วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Acute pelvic pain

Acute pelvic pain

ดูเรื่อง approach to abdominal pain ประกอบ

ซักประวัติและตรวจร่างกาย
  • ลักษณะอาการปวด
  • อาการร่วม (GI, GU, GYN, Vascular): ทาง GYN เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ตกขาว เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ประวัติประจำเดือน
  • ประวัติอดีต: การตั้งครรภ์ การคลอด ให้นมบุตร วิธีการคุมกำเนิด การใช้ยากระตุ้นไข่ตก (ovarian hyperstimulation syndrome) ประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (PID, STDs) การผ่าตัด การถูกประทุษร้ายทางร่างกายและทางเพศ
  • ประวัติสังคม อาชีพ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ยาเสพติด
  • PV ไม่มีความจำเป็นต้องทำทุกราย เพราะส่วนใหญ่มักไม่เปลี่ยนแปลงแผนการรักษา

DDx:
  • Pelvic pain: urinary retention, cystitis, uterine fibroid, PID, endometriosis
  • RLQ/LLQ pain: appendicitis, colitis, diverticulitis, constipation, ovarian cyst, ovarian torsion, ectopic pregnancy, hernias, renal colic, PID, TOA

Ix: ในรายที่ประวัติเป็นมาซ้ำๆและได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้ว ควรให้ความสนใจไปที่การรักษาบรรเทาอาการมากกว่าการทำ imaging ซ้ำ
  • UPT; UA, UC ถ้าเสี่ยงต่อ UTI
  • Bedside US สามารถใช้วินิจฉัย intraperitoneal hemorrhage, IUP ได้อย่างรวดเร็ว
  • Transabdominal หรือ transvaginal US: ดู PID, tubo-ovarian abscess, leiomyoma, ovarian cyst, ovarian torsion (arterial, venous Doppler US: ถ้าประวัติเข้าได้ ถึงแม้ว่า Doppler US จะปกติก็ไม่สามารถ exclude ได้)
  • CT abdomen: เมื่อ DDx สงสัยภาวะทาง GI, GU ร่วมด้วย เช่น appendicitis, diverticulitis, bowel obstruction, renal stones เป็นต้น

Dispositions: ในรายที่อาการไม่มาก แต่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน ควรให้คำแนะนำการสังเกตอาการและนัดติดตามอาการภายใน 12-24 ชั่วโมง


Dysmenorrhea

แบ่งออกเป็น primary dysmenorrhea เป็นการปวดบีบๆที่ท้องน้อยระหว่างที่มีประจำเดือน โดยไม่พบสาเหตุ มักเป็นในผู้หญิงอายุน้อย และ secondary dysmenorrhea คือ ตรวจพบสาเหตุผิดปกติ เช่น endometriosis, adenomyosis

การรักษา

  • ประคบร้อน และการออกกำลังกายช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ อาจทดลอง 1-2 รอบประจำเดือน
  • NSAID เป็นตัวเลือกแรก ควรเริ่มกินให้เร็วที่สุดเมื่อมีอาการเกิดขึ้น แนะนำ ibuprofen 400-600 mg PO q 4-6 h หรือ mefenamic acid 500 mg PO then 250 mg q 6 h กินต่อเนื่อง 2-3 วัน
  • Hormonal contraception อาจใช้เป็นตัวเลือกแรก ถ้าต้องการคุมกำเนิดร่วมด้วย ได้แก่ combined estrogen-progestin pill, vaginal ring, หรือ transdermal patch; ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ estrogen (atherosclerotic risk, CA breast, cirrhosis) ให้ใช้ progestin-only method (เช่น progestin IUD, DMPA)
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังรักษา 3-6 รอบประจำเดือน ให้ส่งพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจและรักษาในขั้นถัดไป เช่น TENS, empiric GnRH analog/antagonist, laparoscopy, endometrial ablation, hysterectomy



Ref: Tintinalli ed8th, UptoDate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น