Household nonpharmaceutical product ingestion
ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล
ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
- พบ fluoride
toxicity ได้โดย toxic dose 5 mg/kg (โดยทั่วไปจะผสม
fluoride 1000-1500 ppm (ต่อล้านส่วน) คือ ถ้ากินยาสีฟันหลอดใหญ่ (150
g) ไป 50 g ก็จะได้ fluoride 50 mg ก็เท่ากับ toxic dose ในเด็กน้ำหนัก 10 กก.) แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต
- อาการทางเดินอาหาร (N/V)
หรืออาการจาก hypocalcemia (fluoride จะจับกับ
Ca เป็น CaF2 ทำให้เกิด hypocalcemia,
hyperkalemia) ได้แก่ seizure, tetany, decrease myocardial contractility,
ventricular dysrhythmia
- แนะนำตรวจ ECG, electrolytes, Ca และรักษาภาวะ hypocalcemia (10% calcium gluconate 100-200 mg/kg/dose [1-2 g ในผู้ใหญ่] IV over 10-20 min)
Hydrogen peroxide
- ทำให้เกิด air-gas
embolism (ปกติน้ำยาล้างแผลจะเป็น 3% hydrogen peroxide แต่น้ำยาทำความสะอาดอาจเป็น 10-35%) โดย 35%
hydrogen peroxide จะปล่อย O2 ออกมา
100 cc
- กิน 3%
มักมีแค่อาการระคายเคืองทางเดินอาหารเล็กน้อย ยกเว้นกิน >
150 mL หรือความเข้มข้น > 10% อาจทำให้เกิด
caustic injury, pneumobilia, pneumatosis intestinalis, intestinal
perforation, และภาวะแทรกซ้อนจาก embolism เช่น
hypoxia, seizure, stroke, VT, MI ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดอาการทันที
และ 90% ใน 10 ชั่วโมง
- แนะนำตรวจ CT
abdomen ในรายที่มีอาการทางเดินอาหาร (ในเด็กเล็กที่ขณะนี้ไม่มีอาการแล้วอาจทำแค่
plain film ดู portal vein gas)
และรักษาด้วย hyperbaric oxygen (แม้ไม่มีอาการแต่กินขนาด 35%
บางท่านก็แนะนำให้ทำ HBO)
น้ำยายืดผม น้ำยาดัดผม
- มี alkaline
เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะที่เป็น liquid ทำให้เกิด
esophageal perforation ได้ แต่ถ้าเป็น cream การบาดเจ็บมักจะอยู่แต่ในปากและริมฝีปาก โดยถ้ามีอาการแนะนำให้ทำ endoscopy
น้ำยาย้อมสีผม
- อาจมี
paraphenylenediamine เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิด angioedema,
dysphagia, stridor, chocolate colored urine, respiratory failure,
hepatotoxicity, myocarditis, rhabdomyolysis, AKI พบอัตราตายสูง
รักษาตามอาการ
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีพิษ เช่น moisturizers, ointments, baby products, bath oil, shampoo,
hair conditioner, deodorants, diaper cream, suntan lotion, shaving cream,
petroleum jelly
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ (pH 3) แก้ท่อตัน (pH 1) ทำความสะอาดเตาอบ (pH 12) กำจัดคราบไขมัน (pH 10)
- กลุ่มนี้เป็น caustic
injury รุนแรง ในผู้ใหญ่แนะนำให้ทำ CT chest/abdomen ทุกราย เพื่อหา life-threatening condition ถ้าไม่มี
perforation ให้ทำ endoscopy ใน 3-48
ชม.
- ในเด็ก ถ้าไม่มีอาการ (ไม่มี oral lesions, ไม่มีกลืนเจ็บ/ลำบาก/อาเจียน) และประวัติไม่แน่ชัด
หรือ มีผลิตภัณฑ์มีความเป็นกรดด่างน้อย (เช่น bleach)
ให้สังเกตอาการหลายๆชั่วโมง แต่ในรายที่มีอาการ หรือ กินสารที่มีความรุนแรง
ให้ทำ endoscopy และรักษาให้ PPI 1 สัปดาห์
+/- ATB, corticosteroid ขึ้นกับความรุนแรงจาก endoscopy
Bleach,
ammonia, detergents
- มักมีแค่ mild
GI irritation/burns รักษาตามอาการ ยกเว้น ตั้งใจกินปริมาณมาก
หรือกินชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมจะทำให้เกิด GI หรือ pulmonary
caustic injury ให้ทำ early tracheal intubation, upper
endoscopy, surgical resection
ผลิตภัณฑ์ยานยนต์
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษารถยนต์อาจมีส่วนประกอบจำพวก alcohol
(methanol, ethylene glycol, propylene glycol) ให้ดูเรื่อง antidote;
และ ถ้าเป็นกลุ่มน้ำยาทำความสะอาด เช่น กำจัดสนิมเบรก ทำความสะอาดล้อและยางรถยนต์
อาจเป็นกลุ่ม corrosive
Propylene glycol
- มักจะระบุเป็น “non-toxic”
antifreeze เพราะมีความเป็นพิษน้อยกว่า ethylene glycol มีอาการจาก mild CNS depression, confusion, hyperlactemia (โดยที่อาจไม่มี metabolic acidosis) แต่ถ้ากินปริมาณมากทำให้
seizure, hemolysis, AKI
- ตรวจ blood
chemistries, lactate, Ca, osmolarity, blood gas, ethanol, methanol, isopropyl
alcohol, ethylene glycol concentration (ถ้าระบุได้ชัดจากผลิตภัณฑ์ว่าเป็น
propylene glycol ก็ตรวจเฉพาะ chemistries, lactate)
[ปกติ lab จะตรวจ propylene glycol ไม่ได้]
- ถ้ามีอาการเหนื่อย cyanosis
หรือ hypoxia ต้องตรวจ serum
methemoglobin เพราะบางครั้ง antifreeze อาจผสม
nitrites/nitrates เพื่อเป็น anticorrosive สำหรับ diesel engine
- การรักษา
สังเกตอาการจนกว่าจะไม่มีอาการและ lactate ปกติ
แต่ถ้ามีโอกาสเป็น ethylene glycol ให้รักษาเหมือน ethylene
glycol (fomepizole [ADH], hemodialysis)
น้ำยาทำความสะอาดล้อและยาง
- อาจเป็น highly
corrosive และอาจมี ammonium bifluoride (ดู fluoride
toxicity ด้านบน) หรือ hydrofluoric
acid (ดูเรื่อง chemical burn)
Mothballs (ลูกเหม็น)
มักมีส่วนประกอบหลักเป็น naphthalene,
paradichlorobenzene, หรือ camphor (การบูร) ถ้าไม่มีระบุไว้ที่ซอง สามารถทดสอบโดยทำ “floating
test” ใช้น้ำเปล่า น้ำละลายเกลืออิ่มตัว และ 50%DW โดย camphor จะลอยหมด paradichlorobenzene จะจมหมด และ naphthalene จะจมในน้ำ
แต่ลอยในน้ำเกลือและน้ำตาล
- Camphor ในขนาด
> 30 mg/kg ทำให้ oropharyngeal/GI
irritation และ seizure การรักษาไม่ต้องให้ AC
ถ้าไม่มีอาการให้ observe 4 ชม. (มักจะชักใน 2 ชม.แรก) ถ้า seizure ให้ IV BZD ถ้าไม่ดีขึ้นให้
anticonvulsant
- Paradichlorobenzene
มักไม่มีพิษรุนแรง อาจมี abdominal pain, N/V, mucous
irritation แต่มีรายงานเรื่อง ichthyosifirm eruption,
hemolysis, methemoglobinemia, hepatotoxicity, pulmonary edema
- Naphthalene
มีอาการ headache, abdominal pain, N/V ถ้ากินปริมาณมากทำให้เกิด
methemoglobinemia และ hemolysis
โดยเฉพาะใน G-6PD def
- w/u ตามอาการเช่น
เหนื่อย (methemoglobin concentration), ซีด เหลือง
ปัสสาวะสีเข้ม (CBC, blood smear, reticulocyte count, LDH, bilirubin,
haptoglobin)
ยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าหนู ยาฆ่าหญ้า
(ดูเรื่อง antidote)
- Pyrethroid insecticide
แบ่งเป็น type I (permethrin) และ type
II (cypermethrin) จะมีอาการ N/V, abdominal pain, sore
throat ถ้าได้ปริมาณมากทำให้เกิด neuroexcitatory symptoms ได้แก่ tremor, CS syndrome (choreoathetosis, salivation),
respiratory compromise, metabolic acidosis + elevated lactate; รักษาตามอาการ
- Glyphosate เกิดพิษจาก
surfactant มีอาการ abdominal
pain, N/V แต่จะเกิดอาการรุนแรงถ้ากิน > 85 mL ได้แก่ corrosive injury,
AKI, ARDS, MOF
- Organochlorines ทำให้เกิด
neuroexcitatory symptoms (เช่น seizure) รักษาตามอาการ
- Chlorphenoxy herbicides
ทำให้ vomiting, diarrhea, headache, confusion ในรายที่รุนแรงพบ fasciculation, metabolic acidosis,
rhabdomyolysis, AKI, MOF รักษาตามอาการ และให้ sodium
bicarbonate ทำ alkalinized urine
สิ่งอื่นๆที่พบในบ้าน เช่น button battery, magnet (ดูเรื่อง esophageal FB), mushroom poisoning, poisonous plant; hydrocarbon (gasoline), alcohol-containing products, rodenticides, iron ให้ดูเรื่อง antidote; nicotine, vitamin
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น