วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Long COVID

Long COVID

หมายถึง คนที่ยังมีอาการหลังติดเชื้อ COVID-19 นาน > 4 สัปดาห์ ซึ่งไม่ได้เกิดจาก active infection หรือการวินิจฉัยอื่นๆ

อาการทางกาย ได้แก่ อ่อนเพลีย (13-87%) เหนื่อย (10-71%) แน่นหน้าอก (12-44%) ไอ (17-34%) และอาการอื่นที่พบน้อยกว่า เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสเปลี่ยน ปากแห้ง ตาแห้ง (sicca syndrome) จมูกอักเสบ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ เสียงแหบ ผลร่วง เหงื่อออก ท้องเสีย

อาการผิดปกติทางความคิด ได้แก่ PTSD, ความจำไม่ดี เสียสมาธิ วิตกกังวล ซึมเศร้า

คนส่วนใหญ่ที่เป็น mild COVID-19 พบว่าอาการต่างๆมักจะหายภายใน 2 สัปดาห์ แต่ใน moderate-severe COVID-19 มักจะมีอาการนาน > 2-3 เดือน แต่ส่วนใหญ่อาการมักจะคงที่ไม่แย่ลง บางส่วนดีขึ้นหลังได้ SARS-CoV-1 vaccine

ผู้ป่วย severe COVID-19 ให้นัดติดตามอาการภายใน 1 สัปดาห์หลังจากออกจากรพ. ทำการซักประวัติเหตุการณ์ระหว่างติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมในระบบต่างๆที่มีข้อบ่งชี้ ได้แก่

  • ใช้แบบประเมินคัดกรองภาวะ Long COVID (ดูแนวทางกรมการแพทย์) ได้แก่
    • เหนื่อย อ่อนเพลีย อ่อนล้า Link1 และ Link2
    • นอนไม่หลับ Link
    • หลงลืม ความจำสั้น Link
    • วิตกกังวล Link
    • หดหู่ ซึมเศร้า Link
  • ตรวจ CBC, BUN, Cr, electrolytes, LFTs ใน severe COVID-19 หรือ lab ผิดปกติระหว่างนอนรพ.
  • ตรวจเพิ่มเติมในรายที่มีอาการสงสัย เช่น BNP, troponin, D-dimer, TFTs, CPK, ECG, echocardiography, PFTs
  • CXR ในรายที่อาการแย่ลง หรือ ทำ F/U ที่ 12 สัปดาห์ในรายที่มี CXR ผิดปกติระหว่างนอนรพ. หรือทำ CT chest เพื่อวินิจฉัยแยกโรค (cancer, interstitial lung disease, pulmonary embolism)
  • Hypercoagulability ให้ประเมินหา S&S ของ DVT (upper + lower), pulmonary embolism, และ arterial thrombosis
  • ส่วนใหญ่การรับกลิ่นและรู้รสที่ผิดปกติจะใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงหาย
  • Fatigue ให้ซักประวัติกิจวัตรประจำวัน ทดสอบ 6-min walk test หาสาเหตุ (sleep, mood, cardiopulmonary, autoimmune, endocrine, medicine [antihistamine, anticholinergic, antidepressant, anxiolytic]) และตรวจ lab เบื้องต้น (CBC, BUN, Cr, electrolytes, LFTs, TFTs, CRP/ESR, CPK)
    • การรักษาใช้หลัก “4P” (Pace, Planning, Prioritizing, Positioning) คือ ทำเฉพาะงานที่จำเป็นและต้องทำเอง แบ่งทำงานทีละน้อย ไม่ฝืนทำจนเหนื่อย ประหยัดพลังงานตอนทำงาน เช่น นั่งแปรงฟัน เป็นต้น อาจปรึกษา rehab program
  • ปัญหาอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น renal/hepatic dysfunction, DM, osteoporotic fracture, adrenal insufficiency, diarrhea, weight loss, anxiety, depression, PTSD, alopecia, COVID toes, fungal infection (rhinoorbital mucormycosis, pulmonary aspergillosis), Strongyloides hyperinfection, insomnia, economic/social problems  
  • ในรายที่มีข้อบ่งชี้ ให้เริ่มทำ rehabilitation ภายใน 30 วัน โดยแนะนำให้คัดกรองอาการทาง cardiac ก่อน

การป้องกัน ได้แก่ การได้รับวัคซีน (พบ long COVID 42% ในคนที่ไม่ได้วัคซีนเทียบกับคนที่ได้วัคซีน 1 เข็ม พบ 30%, 2 เข็ม 17% และ 3 เข็ม 16%)

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น