วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

The transplant patient

The transplant patient

ภาวะฉุกเฉินที่สัมพันธ์กับ organ transplant ได้แก่
  • Transplant-related infection
  • Graft-versus-host disease
  • Immunosuppressive medication complication
  • Solid-organ rejection
ซักประวัติ
  • Graft function แย่ลง เช่น ปัสสาวะออกน้อย (renal), เหนื่อยง่าย (heart), เหลือง (liver) อาจเกิดจาก rejection
  • อุณหภูมิกายสูงขึ้นจาก baseline อาจเกิดจาก infection หรือ rejection
  • ประวัติการทำ transplant เมื่อไหร่, ประวัติการติดเชื้อ (CMV, EBV, hepatitis B/C), ประวัติยา (immunosuppressive), ประวัติ rejection หรือ ความเสี่ยงต่อ rejection เช่น HLA mismatch?, ผู้บริจาคมีชีวิตหรือผู้บริจาคสมองตาย
  • ประวัติ expose ต่อเชื้อ เช่น เที่ยว หรือ ไป expose ต่อ infection (chicken pox, CMV, TB) หรือ expose กับคนที่มาจาก endemic area, foodborne, insect vector
  • ประวัติยาที่ได้ใหม่ เพราะอาจเกิด drug interaction ต่อยาที่ใช้ประจำ
ตรวจร่างกาย
  • ประเมิน volume (orthostatic, IVC)
  • ตรวจ Head-to-Toe เพื่อหา source of infection
  • Skin rash พบได้บ่อยใน GVHD, viral syndrome
  • Graft: ดู wound infection, คลำ (กดเจ็บสงสัย infection, rejection), ฟัง bruit (renal artery stenosis, AVM)
Post-transplant infections
  • Ix: CBC, BUN, Cr, LFTs, CRP, procalcitonin level, CPK, immunosuppressant level (cyclosporine, tacrolimus), H/C, U/C, CXR; serology (CMV, EBV, hepatitis, toxoplasmosis, cryptococcosis)
  • พิจารณาตรวจตาม Hx & PE: C/S mouth, sputum, stool, vascular access, wound sites; CSF C/S, antigen test; CT chest, CT/US graft
  • Tx: ควรปรึกษากับ transplant team ให้ empiric ATB ตามตำแหน่ง source of infection ที่สงสัย หรือ ถ้าไม่พบ source of infection และผู้ป่วยมี neutropenia ให้  (ceftazidime หรือ carbapenam) + vancomycin (คลุม MRSA)
  • ปรึกษา transplant team ก่อนให้ antimicrobial; สำหรับ parasite infections (Bactrim คลุม Toxoplasma gondii, Pneumocystis jiroveci), viral infections (ganciclovir, valganciclovir คลุม CMV; acyclovir คลุม HSV, VZV), fungal infections (คลุม Aspergillus, Candida albicans, Cryptococcus neoformans)
Graft-versus-host-disease
  • พบส่วนใหญ่ใน allogenic hematopoietic stem cell transplantation แต่อาจพบใน small bowel และ liver transplantation ได้
  • Hyperacute GVHD เกิดภายในสัปดาห์แรก มาด้วย generalized erythroderma, severe hepatitis, fluid retention, widespread inflammation และ shock
  • Acute GVHD เกิดภายใน 100 วันแรก อาการที่พบบ่อยสุดคือ MP rash มักเป็นผื่นสีน้ำตาลอ่อน มีสะเก็ดเล็กน้อย ตอนแรกมักเป็นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ต่อมาจะมีที่แก้ม หู คอ ลำตัว หน้าอก หลังส่วนบน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมี erythroderma หรือ bullae; พบ mucositis ได้; อาการอื่นๆ ได้แก่ diarrhea, GIB, hepatic dysfunction
  • Tx: ปรึกษา transplant team ปกติจะให้ PO prednisolone หรือ IV methylprednisolone 1-2 mg/kg/d
  • Chronic GVHD มักพบในคนที่หายจาก acute GVHD มาด้วย sclerodermatous contractures, myopathy, osteoporosis, peripheral neuropathy, physical deconditioning
  • Transfusion-associated GVHD ผู้ป่วยที่เป็น immunosuppression ได้รับ immunocompetent T lymphocyte จากการให้เลือด ซึ่งจะทำให้เสียชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงภาวะนี้โดยการให้ irradiated blood products
Renal transplantation
  • Ix: Cr (บอกถึง graft function ได้ดีที่สุด ควรตรวจเมื่อสงสัย renal failure หรือ infection), UA (RBC, proteinuria ใน glomerulonephritis; WBC, bacteria, nitrite ใน infection; proteinuria ใน rejection, drug toxicity, glomerular disease); cyclosporine, tacrolimus blood level; US, MRI (ดู hematoma, fluid collection, vascular abnormality, small infraction จาก medication induced vasculitis)
  • US สามารถพบความผิดปกติในหลายภาวะ ได้แก่ mechanical (obstruction, urine leak (urinoma, ascites, abscess), vascular abnormality (stenosis, thrombosis, pseudoaneurysm, AV fistula), perinephric abscess, urine leak, wound infection, rejection
  • Glomerulonephritis จาก infection, interstitial nephritis (polyoma BK virus, CMV, HSV1/2, adenovirus): ดูเรื่อง posttransplant infections
  • Rejection (hyperacute, acute, late (chronic cellular, chronic humoral)) ส่วนใหญ่มาด้วย hypertension, urine output ลดลง อาจมีไข้ ให้ตรวจ Cr เปรียบเทียบกับ baseline
  • Graft dysfunction โดยถือว่ามี ARF เมื่อ Cr เพิ่มขึ้น > 20% จาก baseline
  • Nephrotoxic agents เช่น AG, FQ, cidofovir, foscanet, sulfonamides, calcineurin inhibitors (cyclosporin A, tacrolimus), NSAIDs, gadolinium, herbal
  • DM มักเกิดตามหลัง transplantation  
Liver transplantation
  • Ix: CBC, BUN, Cr, electrolytes, PT, aPTT, amylase, lipase, H/C, U/C, bile/ascites C/S; CXR, abdominal US with Doppler flow studies (ถ้าไม่ใช่ complete biliary obstruction มักจะไม่เห็น intrahepatic dilatation จาก US)
  • GIB: รักษาเหมือนปกติ แต่ให้คิดถึงภาวะ graft dysfunction ด้วย
  • Biliary complications: มาด้วย RUQ pain และจะพบ cholestatic liver enzymes เพิ่มขึ้น สาเหตุในช่วง early เกิดจาก bile leak ถ้าเป็น late > 2 เดือน เกิดจาก biliary stricture; ตรวจ US with Doppler, ERCP (ในรายที่ทำ choledochocholedochostomy), percutaneous cholangiogaphy (ในรายที่ทำ Roux-en-Y hepaticojejunostomy); ให้ board spectrum ATB ก่อน biliary tract manipulation
  • Hepatic artery complications (hepatic artery/vein thrombosis, portal vein thrombosis): ตรวจ CT with contrast หรือ US
  • Rejection: ในระยะแรกจะพบ ALP, bilirubin เพิ่มขึ้น ต่อมาจะพบ AST, ALT เพิ่มขึ้น
  • Neurologic complications (stroke, cerebral abscess, hypertensive encephalopathy, osmotic demyelination syndrome, sinus thrombosis): ทำ MRI
  • Malignancy: พบ SCC, lymphomas, posttransplant lymphoproliferative disorder ได้เพิ่มขึ้น
Lung transplantation
  • ในรายที่มาด้วยไข้ ไอ หอบ อาจเกิดจาก infection หรือ rejection ในรายที่อาการไม่ชัดเจนให้ตรวจ CXR, ABG, FEV1 (drop > 10%)
  • Acute rejection จะเสี่ยงที่สุดในปีแรก (อาจเกิดได้หลังหลายปี) มาด้วย ไอ แน่นหน้าอก อุณหภูมิกายลดลงหรือเพิ่มขึ้น (> 0.28oC), hypoxemia, FEV1 ลดลง > 10%, CXR พบ infiltration (อาจเป็น radiographically silent); Tx ปรึกษา transplant team ในรายที่อยู่ในช่วงกำลังลด immunosuppressant อาจเพิ่มขนาดยาไปเท่าเดิม โดยปกติจะให้ methylprednisolone 15 mg/kg/d IV x 3 วัน; หลังให้ corticosteroid bolus ถ้าอยู่ในช่วง taper ของ MT prednisolone ให้เพิ่ม prednisolone เป็น 1 mg/kg/d และค่อยๆลดลงในอีก 10 วัน โดยปกติอาการจะดีขึ้น (oxygenation, spirometry, radiographic) ใน 24-48 ชั่วโมง ถ้าไม่ดีขึ้นต้องสงสัย infection
  • Pulmonary infections เกิดได้จาก bacteria, fungi, virus การให้ ATB ต้องปรึกษา lung transplant specialist
Cardiac transplantation
  • Denervated heart ที่ถูก transplant จะเป็น NSR rate 90-100/min ไม่มี sympathetic และ parasympathetic innervation แต่ยังคงตอบสนองต่อ circulating catecholamine เพราะฉะนั้นผู้ป่วยยังสามารถกลับไปออกกำลังกายได้
  • ECG จะพบ P wave 2 แบบ โดย donor P wave จะนำหน้า QRS ส่วน native P wave จะมีแยกไปต่างหาก
  • Cardiomegaly อาจเกิดจากการที่ transplant จาก donor ที่ตัวใหญ่กว่าผู้ป่วย 
Corneal transplantation (penetrating keratoplasty)
  • ปกติผู้ป่วยไม่ต้องใช้ immunosuppression; สาเหตุของ graft failure ได้แก่ corneal graft rejection, corneal endothelial failure, glaucoma, และอื่นๆ ซึ่งถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ เช่น VA เปลี่ยนแปลง ควรปรึกษา ophthalmologist
  • Corneal graft rejection เกิดได้ตั้งแต่ 10 วันหลังผ่าตัด มาด้วยปวดตา ตามัว ตาแดง สู้แสงไม่ได้; ตรวจพบ corneal edema, AC reaction with keratic precipitate; Tx: topical/systemic steroid, cycloplegics, immunosuppressive (local/systemic cyclosporine A, tacrolimus)
  • Wound dehiscence เกิดตามหลัง infection หรือ trauma
  • Viral, bacterial, fungal infection ในคนที่มีประวัติ herpetic keratitis ต้องตรวจ fluorescein; ให้ปรึกษา ophthalmologist

Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น