วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

Bronchiectasis with acute exacerbation

 Bronchiectasis with acute exacerbation

Bronchiectasis

  • จะพบหลอดลมและหลอดลมฝอยโป่งพอง และผนังหลอดลมโดนทำลาย ซึ่งเกิดจาก การติดเชื้อ ร่วมกับ การขับเสมหะผิดปกติ การอุดตันของหลอดลม และอาจมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่วมด้วย
  • สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ focal airway obstruction (เช่น FB), defective host defenses, cystic fibrosis, rheumatic disease (RA, Sjogren syndrome), dyskinetic cilia, pulmonary infections, allergic bronchopulmonary aspergillosis
  • อาการหลัก คือ ไอเรื้อรัง และมีเสมหะเหนียว และอาการทางเดินหายใจที่ไม่จำเพาะ เช่น เหนื่อย ไอเป็นเลือด หายใจมีเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอกตามการหายใจ
  • อาการนอกระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย เช่น อ่อนเพลีย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ จมูกไม่ได้กลิ่น และกระดูกพรุน
  • ตรวจร่างกายที่พบ เช่น crepitation, wheezing

นิยามการกำเริบเฉียบพลัน คือ ต้องประกอบด้วยอาการ > 3 อย่าง ในระยะเวลา > 48 ชม. ได้แก่ ไอมากขึ้น เสมหะมากขึ้น เสมหะเป็นหนอง หายใจเหนื่อย อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือ ไอเป็นเลือด

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ

Ix: CXR, sputum G/S, sputum C/S, molecular test for influenza + COVID-19; H/C ในรายที่ T > 38oC หรือมี respiratory distress

Tx:

  • ถ้าไม่มีไข้พิจารณาให้ PO ATB โดยเลือกจากผล sputum C/S + sensitivity ครั้งก่อน ให้ยานาน 10-14 วัน
    • ถ้าไม่มีผล C/S พิจารณาให้ fluoroquinolone (levofloxacin 750 mg PO OD, moxifloxacin 400 mg PO OD)
    • ถ้าผล C/S ไม่ใช่ beta-lactamase (+) H. influenzae หรือ Pseudomonas พิจารณาให้ amoxicillin 500 mg PO TID หรือ macrolide
    • ถ้าผล C/S เป็น Moraxella catarrhalis หรือ beta-lactamase (+) H. influenzae แนะนำให้ amoxicillin-clavulanate 500 mg PO TID (หรือ 875 mg PO BID), 2nd-3rd gen cephalosporin, azithromycin, clarithromycin, doxycycline, หรือ fluoroquinolone
    • ถ้าผล C/S เป็น Pseudomonas aeruginosa ที่ไม่ดื้อต่อ fluoroquinolone ให้ ciprofloxacin 750 mg PO BID
  • ในรายที่ RR > 25/min, hypotension, T > 38oC, SpO2 < 92%, หรือ failed PO ATB ให้ IV ATB โดยพิจารณาจากผล C/S ครั้งก่อนดังนี้
    • ถ้าเป็น resistant Pseudomonas พิจารณาให้เป็น single agents เช่น antipseudomonal beta-lactam (piperacillin-tazobactam 4.5 g IV q 6 h, ceftazidime 2 g IV q 8 h, cefepime, meropenem 1 g IV q 8 h) หรือ aztreonam ยกเว้นในรายที่สงสัย pneumonia ให้ add second agent เช่น antipseudomonal quinolone (ciprofloxacin 400 mg IV q 8-12 h, levofloxacin 750 mg IV OD) หรือ aminoglycoside
    • ถ้าเป็น MRSA หรือ G/S พบ Gram-positive cocci in cluster ให้ ATB ต้องมี vancomycin หรือ linezolid ร่วมด้วย
  • พิจารณาให้ยารักษา viral infection เช่น influenza หรือ COVID-19 ตามข้อบ่งชี้
  • Hemoptysis ส่วนใหญ่ทำ CT chest + flexible bronchoscopy ถ้าหยุดเลือดไม่ได้ มักทำ arteriographic embolization และวิธีสุดท้าย คือทำ surgical resection

 

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น