลายเดือน), rumination/psychogenic vomiting, pregnancy, cannabis hyperemesis ในรายที่ประวัติไม่เข้ากับโรคใดโรคหนึ่ง ควรตรวจ upper GI series +/- endoscopy
  • Heartburn ควรทดลองรักษาด้วย acid suppression และทำ life style modification ก่อน
  • Dysphagia ควรตรวจ esophageal contrast study หรือ upper endoscopy หรือในรายที่มีอาการเฉพาะ liquid ควรตรวจ CXR, barium esophagram เพื่อหา motility disorder
  • Odynophagia สาเหตุที่พบบ่อย คือ pill esophagitis (doxycycline, minocycline, aspirin) ถ้าอาการไม่มากอาจลองรักษาด้วย sucralfate หรือ acid suppression แต่ถ้าอาการรุนแรงควรทำ upper endoscopy เพื่อ r/o infectious esophagitis (Candida, CMV, herpes)  
  • Asthma ในรายที่สงสัย (มักไม่มี seasonal หรือ allergic symptoms และมีอาการกลางคืน หรือ ต้องการ PO steroid/high-dose inhaled corticosteroid) แนะนำให้ตรวจ esophageal pH monitoring หรือ ทดลองใช้ acid suppression 3 เดือน
  • Recurrent pneumonia ในเด็กที่มี neurologic dysfunction ควรตรวจ videofluoroscopy หรือ fiberoptic endoscopy เพื่อประเมินการกลืน และตรวจหา FB aspiration, cystic fibrosis, immunodefciency
  • Chronic cough (ดูเรื่อง chronic cough)

 

การวินิจฉัย

  • ให้แยกภาวะท้องผูกออกก่อน เพราะในเด็กท้องผูกจะทำให้เกิดอาการของ GERD ได้จาก “cologastric brake” สงสัยในรายที่คลำได้อุจจาระใน sigmoid colon หรือ PR ได้อุจจาระแข็ง
  • ในรายที่มาด้วย heartburn, retrosternal/epigastric discomfort ให้ทดลองรักษาด้วย acid suppression 4-8 สัปดาห์
  • การตรวจเพิ่มเติมขึ้นกับวินิจฉัยแยกโรค เช่น endoscopy with biopsy, esophageal pH/impedance monitoring, esophageal contrast radiography

 

การรักษา

  • ในรายที่อาการน้อย หรือเป็นไม่บ่อย (< 1 ครั้ง/สัปดาห์) แนะนำ lifestyle modification + ใช้ antacid หรือ H2 blocker เมื่อเกิดอาการ ส่วนในรายที่ไม่ตอบสนองหรือมีอาการมาก แนะนำให้ใช้ PPI 4-8 สัปดาห์ แต่ในรายที่มี alarm symptoms (dysphagia, odynophagia, weight loss, hematemesis, recurrent vomiting) หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรส่งตัวไปพบ gastroenterologist
    • PPI ในเด็กเล็กต้องการขนาดยาที่สูงกว่า แนะนำให้เริ่มจาก once-daily dose ถ้ายังมีอาการกำเริบให้เพิ่มเป็น twice-daily dose เมื่อหยุดยาแนะนำค่อยๆลดขนาดยาลงใน 2-4 สัปดาห์
  • Life style modification ได้แก่ ลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกิน นอนยกศีรษะสูง นอนตะแคงซ้าย งดอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการสำหรับคนๆนั้น (caffeine, chocolate, spicy food, high fat food, carbonated beverage) หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย เช่น เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม (ช่วยทำให้กรดเป็นกลาง) หยุดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา

 

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น