วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

Prehospital immobilization: Extremity splint, helmet removal

Prehospital immobilization

Extremity splint

ข้อบ่งชี้
  • สงสัย musculoskeletal injury (pain, swelling, deformity, discoloration, crepitus, loss of neurological function) แต่ใน multisystemic trauma ที่มี life-threatening injury ควรให้ความสำคัญกับ rapid transport มากกว่าการ splint
อุปกรณ์
  • Rigid splints อาจทำจาก cardboard, wood, plastic, aluminum แล้วมัดแขนขาที่บาดเจ็บไว้ด้วย tape, gauze, หรือ Velcro straps บางชนิดจะมีบุด้านในให้นุ่ม หรือบางชนิดอาจดัดงอให้เป็นรูปร่างที่ต้องการได้ เช่น SAM splint, Vacuum splint
  • Soft splints ได้แก่ air splints, pillows, slings and swaths ซึ่งเพียงพอสำหรับการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงมาก (sprains, contusions)
วิธีการ
  • สื่อสารกับผู้ป่วยเสมอ พิจารณาให้ยาแก้ปวด ถอดเสื้อผ้าส่วนที่บาดเจ็บออก ใช้มือจับประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่นิ่ง ตรวจ neurovascular status ก่อนและหลัง splint โดย splint ตั้งแต่ข้อเหนือถึงข้อใต้ต่อตำแหน่งที่บาดเจ็บ ประคบเย็น ยกตำแหน่งที่บาดเจ็บสูง
  • ถ้าแขนขาผิดรูปงอมาก ให้ลองทำ longitudinal traction (ใช้แรงไม่เกิน 4.5 กก.) 1 ครั้งก่อน splint ถ้าปวดหรือทำไม่ได้ให้ splint ในท่านั้นๆ ปิดแผลด้วย dry dressing






Lower extremity traction splint

ข้อบ่งชี้
  • สงสัย femur fracture เช่นมาด้วย thigh pain + limb shortening/swelling การ splint จะช่วยลดอาการปวด, ลด blood loss (จากการลด potential space), ป้องกัน neurovascular damage, และลดอุบัติการณ์ของ fat embolism
ข้อห้าม
  • Pelvic fracture, hip injury with gross displacement, significant injury ที่ knee; avulsion หรือ amputation ของ  ankle หรือ foot
  • Open femur fracture ยังไม่ชัดเจนว่าห้ามทำหรือไม่  
อุปกรณ์
  • มีหลายชนิด ได้แก่ Hare Traction Splint, Kendrick Traction Device, Sager Emergency Traction Splint,  Ferno-Trac
วิธีการ
  • อธิบายกระบวนการ ให้ยาแก้ปวด ถอดเสื้อผ้าส่วนที่บาดเจ็บออก ใช้มือจับประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่นิ่ง ตรวจ neurovascular status ก่อนและหลัง splint ถ้าขาผิดรูปงอมากให้ทำ manual traction ไว้ก่อนที่จะ splint (ใช้แรงไม่เกิน 6.8 กก.) ถ้าปวดหรือทำไม่ได้ให้ splint ในท่านั้นๆแทน
  • ในที่นี้จะกล่าวถึง traction splint ที่พบบ่อย 2 ชนิด คือ
    • Hare traction splint ให้ปรับ adjustable bar โดยเทียบความยาวกับขาข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ โดย splint ควรยาวเลยข้อเท้าลงมาประมาณ 15 ซม. ใส่ ankle hitch ยกขาขึ้นเล็กน้อยแล้วสอด splint ไปใต้ขาจน ischial pad ชนกับ ischial tuberosity แล้วรัด ischial strap เกี่ยวตัว traction กับ D-ring ของ ankle hitch หมุน traction dial จนขายาวเท่ากับข้างปกติ แล้วรัด Velcro strap อีก 4 อัน

    • Sager traction splint ปรับความยาว splint ให้ลูกรอกอยู่ระดับส้นเท้า สอด splint จน perineal cushion ชนกับ perineum รัด Kydex buckle thigh strap แล้วรัด ankle harness และทำ traction โดยดึง inner shaft ออกจนได้ความยาวที่ต้องการ (< 10% ของน้ำหนักตัว ไม่เกิน 10-25 กก.) แล้วรัด wide strap ที่ thigh, knee, และ ankle ตามลำดับ สุดท้ายพัน figure-eight strap รอบข้อเท้าทั้งสองข้าง




Pelvic immobilization

ข้อบ่งชี้
  • Significant pelvic pain/tenderness หรือมี evidence ของ pelvic instability หลังอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในรายที่มี hypotension
วิธีการ
  • Sheet: สอด sheet ใต้ผู้ป่วย โดยใช้ scoop stretcher หรือ logroll (ไม่เกิน 15o) แล้วพัน sheet รอบ greater trochanter แล้วมัดปลายเข้าด้วยกันเป็นปม
  • Pelvic binder (SAM Sling): ให้ internal rotate ขาทั้งสองข้าง สอด SAM sling ใต้เข่าแล้วค่อยๆสไลด์ขึ้นไปจนถึงระดับ greater trochanter หรืออาจสอดช่วงทำ log-roll ก็ได้ ใส่พันรอบ greater trochanter (ระดับ buttocks) จะมีสายสีดำคล้องกับหัวเข็มขัดสีส้ม ดึงสายสีดำและสีส้มไปคนละด้านกันจนได้ยินเสียง กริ๊กแปลว่ารัดแน่นพอแล้วก็นำสายสีดำมาติดกับตีนตุ๊กแกด้านข้าง



Helmet removal

ข้อบ่งชี้
  • Motorcycle helmet ควรเอาออก
  • Hockey หรือ football helmet + shoulder pad โดยปกติจะไม่ต้องเอาออกก่อนไปทำ imaging เพราะศีรษะจะอยู่ใน neutral position อยู่แล้ว จะถอดในกรณีที่ immobilization ได้ไม่ดีหรือไม่สามารถเอา face mask ออกได้ ซึ่งต้องเอาออกพร้อมกับ shoulder pad
ข้อห้าม
  • ถ้าอาการแย่ลง (ปวด ชา) ขณะพยายามถอด helmet
  • ไม่ควรทำถ้าไม่คุ้นเคย และไม่มีผู้ช่วย
วิธีการ

Motorcycle helmet removal
  • อาจหนุนใต้ไหล่ให้สูงขึ้นก่อนเพื่อป้องกัน cervical motion
  • คนแรกทำ in-line immobilization ใช้มือจับด้านข้างของหมวกกันน็อกทั้งข้าง โดยนิ้วจะวางที่ mandible ของผู้ป่วย
  • คนที่สองปลดสายคาดคาง แล้วมาทำ in-line immobilization แทนคนแรก โดยมือหนึ่งจับ occiput อีกมือจับ mandible
  • คนแรกถอดหมวกกันน็อก ถ้ามี facial coverage ให้เอาออกก่อน ใช้แรงอ้าหมวกกันน็อกให้แยกออกระหว่างถอดเพื่อไม่ให้ติดหู บางครั้ง facial coverage อาจติดจมูกให้เอียงหมวกไปด้านหลังแล้วยกออก
  • คนที่สอง คอยเลื่อนมือทำ in-line immobilization ตลอดขณะถอดหมวกกันน็อก
  • คนแรกเปลี่ยนมาทำ in-line immobilization แทน
  • The Eject Helmet Removal System เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดหมวกนิรภัยของนักแข่งรถ


Sport helmet removal
  • เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ เช่น FM Extractor, Trainer’s Angel, anvilpruner, polyvinyl chloride pipe cutter, power screwdriver
  • เอา face mask ออก โดยตัด plastic loop strap (football) หรือ unscrew (hockey)
  • คนแรกเอามือวางด้านข้างของ helmet ทำ manual in-line stabilization ให้นิ้วโป้งชี้ขึ้น
  • คนที่สองเอาสายรัดคางออก งัดเอา cheek และ jaw pad ออก (บางรุ่นเป็น air-filled bladder ต้อง deflate ออก) แล้วทำ manual in-line stabilization แทนคนแรก โดยมือหนึ่งจับที่ mandible และอีกมือหนึ่งจับที่ occiput
  • คนแรก เอานิ้วโป้งใส่ในช่องหูของหมวก นิ้วที่เหลือจับที่ขอบล่างของหมวก ค่อยๆโยกหมวกออก
  • เอา shoulder pad โดยตัด strap ด้านใต้แขนและด้านหน้า (อาจเอา shoulder pad ออกพร้อมกับ helmet เลยก็ได้) บางครั้งมี cervical orthosis (neck roll, cowboy collar, butterfly restrictor) ให้ disconnect จาก helmet และ shoulder pad ก่อนเอาออก




Special circumstances
  • เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ผู้ป่วยต้อง immobilization เป็นเวลานาน บางแห่งจะมีเกณฑ์ที่ให้พยาบาลประเมิน (เช่น Canadian C-spine Rule) ได้เลยโดยไม่ต้องรอแพทย์ตรวจ
  • Gunshot wound ไม่ต้องทำ cervical spine immobilization เพราะรบกวนการรักษาอื่นๆ
  • Seizure patient จากการศึกษาไม่พบว่ามี spinal cord injury (ถึงแม้ว่ามี mandible, tibial, nasal fracture) แต่ถ้าจำเป็นต้องทำ full stabilization พิจารณาให้ยา sedation เพราะผู้ป่วยมักสับสน


Ref: Robert Clinical Procedure

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น