วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Pediatric: Pneumonia

Pediatric: Pneumonia

Patterns of disease
  • Typical pneumonia (S. pneumoniae) มักจะมาด้วย ไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอกตามการหายใจ
  • Atypical pneumonia (mycoplasma, C. pneumoniae) จะมาด้วยไข้ต่ำๆ ไอแห้ง อ่อนเพลีย เชื้อ mycoplasma อาจมี wheezing, arthralgia, rash, CNS symptoms ร่วมด้วย
  • เชื้อที่พบมากตามอายุต่างๆได้แก่
    • early neonate: group B streptococci, Klebsiella, E. coli, L. monocytogenes; เด็กทารกไอห่างๆ (staccato cough) มี crepitation ทั่วๆ ไม่มีไข้ เรียกว่า afebrile pneumonitis เกิดจาก C. trachomatis ที่ติดจากแม่ตอนคลอด
    • อายุ 30 วัน-2 ปี: เกิดจาก viral (RSV, influenza, parainfluenza, human metapneumovirus, adenovirus) มากกว่า bacterial (S. pneumoniae, H. influenza); B. pertussis พบน้อย สงสัยในรายที่มี URI นำมาก่อน ตามด้วยอาการไอเป็นชุดๆ หายใจหอบ สีเปลี่ยน
    • อายุ 2-5 ปี: เกิดจาก viral > bacterial (S. pneumoniae, H. influenza) เพราะมักไปติดจากรร.หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
    • อายุ 5-13 ปี: ส่วนใหญ่เป็น Mycoplasma pneumoniae รองมาคือ C. pneumoniae, S. pneumoniae
  • Immunodeficiency (HIV, malignancy, congenital immunodeficiency) เสี่ยงต่อ opportunistic infection เช่น Pneumocystis jirovecii, CMV, fungi
  • Cystic fibrosis เสี่ยงต่อ S. aureus ในช่วงปีแรก ต่อมาจะเสี่ยงต่อ Pseudomonas

ซักประวัติ
  • ประวัติไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ ประวัติการสัมผัสเชื้อ เช่น ใกล้ชิดคนป่วย ท่องเที่ยว สัตว์เลี้ยง; ประวัติสำลัก (FB) หรือเป็น LRTI บ่อยๆ (cystic fibrosis, immunodeficiency, anatomical anomalies); อาการร่วมเช่น ปวดท้อง อาจหมายถึง lower lobe infection หรือ effusion
  • ประวัติคลอด (โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดและทารกได้แก่ Perinatal infection? ATB/antiviral?  PPROM? Prematurity? Meconium aspiration? 
  • ประวัติอดีต ได้แก่ ประวัติการนอนรพ. ประวัติโรคประจำตัว เช่น asthma ประวัติวัคซีน (BCG, DTP, IPV, Hib, MMR, influenza, varicella, PCV) ครบ

ตรวจร่างกาย
  • นับ RR 1 นาที ก่อนการตรวจร่างกาย ในขณะที่เด็กยังไม่กลัวหรือกำลังหลับอยู่ ผิดปกติถ้าอายุ < 60 วัน RR > 60/min; < 1 ปี RR > 50/min; > 1 ปี RR > 40/min; > 5 ปี RR > 20/min; ไข้ที่ขึ้น 1oC อาจทำให้หายใจเร็วขึ้น 10 ครั้ง/นาที
  • ดูการใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ (nasal flaring, retraction, grunting)
  • วัด O2 saturation ถ้า < 93% โอกาสเป็น pneumonia จะสูงขึ้น
  • ต้องฟังเสียงหายใจทุก lung zones ฟังเสียง crackles, rhonchi, decrease breath sound

Investigation
  • Nasal swab for RSV, influenza, human metapneumovirus
  • CBC, BUN, Cr, electrolytes, LFTs, H/C เฉพาะในรายที่ toxic-appearing และมีอาการรุนแรงต้องนอนรพ.
  • Sputum AFB; gastric aspirate AFB, C/S ในรายที่สงสัย
  • CXR ไม่ควรทำในรายที่อาการไม่รุนแรง (เพราะการใช้ clinical ก็มี sensitivity สูงพอในการวินิจฉัย) อาจทำในบางราย เช่น อยู่ในเกณฑ์ของ sepsis W/U (อายุ < 3 เดือน; < 5 ปี + T > 39°C, WBC > 20,000/mm3 + no clear source of infection), สงสัย complication (pleural effusion, pneumothorax), pneumonia ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา, สงสัย FB, สงสัย congenital lung malformation

Treatment
  • O2 supplement ให้ O2 sat > 92%; rehydration โดยให้ PO, NG หรือ IV;  antipyretic, bronchodilator ในรายที่มี wheezing; cough suppressant ไม่แนะนำ โดยเฉพาะในเด็ก < 5 ปี
  • รักษาตามอาการในรายที่เป็น noninfectious pneumonitis (chemical inhalation, aspiration), เข้าได้กับ viral pneumonia (เช่น อายุ 3 เดือน-5 ปี มี wheezing ตรวจ nasal swab พบ RSV, influenza), bronchiolitis
  • ให้ ATB ทันทีในรายที่สงสัย bacterial pneumonia
    • Ampicillin 200 mg/kg/d q 6 h หรือ ceftriaxone 100 mg/kg/d q 12-24 h หรือ cefotaxime 150 mg/kg/d q 8 h หรือ cefazolin 150 mg/kg/d q 8 h; +/- macrolide ในรายที่สงสัย atypical pneumonia โดยเฉพาะในเด็ก 1-3 เดือน (erythromycin, clarithromycin)
    • ทารกแรกเกิดให้ ampicillin + (gentamicin 7.5 mg/kg/d OD หรือ cefotaxime)
    • ในเด็ก > 3 เดือนที่จะรักษาเป็น OPD case ให้ amoxicillin-clavulanate 80-100 mg/kg/d PO TID หรือ cefuroxime axetil x 7-10 วัน; +/- macrolide
  • Special populations
    • Cystic fibrosis (S. aureus, Pseudomonas): Tazocin IV หรือ (ceftazidime + tobramycin)
    • Sickle cell disease (encapsulated bacteria ได้แก่ pneumococcus, Salmonella, Klebsiella): cefotaxime +/- macrolide +/- vancomycin (severe ill)
    • HIV ที่มี interstitial pneumonia: Bactrim +/- prednisolone
    • RSV ในกลุ่ม high risk: ribavirin
    • Varicella pneumonia: acyclovir
    • CMV pneumonia: ganciclovir, γ-globulin

Disposition
  • Admit ในรายที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ O2 sat < 93%, RR > 50 (> 70 ใน infant), respiratory distress (retraction, grunting, apnea), กินไม่ได้, dehydration, ไม่สามารถมา F/U ได้ใน 24-48 ชั่วโมง
  • ในรายที่ D/C แนะนำให้สังเกตอาการ กลับมารพ.ถ้ากิน ATB หรือกินอาหารไม่ได้ F/U ใน 24-48 ชั่วโมง



Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น