วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2568

Pediatric BLS (2020) for health care provide

Pediatric BLS (2020) for health care provider *ดู algorithm 1-rescuer, 2-rescuer

แบ่งกลุ่มอายุของเด็กดังนี้
  • Newborn หรือ ทารกแรกเกิด: อายุก่อน 1 เดือน
  • Infant หรือ วัยทารก: อายุ 1 เดือน 1 ปี
  • Child หรือ วัยเด็ก: อายุ  1 ปี วัยหนุ่มสาว (puberty) [ผู้ชายมีขนรักแร้ ผู้หญิงมีเต้านม]
     **Puberty ดูเรื่อง adult BLS

 Scene safety: ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเสมอ

Recognize & Activate emergency response system
  • เมื่อพบคนที่ไม่รู้สึกตัว ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ๆ แล้วเข้าช่วยเหลือ (activated emergency response สามารถทำตั้งแต่ขั้นนี้ได้ถ้าสถานการณ์เหมาะสมหรือมีผู้ช่วยเหลือคนที่สอง โดยเปิด speaker โทรศัพท์และโทร 1669)
  • ดูการหายใจพร้อมกับคลำ pulse (newborn คลำ umbilical, infant คลำ brachial, child คลำ carotid หรือ femoral) ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที (5-10 วินาที)
คลำ brachial pulse ในทารก
คลำ carotid pulse หรือ femoral pulse ในเด็ก
  • ถ้ามีชีพจร > 60 ครั้ง/นาที (ไม่มี signs ของ poor perfusion) แต่ต้องการการช่วยหายใจ ให้ช่วยหายใจ 2-3 วินาทีต่อครั้ง (20-30 ครั้งต่อนาที) หลังการช่วย 2 นาที ให้ activated emergency response ทำการตรวจชีพจรทุก 2 นาที
  • ถ้าไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือไม่มี pulse (วมถึงในเด็กที่มี pulse < 60/min ร่วมกับมี poor perfusion ภายหลังให้ oxygenation และช่วย ventilation) ให้เริ่มทำ CPR เมื่อครบ 2 นาทีแล้วให้ activated emergency response
  • ยกเว้น: เด็ก/ทารกที่เป็น witnessed collapse ให้ Activated emergency response ก่อนทำ CPR


CPR: CAB
  • จัดผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นผิวที่แข็งในสถานที่ปลอดภัย (แม้นอนบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่มก็พบว่า ผู้กดจะกดให้ลึกขึ้นเพื่อชดเชย ทำให้สามารถกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ)
  • กดหน้าอกบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ทารก 1 ซม.ต่ำกว่า intermammary line) โดยในเด็กใช้ส้นมือ 1-2 ข้าง ตามขนาดตัว ในทารกใช้ 2 fingers หรือ 2 thumb-encircling (ถ้ามีผู้ช่วย)
2-Thumb–encircling hands compressions
2-Finger compressions
  • กดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ
    • กดลึกอย่างน้อย 1/3 ของทรวงอก ประมาณ 5 ซม.ในเด็ก และประมาณ 4 ซม.ในทารก [ไม่เกิน 6 ซม.ทั้ง 2 กลุ่ม]
    • กดเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
    • ปล่อยสุด ไม่เอนตัวทิ้งน้ำหนักบนหน้าอก โดยให้ทรวงอกกลับคืนจนสุด พยายามให้เวลาในการกดและปล่อยทรวงอกพอๆกัน
  • รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาทีในกรณี ช่วยหายใจ คลำชีพจร ช็อกไฟฟ้าหัวใจ ใส่ ETT


CPR: CAB
  • เปิดทางเดินหายใจโดยทำ Head tilt-chin lift
  • Jaw thrust :ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอ
  • Sniffing position ในทารก
  • ทำ manual inline immobilization ในผู้ป่วยที่สงสัยการบาดเจ็บของไขสันหลัง


CPR: CAB
  • หลังจากทำการกดหน้าอกไป 15 ครั้งจึงเริ่มช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2 ใน single rescuer)
  • ช่วยหายใจแต่ละครั้งมากกว่า 1 วินาที
  • ให้ปริมาตรเพียงที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว
  • เวลารวมในการช่วยหายใจไม่เกิน 10 วินาที
  • กดหน้าอก 15 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (15:2) เปลี่ยนผู้ทำการกดหน้าอกทุก 2 นาที (~ 10 รอบ) **ใช้เวลาเปลี่ยนตำแหน่งกันภายใน 5 วินาที
  • การช่วยหายใจมีหลายวิธี เช่น mouth-to-mouth-and-nose (ทารก), mouth-to-mouth (เด็ก), mouth-to-stoma, mouth-to-mask เป็นต้น; **ไม่แนะนำให้ใช้ barrier device เพราะไม่ลดโอกาสติดเชื้อ และเพิ่มความต้านทางอากาศ 
  • Bag-mask ventilation (ไม่แนะนำให้ใช้ BVM ในกรณีกู้ชีพคนเดียว)
    • เลือกขนาดอย่างน้อย 450 mL ในทารกและเด็กเล็ก; อย่างน้อย 1000 mL ในเด็กโตและวัยรุ่น
    • บีบให้ปริมาตรเพียงที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว
    • ให้ 100% O2 ระหว่าง CPR (หลัง ROSC ค่อย wean ให้ O2 sat > 93%)
  • ถ้าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแล้วให้ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุกๆ 2-3 วินาที (20-30 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องหยุดขณะทำการกดหน้าอก (ไม่แนะนำให้เสียเวลาใส่ ETT ขณะกู้ชีพเบื้องต้น)


Rapid defibrillation 
  • เมื่อเครื่อง AED มาถึงให้เริ่มใช้ได้เลยไม่ต้องรอ CPR ให้ครบ cycle
  • ช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ทำได้ (เมื่อมีข้อบ่งชี้) รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า ทำการกดหน้าอกต่อทันทีหลังการช็อกไฟฟ้า
  • ในเด็กแนะนำให้ใช้ AED with paediatric attenuator หรือ manual defibrillator เริ่มจาก 2 J/kg (4 J/kg ใน dose ที่สอง) และใช้ paddle เด็กถ้า < 10 kg


 ข้อควรระวัง  
  • ห้ามสัมผัสผู้ป่วยขณะทำการช๊อกไฟฟ้าหัวใจ แม้ว่าจะใส่ถุงมือ 2 ชั้นก็ยังอาจไม่ปลอดภัย
  • ถ้าผู้ป่วยอยู่บนที่เปียกให้เคลื่อนย้ายมาที่แห้งก่อน
  • Manual defibrillator ให้ถือชี้ลงล่างเสมอ การชี้แผ่นเข้าหากันหรือโบกแผ่นไปมาอาจทำให้พลังงานถูก discharge ออกเองได้
  • ในคนที่ผิวหนังเปียกชุ่ม ให้เช็ดให้แห้งก่อน (ไม่ถึงกับต้องแห้งสนิท)
  • ถ้ามีโลหะบนร่างกาย หรือแผ่น nitroglycerine ให้เอาออกก่อน
  • ระวังไม่ให้มี O2 ไหลผ่านบริเวณที่จะช๊อกไฟฟ้า
  • ไม่ให้ gel กระจายไปใกล้ paddle อื่นภายใน 5 cm
  • ไม่วาง paddle ใกล้กับ internal pacemaker < 12.5 cm

Audiovisual feedback device ระหว่าง CPR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ CPR
**ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้ artifact-filtering algorithms

Recovery position 
  • ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แต่หายใจได้เอง ไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณคอ ให้จัดท่าพักฟื้น


Foreign body obstruction
  • ในรายที่ยังหายใจได้ มีเสียง ให้ปล่อยให้เด็กไอออกมาเอง เฝ้าระวังขณะที่รอความช่วยเหลือ
  • ถ้าไอไม่ได้ ไม่มีเสียง หรือไม่หายใจ ในรายที่ยังรู้สึกตัวอยู่
    • Infant: ให้ทารกนอนคว่ำบนแขน และแขนวางพาดไปบนต้นขา ให้หัวต่ำกว่าลำตัว ทำ back blows 5 ครั้ง บริเวณ interscapular area แล้วหมุนกลับมานอนหงายบนแขน (ทารกตัวใหญ่อาจให้นอนบนพื้น) ทำ chest thrusts 5 ครั้ง เช่นเดียวกับการทำ cardiac compression ทำซ้ำไปมาจนกระทั้งสิ่งอุดกั้นหลุด หรือทารกไม่รู้สึกตัว
    • Child: ทำ Heimlich maneuver โดยผู้ช่วยเหลือคุกเข่าหรือยืนด้านหลัง กำมืออ้อมมาวางไว้ระดับสะดือ แล้วดึงกำปั้นกระตุกขึ้นเข้าหาตัว ดันสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกมา ทำซ้ำจนกระทั้งสิ่งอุดกั้นหลุด หรือเด็กไม่รู้สึกตัว
  • ในเด็กที่ไม่รู้สึกตัวให้ CPR: CAB ทำ chest compression 30 ครั้ง ขณะเปิดทางเดินหายใจให้ดูว่ามี FB ในปากหรือไม่ แล้วช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำซ้ำในอัตราส่วน 30:2 หรือ 15:2 ใน 2 rescuer จนกระทั้งสิ่งอุดกั้นหลุด
Back blows x 5, Chest trusts x 5
Heimlich maneuver

Ref: AHA pediatric BLS, adult BLS and CPR quality 2015, Tintinalli ed8th, Update PALS 2020

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น