Emergency psychiatric assessment
รพ.อาจมี “psychiatric
code” ทีม ในการรับมือกับผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง (severe
agitation) ประกอบด้วย แพทย์ฉุกเฉิน พยาบาล ผู้จัดการทางการพยาบาล
พยาบาลจิตเวช เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีสถานที่ที่เหมาะสม มียาพร้อมใช้
Precautionary principle:
ผู้ป่วยที่มี suicide หรือ homicidal
ideation จะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากรพ.จนกว่าจะได้รับการประเมินทุกอย่างเสร็จสิ้น
แม้ว่าผู้ป่วยจะปฏิเสธการรักษาก็ตาม (against medical advice) แพทย์อาจเขียนในคำสั่งการรักษาไว้เช่น “sitter with patient”,
“precautionary hold”, “suicidal precaution”
ขั้นตอนการดูแล
Safety และ stabilization
ดูเรื่อง Acute agitation
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- ค้นหาโรคทางกายที่อาจเป็นสาเหตุหรือเป็นตัวกระตุ้นให้โรคจิตเวชอาการแย่ลง หรือโรคที่มีร่วมกับอาการของโรคทางจิตเวช ในรายที่ประเมินแล้วไม่มีโรคทางกายที่ต้องทำการรักษาในครั้งนี้ให้ใช้คำว่า “medically stable” (ไม่ควรใช้คำว่า “medical clearance” เพราะผู้ป่วยมักมีโรคร่วมเสมอ)
- อาการไข้ อุบัติเหตุศีรษะ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (มะเร็ง, HIV), เบาหวาน, โรคปอด, ได้รับสารพิษหรือยาเกินขนาด
- ประวัติพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ประวัติโรคจิตเวชและการรักษา ประวัติสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย (ครอบครัว สังคม) ซักประวัติจากผู้ป่วยและเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากครอบครัว คนดูแล เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ อื่นๆ
- ประวัติการใช้ยา สารเสพติด แอลกอฮอล์
- วัด V/S และตรวจร่างกายผู้ป่วยทุกคน (Head-to-Toe) ตรวจ neurological exam (CN, gait, mental status, general motor function/strength, reflex; apraxias, agnosias, Rt-Lt disorientation, aphasias, visual field, ability to follow to complex commands)
ลักษณะที่สงสัยสาเหตุจากโรคทางกายได้แก่
|
การตรวจสภาพจิต (mental
status examination)
- พฤติกรรม (behavior): การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว
- อารมณ์ (affect): ผู้ป่วยแสดงอารมณ์อะไรออกมา “ใจคอคุณเป็นอย่างไร”
- รู้ (orientation): บอกเวลา วัน เดือน ปี สถานที่ที่อยู่ขณะนี้ เขาคือใคร ชื่อญาติสนิท
- ภาษา (language): ผู้ป่วยเข้าใจความหมายที่พูดหรือไม่ ผู้ป่วยพูดเข้าใจหรือไม่
- จำ (memory): จำรายละเอียดประวัติ ความจำระยะสั้น (ใน 2-3 วัน) ความจำระยะยาว (หลายเดือน ในวัยเด็ก)
- คิด (thought content): มีความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลเหมาะสมหรือไม่
- รับ (perceptual abnormality): “คุณเคยได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินหรือไม่”, “คุณเคยเห็นอะไรที่คนอื่นไม่เห็นบ้างไหม”
- ตัดสินใจ (judgement): สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลหรือไม่ อาจดูจากพฤติกรรม ถามคำถามเช่น “ถ้าพบซองจดหมายจ่าหน้าซองและติดแสตมป์ไว้เรียบร้อยตกอยู่จะทำอย่างไร”, “ถ้าเป็นคนแรกที่เห็นไฟไหม้ในโรงภาพยนตร์จะทำอย่างไร”
Cognitive assessment
เพื่อค้นหาภาวะ dementia
หรือ delirium โดยใช้ The Quick
Confusion Scale หรือ Clock test
- Quick confusion scale (ไม่ได้ validate กับภาษาไทย) ถาม 7 คำถาม ข้อละ 2 คะแนน ข้อสุดท้าย 5 คะแนน ผิดปกติถ้า < 11 คะแนน;
- ปีนี้ปีอะไร
- เดือนนี้เดือนอะไร,
- ให้พูดตามโดยบอกครั้งเดียว “ใครใคร่ขายไข่ไก่” หรือ “No ifs, ands, or buts”,
- ตอนนี้เวลาอะไร
- นับถอยหลังจาก 20 ถึง 1 (ผิด 1 ครั้งหัก 1 คะแนน)
- ให้สะกดคำว่า”มะนาว”ถอยหลัง (ผิด 1 ครั้งหัก 1 คะแนน)
- ให้บอกกลุ่มคำที่ให้พูดตามเมื่อสักครู่ จำได้ไหม (ผิดหักคำละ 1 คะแนน)
- Clock test: ให้วาดวงกลม เขียนตัวเลขให้เหมือนนาฬิกา แล้วใส่เข็มนาฬิกาเป็นเวลา 10 โมง 50 นาที
Investigations
ขึ้นอยู่กับประวัติและตรวจร่างกาย
ควรตรวจในผู้ป่วยใหม่ มีประวัติ active medical illness มี
V/S ผิดปกติ ตรวจร่างกายพบความผิดปกติ หรือ มีความผิดปกติของ
mental status ให้ตรวจ CBC, BUN, Cr, electrolytes,
LFTs, UA; +/- CXR, brain imaging, drug/alcohol testing
การประเมินผู้ป่วย 5
ด้าน (multiaxial psychiatric assessment)
- Axis I คือ clinical syndromes ของ mental disorders
- Psychiatric conditions เช่น schizophrenia, substance-related disorders, malingering, mood disorders, anxiety disorders, sleep disorders, eating disorders, factitious disorders, somatoform disorders, dissociative disorders
- Medical conditions เช่น mental disorders due to a general medical condition, dementia, amnestic disorders, delirium
- Axis II คือ personality disorders และ developmental disorders (รวม mental retardation)
- Axis III คือ ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย
- Axis IV คือ ปัญหาทางจิตสังคมหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวในการก่อโรคหรือทำให้โรคกำเริบ
- Axis V คือ การประเมินประสิทธิภาพของผู้ป่วยโดยรวมโดยใช้ global assessment of functioning scale
การวินิจฉัย
วินิจฉัยโดยยึดตามเกณฑ์ของ DSM
V criteria อาจพิจารณาเป็นขั้นๆดังนี้
- มีความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ (consciousness) เช่น สติสัมปชัญญะลดลง (clouding of consciousness) เสียการรับรู้ในด้านเวลา สถานที่ บุคคล (disorientation) ไม่สามารถคงความใส่ใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นาน (distractibility) โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ delirium, dementia
- ความผิดปกติเกิดจากยาหรือจากโรคทางกาย เรียกว่า psychotic disorder due to general medical disorder หรือ substance-induced psychotic disorder
- มีความผิดปกติด้านอารมณ์ (emotional) เช่น ซึมเศร้า ครื้นเครง ตื่นตระหนก โรคในกลุ่มนี้เช่น major depressive, manic episode with psychotic features, anxiety disorder
- มีความผิดปกติของรูปแบบความคิด (form of thought) มีอาการ disorganized speech, ความผิดปกติของเนื้อหาความคิด (content of thought) เช่น มีความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล ไม่สอดคล้องกับความจริง เกิดอาการ delusion; การรับรู้สัมผัสผิดปกติ (perception) เกิดอาการ hallucinations; ความผิดปกติของ motor behavior เช่น disorganized behavior, catatonic behavior, negative symptoms; โรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ schizophrenia, delusional disorder
การรักษา
- ดูเรื่อง acute agitation
- Schizophrenia ให้ haloperidol 2-5 mg IM + lorazepam 1-2 mg IM การใช้ยาต่อเนื่องมักไม่ได้เริ่มใน ER (เพราะใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงจะมี clinical effect) ยกเว้นได้ปรึกษากับแพทย์จิตเวชแล้ว เช่น risperidol 3-6 mg/d, olanzapine 15 mg/d (ห้ามให้ร่วมกับ BZD เพราะทำให้เกิด hypotension)
- Depression, suicidal ideation อาจให้ ketamine 0.2-0.5 mg/kg IV (subanesthetic dose) จะทำให้อาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความคิดเรื่อง suicide ได้ถึง 10 วัน
Disposition
การรับไว้รพ.ให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
เช่น
- อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น เช่น ตั้งใจที่จะ suicide หรือ homicide หรือคาดการณ์ไม่ได้ ประวัติอารมณ์รุนแรง หุนหันพลันแล่น (ดูเรื่อง Suicidal risk)
- ความรุนแรงของภาวะ psychosis, depression
- ความร่วมมือในการรักษา เช่น ปฏิเสธการรักษา หรือ ไม่สนใจ
- การสนับสนุนทางสังคม
- ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น