ข้อบ่งชี้
- เพื่อใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสับสน เพ้อ วุ่นวายมาก เอะอะ ต่อสู้ ทำร้าย เพื่อที่จะสามารถทำการวินิจฉัยและการรักษาได้ และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง
ข้อห้าม
- ห้ามผูกยึดในแขนขาที่มีแผลเปิด กระดูกหัก หรือมีการติดเชื้อ
- ระวังการเกิด ischemia ในผู้ป่วยที่มี peripheral vascular disease หรือมีประวัติ arterial injury หรือ surgery
- หลีกเลี่ยงการรัดบริเวณท้องและกระดูกเชิงกรานในรายที่มี pelvic fracture, suprapubic tubes, ostomies, และ percutaneous feeding tubes
- ไม่ควรรัดบริเวณหน้าอกในผู้ป่วยที่มี pulmonary หรือ cardiac disease
อุปกรณ์ในการผูกยึด
- ที่ผูกข้อมือ ข้อเท้า (limb Holders) มีทั้งที่ทำจากหนังสัตว์หรือหนังเทียมซึ่งมีข้อดีคือมีความแข็งแรงมาก แต่ข้อเสียคือ ถอดใส่ได้ช้ากว่า และการทำให้ปราศจากเชื้อยากถ้าเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกาย ประเภทอื่นๆอาจทำจากผ้าบุด้วยสำลีหรือโฟม ซึ่งมักจะเป็นแบบใช้ครั้งเดียว ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ก้าวร้าวรุนแรง
cotton extremity restraint; ภาพจาก veteriankey.com |
Leather extremity restraint; ภาพจาก veteriankey.com |
- ที่ยึดต้นขา หน้าอก สะโพก (fifth-point restraint) ใช้เสริมจากที่ยึดข้อมือ ข้อเท้า ผู้ป่วยจะไม่สามารถนั่งหรือตะแคงลำตัวได้ ซึ่งถ้าอาเจียนอาจจะทำให้สำลัก และต้องเอาข้างเตียงขึ้นตลอดเวลาและต้องรัดให้กระชับเพียงพอที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถเลื่อนตัวได้เพราะอาจจะรัดคอได้
fifth-point restraint; ภาพจาก rehabmart.com.sg |
- ประเภทอื่นๆ ที่ ได้แก่ restraint vest, hobble leg restraint ซึ่งปกติไม่มีที่ใช้ในห้องฉุกเฉิน
วิธีการ
- ถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้ป่วยเปลี่ยนเป็นเสื้อคลุมของรพ.ก่อนจะทำให้ผูกยึด
- ใช้คนที่ผ่านการฝึกอย่างน้อย 5 คน การมีคนจำนวนมากมายืนเตรียมพร้อม (show of force) จะสามารถช่วยลดการต่อต้านจากผู้ป่วยได้
- แบ่งหน้าที่ให้คน 4 คน แต่ละคนจับแขนขาคนละข้างยึดกับเตียง จับเหนือต่อข้อศอกและข้อเข่าในท่าผู้ป่วยนอนหงาย ส่วนคนที่ 5 เป็นคนใส่ที่ผูกยึดรอบข้อมือและข้อเท้า อาจใส่ที่ยึดต้นขา หน้าอก หรือสะโพกเพิ่มเติมตามความจำเป็น
- ใส่หน้ากาก (surgical mask) ให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันผู้ป่วยพ่นน้ำลายใส่
- ถ้าใช้วิธียึดแบบ 4 จุด (four-point restraints) คือ ยึดเฉพาะแขนขา อาจยึดให้แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยยกขึ้นแนบศีรษะ ส่วนอีกข้างแนบลำตัว ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เตียงพลิกคว่ำได้
ภาพจาก medscape |
- เขียนคำสั่งการรักษา ประเมินระหว่างผูกยึด (pulses, capillary refill, skin color/temperature, motor/sensory function) และประเมินข้อบ่งชี้เป็นระยะ
ภาวะแทรกซ้อน
- Agitation อาจทำให้มีพฤติกรรมวุ่นวายและการต่อสู้มากขึ้น ซึ่งให้พิจารณาใช้ chemical restraint ร่วมด้วยตามสาเหตุ เช่น cocaine-associated delirium ควรให้ chemical restraint เพราะ stress ที่เกิดจากการผูกยึดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ fatal cardiac arrhythmia แต่ถ้าสาเหตุเกิดจาก alcoholic intoxication การผูกยึดแขนขาอย่างเดียวมักจะเพียงพอ เพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะหลับไปได้เอง
- Skin complication อาจทำให้เกิดบาดแผลได้ มักเกิดจากรัดแน่นหรือนานเกินไป เลือกที่ผูกยึดแบบนิ่ม ถ้าผู้ป่วยดิ้นตลอดให้ใช้ chemical restraint ร่วมด้วย
- Vascular ischemia พบได้น้อย เกิดจากการรัดแน่นเกินไป หรือมีการบวมเพิ่มขึ้น
- Respiratory compromise เกิดจากการผูกยึดในท่าคว่ำ หรือจากการรัดหน้าอก กลุ่มเสี่ยงคือ COPD, obesity,และ intoxication
- Metabolic acidosis เนื่องจากมี physical exertion อย่างมาก จนเกิด exercise-induced lactic acid ให้สงสัยในรายที่มี severe agitation, persistent tachycardia, tachypnea, และ hyperpyrexia รักษาโดยการให้ IV saline hydration อย่างรวดเร็ว และ sedation ด้วย BZD เพื่อลด sympathetic hyperactivity
Ref: Roberts Clinical Procedures 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น