BLS
(2015) for health care provider
Scene safety: ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเสมอ
Recognize & Activate emergency
response system
- เมื่อพบคนที่ไม่รู้สึกตัว ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ๆ
- ดูการหายใจพร้อมกับคลำ carotid artery ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที (คลำ brachial a.ในทารกและ carotid/femoral a. ในเด็ก 5-10 วินาที)
ตำแหน่งการคลำ brachial artery ในทารก |
- โทรขอความช่วยเหลือและถามหาเครื่อง AED
- ยกเว้น: เด็ก/ทารกที่เป็น unwitnessed collapse และผู้ใหญ่ cardiac arrest จากการจมน้ำ หรือ FB obstruction ให้ CPR 2 นาที ก่อนตามคนช่วยเหลือ
- ถ้ามีชีพจรแต่ต้องการการช่วยหายใจ ทำการช่วยหายใจ 5-6 วินาทีต่อครั้ง (10-12 ครั้งต่อนาที) (ในเด็กทำการช่วยหายใจ 3-5 วินาทีต่อครั้ง (12-20 ครั้งต่อนาที))
- ถ้าสงสัยเกิดจาก opioid overdose ให้ Naloxone IN/IM
- ถ้าไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือไม่มี pulse ให้เริ่มทำ CPR (ในเด็กที่มี pulse < 60/min ร่วมกับมี poor perfusion ให้เริ่มทำ CPR เช่นกัน)
CPR: CAB
- จัดผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นผิวที่แข็งในสถานที่ปลอดภัย
- วางส้นมือซ้อนและขนานกันบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ในเด็กตัวเล็กมากอาจใช้มือเดียว ในทารกใช้ 2 fingers ต่ำกว่า intermammary line หรือถ้ามีผู้ช่วยใช้ 2 thumb-encircling)
- กดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ
- กดลึก 2-2.4 นิ้ว (5-6 ซม.) (ในเด็กและทารกให้กดหน้าอกอย่างน้อย 1/3 ของทรวงอก ประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.) ในเด็กและประมาณ 1.5 นิ้ว (4 ซม.) ในทารก)
- กดเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
- ปล่อยสุด ไม่เอนตัวทิ้งน้ำหนักบนหน้าอก โดยให้ทรวงอกกลับคืนจนสุด พยายามให้เวลาในการกดและปล่อยทรวงอกพอๆกัน
- รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาทีในกรณี ช่วยหายใจ คลำชีพจร ช็อกไฟฟ้าหัวใจ ใส่ ETT
ส้นมือวางตั้งฉากกับผู้ป่วย วางซ้อนและขนานกันบนครึ่งล่างของกระดูก sternum แขนตรง ศอกตึง ตั้งฉากกับผู้ป่วย ใช้สะโพกเป็นจุดหมุน และตะโกนนับดังๆเวลา CPR ด้วย |
CPR: CAB
- เปิดทางเดินหายใจโดยทำ Head tilt-chin lift
- Jaw thrust :ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอ
- ทำ manual inline immobilization ในผู้ป่วยที่สงสัยการบาดเจ็บของไขสันหลัง
Jaw thrust; ภาพจาก aic.cuhk.edu.hk |
manual inline immobilization; ภาพจาก SCRUMCAPS COURSE |
CPR: CAB
- หลังจากทำการกดหน้าอกไป 30 ครั้งจึงเริ่มช่วยหายใจ 2 ครั้ง
- ช่วยหายใจแต่ละครั้งมากกว่า 1 วินาที
- ให้ปริมาตรเพียงที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว (ประมาณ 500-600 mL หรือ 6-7 mL/kg)
- เวลารวมในการช่วยหายใจไม่เกิน 10 วินาที
- กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2) เปลี่ยนผู้ทำการกดหน้าอกทุก 2 นาที (~ 5 รอบ) (ในเด็กและทารกถ้ามีผู้ช่วยให้ทำ 15:2) **ใช้เวลาเปลี่ยนตำแหน่งกันภายใน 5 วินาที
- การช่วยหายใจมีหลายวิธี เช่น mouth-to-mouth, mouth-to-nose, mouth-to-stoma, mouth-to-mask เป็นต้น
การวาง mask ให้วางเริ่มจากฝั่งด้านจมูกก่อน; AHA 2015 |
วิธีการจัด mouth-to-mask ในการช่วยหายใจ; AHA 2015 |
- Bag-mask ventilation
- เลือกใช้หน้ากากชนิดใส
- บีบประมาณ 2/3 ของ adult bag ขนาด 1 ลิตร (TV 600 mL)
- เปิด Oxygen มากกว่า 10-12 L/min จะได้ Oxygen concentration ~ 40%
- ถ้าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแล้วให้ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุกๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องหยุดขณะทำการกดหน้าอก
***ถ้าจะทำ chest
compression only CPR การให้ passive ventilation technique โดยให้ high flow O2 ผ่าน face
mask with oropharyngeal airway จะได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้น
คนปั๊มหัวใจ นับเสียงดังขณะปั๊มหัวใจ คนที่ช่วยหายใจ คอยเปิด airway ไว้ และคอยแนะนำให้คนที่ปั๊มหัวใจทำให้ได้คุณภาพ เปลี่ยนกันทุก 5 รอบหรือ 2 นาที; AHA 2015 |
Rapid defibrillation
- เมื่อเครื่อง AED มาถึงให้เริ่มใช้ได้เลยไม่ต้องรอ CPR ให้ครบ cycle
- ช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ทำได้ (เมื่อมีข้อบ่งชี้) รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า ทำการกดหน้าอกต่อทันทีหลังการช็อกไฟฟ้า
- ในเด็กแนะนำให้ใช้ AED with paediatric attenuator หรือ manual defibrillator เริ่มจาก 2 J/kg (4 J/kg ใน dose ที่สอง) และใช้ paddle เด็กถ้า < 10 kg
ในเด็ก < 8 ปี หรือ < 25 kg ถ้าใช้ AED ต้องมี pediatric dose attenuator |
ในเด็ก < 1 ปีหรือ < 10 kg ถ้าใช้เครื่อง defibrillator ให้ใช้ paddle เด็ก |
***ถ้าเป็น witnessed
arrest ที่เป็น shockable rhythm สามารถกดหน้าอกต่อเนื่อง 200 ครั้ง ร่วมกับการให้ passive O2
(เช่น on O2 mask) และ airway adjuncts สลับกับ defibrillation
x 3 cycle
ข้อควรระวัง
- ห้ามสัมผัสผู้ป่วยขณะทำการช๊อกไฟฟ้าหัวใจ แม้ว่าจะใส่ถุงมือ 2 ชั้นก็ยังอาจไม่ปลอดภัย
- ถ้าผู้ป่วยอยู่บนที่เปียกให้เคลื่อนย้ายมาที่แห้งก่อน
- Manual defibrillator ให้ถือชี้ลงล่างเสมอ การชี้แผ่นเข้าหากันหรือโบกแผ่นไปมาอาจทำให้พลังงานถูก discharge ออกเองได้
- ในคนที่มีขนหน้าอกเยอะแล้วเครื่องไม่สามารถ analyze rhythm ได้ ให้ดึง adhesive paddle ออกเร็วๆให้ขนหลุดติดออกมา แล้วค่อยติดแผ่นใหม่
- ในคนที่ผิวหนังเปียกชุ่ม ให้เช็ดให้แห้งก่อน (ไม่ถึงกับต้องแห้งสนิท)
- ถ้ามีโลหะบนร่างกาย หรือแผ่น nitroglycerine ให้เอาออกก่อน
- ระวังไม่ให้มี O2 ไหลผ่านบริเวณที่จะช๊อกไฟฟ้า
- ไม่ให้ gel กระจากไปใกล้ paddle อื่นภายใน 5 cm
- ไม่วาง paddle ใกล้กับ internal pacemaker < 12.5 cm
Audiovisual feedback device ระหว่าง CPR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ CPR |
Recovery position
- ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แต่หายใจได้เอง ไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณคอ ให้จัดท่าพักฟื้น
Foreign body obstruction
- ในรายที่ยังพูดได้ ไอได้ ไม่เขียว ให้ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเองขณะที่รอความช่วยเหลือ
- ทำ Heimlich maneuver หรือทำ chest thrust ในคนท้องหรืออ้วนจนไม่สามารถโอบรอบท้องได้
Heimlich maneuver |
Family presence during CPR
- แนะนำให้อนุญาตให้ญาติอยู่ขณะทำ CPR ได้ (ถ้าไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำ CPR) และต้องมีคนคอยแนะนำว่ากำลังทำอะไรและตอบคำถามญาติด้วย พบว่าไม่มีผลกับ survival rate แต่มีประโยชน์กับจิตใจของญาติ
ขอบคุณคับหมอโน๊ต
ตอบลบ