Acne vulgaris
Mild acne vulgaris คือ มีสิวอุดตัน หรือสิวอักเสบขนาดเล็ก < 5 มม. ที่ไม่มีแผลเป็น
การดูแลผิว
- ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มี pH 5.5-7 เพื่อลดการระคายเคืองและทำให้ผิวแห้ง
- ล้างหน้าโดยใช้ปลายนิ้วนวดหน้าเบาๆ หลีกเลี่ยงการขัดถูหน้าอย่างรุนแรงซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหรือเครื่องสำอางที่ระบุในคุณสมบัติว่าเป็น “noncomedogenic” หรือ ไม่อุดตันรูขุมขน
- หลีกเลี่ยงการแกะสิว
อาหาร
- มีความสัมพันธ์ระหว่างการกินนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารที่มี high glycemic load กับการเกิดสิว
- ถ้ามีเฉพาะสิวอุดตัน ใช้ topical retinoids (tretinoin, adapalene) ทาบางๆทั่วใบหน้า หลังล้างหน้า ตอนกลางคืน (ยาเสื่อมประสิทธิภาพเมื่อโดนแสง) และ เพื่อลดการระคายเคืองให้เริ่มจากความเข้มข้นต่ำที่สุดก่อน หรือ ทาทิ้งไว้ชั่วครู่ (เช่น 5 นาที) แล้วล้างออก หรือ อาจเริ่มจากใช้วันเว้นวันหรือเว้นสองวันก่อน
- ถ้ามีสิวอักสบร่วมด้วย นอกจาก topical retinoids ตอนกลางคืน ให้ใช้ 2.5% benzoyl peroxide gel ทาบางๆทั่วใบหน้าตอนเช้า หรือชนิด cleanser ล้างหน้า
- ในรายที่ไม่ต้องการใช้ topical retinoid อาจใช้ benzoyl peroxide ร่วมกับ topical clindamycin แทน (ควรใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสเกิด ATB resistance)
- โดยทั่วไป หลังการรักษาอาการจะดีขึ้นภายใน 12 สัปดาห์ ในรายที่ไม่ดีขึ้นอาจเกิดจากการใช้ยาไม่สม่ำเสมอ การวินิจฉัยผิด (เช่น Pityrosporum folliculitis, Demodex folliculitis) หรือมีโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น hyperandrogenism
- ถ้าไม่พบสาเหตุข้างต้น อาจปรับเพิ่มขนาดความเข้มข้นของ retinoid หรือเปลี่ยนชนิดของ retinoid อาจเพิ่มยาชนิดอื่น เช่น topical dapsone
- Post-inflammatory hyperpigmentation โดยเฉพาะคนที่ผิวสีเข้ม อาจใช้ sunscreen, topical retinoid หรือ azelaic acid, topical hydroquinone, หรือใช้ superficial chemical peels (glycolic acid, salicylic acid)
- ในหญิงตั้งครรภ์ ยาที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ PO/topical erythromycin, topical clindamycin, topical azelaic acid
Moderate-severe acne vulgaris คือ มีสิวปริมาณมาก อักเสบ เป็นตุ่มหนอง หรือมีขนาดใหญ่ (> 5 มม.) เป็นหลายตำแหน่งในร่างกาย มีแผลเป็นร่วมด้วย หรือสิวส่งผลต่อภาวะจิตใจอย่างมาก
- Systemic therapy
- PO isotretinoin แนะนำให้ใช้เป็นตัวเลือกแรกและใช้เป็น monotherapy เนื่องจากยามีผลข้างเคียง (เช่น เป็น teratogenicity ห้ามใช้ขณะตั้งครรภ์) และอาจต้องให้ systemic glucocorticoid ร่วมด้วยในระยะแรกจึงควรสั่งโดยแพทย์เชี่ยวชาญ
- Antibiotic ใช้เฉพาะในรายที่เป็น papulopustular หรือ nodular lesion แนะนำให้ใช้ tetracycline (ห้ามให้ในเด็ก < 8 ปีหรือหญิงตั้งครรภ์) นาน 3-4 เดือน ร่วมกับ topical benzoyl peroxide และ topical retinoid
- Hormonal therapies เฉพาะในผู้หญิงหลังเริ่มมีประจำเดือน ได้แก่ OCP หรือ spironolactone (ถ้าอายุ > 45 ปี หรือมีความเสี่ยงต่อ hyperkalemia ต้อง monitor serum K)
- Topical therapy ยังใช้ในการรักษา ยกเว้น ถ้าให้ PO isotretinoin มักใช้เป็น monotherapy
Ref: Up-To-Date
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น