สารบัญ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

Monkeypox

 Monkeypox

  • แผนที่การระบาด 2022 Monkeypox OutbreakGlobal Map
  • ระยะฟักตัว 4-21 วัน (เฉลี่ย 8.5 วัน)
  • อาการและอาการแสดง มักมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลียมาก นำมาก่อน 1-4 วัน แล้วจะมีผื่นขึ้น (บางรายไม่มีไข้นำมาก่อน) ผื่นมักเป็นมากที่ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตำแหน่งอื่นๆที่อาจพบ ได้แก่ เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุตา อวัยวะเพศ ผื่นอาจมีมากน้อยแตกต่างกันได้มาก โดยจะเริ่มจาก macular rash ขนาด 2-5 mm และเปลี่ยนเป็น papule, vesicles, pustules และต่อมามักมี umbilication ซึ่งสุดท้ายจะตกสะเก็ดหลุดไปใน 7-14 วัน (ไข้มักเป็นเฉลี่ย 8 วัน)

  • ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ secondary infection, bronchopneumonia, sepsis, encephalitis, corneal infection
  • อัตราการเสียชีวิตที่รายงานจาก central Africa ประมาณ 10% แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการระบาดรอบใหม่นอก Africa (MAY 2022)
  • ผู้ป่วยที่สงสัย คือ
    • มีผื่น หรือ อาการเข้าได้กับ monkeypox และมีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาภายใน 21 วัน ได้แก่ ใกล้ชิดกับคนที่มีผื่นแบบเดียวกัน หรือ ผู้ป่วยที่สงสัย monkeypox หรือ สัตว์จากแอฟริกา หรือ
    • ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันในระยะ 1 เมตร หรือ สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อน หรือ
    • ในรายที่มาด้วย STD เช่น genital herpes แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • การวินิจฉัยยืนยัน
    • ตรวจ real-time PCR, หรือ DNA sequencing โดย swab จาก nasopharynx/oropharynx, vesicle, lesion exudate, lesion roofs, lesion crusts ใส่หลอด VTM หรือจากเลือดใส่ EDTA 3-5 mL หรือ
    • ตรวจ serology ให้เจาะเลือดใส่ clot blood 3-5 mL ซึ่งจะตรวจพบ IgM และ IgG หลังผื่นขึ้น 5 และ 8 วันตามลำดับ
  • การวินิจฉัยแยกโรค ได้แก่ varicella (monkeypox จะมี lymphadenopathy และผื่นมักอยู่ในระยะเดียวกัน แต่ไม่เสมอไป), HSV (ให้ตรวจ PCR for HSV เพื่อแยกโรค), และ pox viruses อื่นๆ (ตรวจ PCR แยก)
  • การควบคุมการติดเชื้อ
    • ให้อยู่ห้องแยก ไม่ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น อาจอยู่ห้อง negative pressure ในกรณีที่ต้องทำหัตการที่เกิดการกระจาย oral secretion หรือ สงสัยโรค air-bourn อื่น เช่น chickenpox และใส่ facemask เสมอเมื่อมีผู้อื่นเข้ามาในห้อง เมื่อต้องเคลื่อนย้ายให้ผู้ป่วยใส่ facemask และใช้ผ้าคลุมผิวหนัง
    • บุคลากรทางการแพทย์ใส่ gown, gloves, face shield หรือ goggles, และ N95 (พบเฉพาะการติดเชื้อจาก large droplet แต่ CDC ยังแนะนำให้ใส่ N95) และให้สังเกตอาการ 21 วัน
    • สามารถหยุดกักตัวได้เมื่อผื่นผิวหนังหายเป็นปกติ
    • แนะนำให้ใช้ condom เมื่อมีเพศสัมพันธ์ 12 สัปดาห์หลังหายจากโรค
  • การรักษา
    • รักษาตามอาการ
    • Anti-viral therapy ในรายที่มีความเสี่ยงต่อ severe disease เช่น อายุ < 8 ปี หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร มีภาวะแทรกซ้อน หรือ ผู้ป่วย immunocompromised (เช่น advanced HIV, generalized malignancy, transplantation, high-dose corticosteroids) ได้แก่ tecovirimat +/- cidofovir
  • Post-exposure prophylaxis ในกลุ่มเสี่ยงสูง คือ สัมผัสกับผิวหนัง เยื่อบุ หรือ สารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยตรง หรือ อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยในระยะ 2 เมตรระหว่างทำหัตการที่อาจเกิดการฟุ้งกระจายของ aerosol โดยไม่ได้ใส่ N95 และ face shield แนะนำให้ modified vaccinia Ankara (MVA) vaccine ภายใน 4 วัน (พิจารณาได้ถึง 14 วัน) หลังสัมผัสเชื้อ และพิจารณาให้ vaccinia immune globulin ในผู้ป่วย immunosuppression (ห้ามให้ vaccine)

***ยังไม่มี anti-viral, vaccine ในไทย

 

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น