วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

Intestinal gas


Intestinal gas
  • ก๊าซในลำไส้ 99% เป็น N2,O2,CO2, H2, และ CH4 ซึ่งเป็นก๊าซไม่มีกลิ่น ส่วนน้อยที่ทำให้เกิดกลิ่นจะเป็นสารประกอบ sulfer (methanethiol, dimethyl sulfide, hydrogen sulphide) และอื่นๆ (short-chain fatty acids, skatoles, indoles, volatile amines, ammonia)
  • สาเหตุของก๊าซในลำไส้ ได้แก่
    • Air swallowing (aerophagia) ส่วนใหญ่เป็นก๊าซ N2 และ O2 การกลืนลมพบเป็นปกติระหว่างการกินอาหาร สาเหตุที่กลืนลมมากขึ้น เช่น การกลืนอาหารคำใหญ่ ความวิตกกังวล การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ และถ้าอยู่ในท่านอนลมจะผ่านลงไปที่ลำไส้มากขึ้น
    • Intraluminal production ได้แก่ ก๊าซ CO2, H2, และ CH4
      • CO2 ได้มาจากการย่อยไขมันและโปรตีนในลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมก่อนจะถึงลำไส้ใหญ่ ส่วนที่ผายลมออกมาจะเกิดจากการหมักของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ อาจเกิดจากอาหารบางอย่าง เช่น nondigestible carbohydrates
      • H2 ส่วนใหญ่มาจากคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ถูกสร้างจาก fecal bacteria ในลำไส้ใหญ่ ในคนปกติถ้ากินอาหารที่มี oligosaccharide สูง เช่น stachyose และ raffinose ซึ่งพบในถั่ว หรือ resistant starches (แป้งที่ผลิตจาก ข้าวสาลี ข้างโอ๊ต มันฝรั่ง ข้าวโพด) จะถูกย่อยไม่หมด ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ผลิต H2 มากขึ้น นอกจากนี้ในคนที่มี small intestinal carbohydrate malabsorption จะทำให้เกิดการสร้าง H2 มากขึ้น
      • Methane เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Methanobrevibacter smithii ซึ่งจะใช้ H2 และ CO2 ในการผลิต CH4 ซึ่งผลรวมจะช่วยลดปริมาณก๊าซในลำไส้ลง
    • Diffusion from blood ขึ้นอยู่กับ partial pressure ของก๊าซแต่ละชนิด เช่น O2 จากถูกดูดซึมจากกระเพาะเข้ากระแสเลือด และจะแพร่จากในกระแสเลือดเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
    • Decrease gas absorption เช่น obstruction
    • Intraluminal gas expansion จากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันบรรยากาศ


Bleching
  • แบ่งออกเป็น supragastric belching (กลืนลมเข้าไปในหลอดอาหารแล้วจึงเรอออกมา) และ gastric belching (ลมที่กลืนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วเรอออกมา ระหว่างที่ lower esophageal sphincter คลายตัว อาจเกิดจากอาหารบางอย่าง เช่น chocolate, fats, mints)
  • ส่วนใหญ่เกิดจาก psychological และ behavioural factor แต่อาจสัมพันธ์กับ GERD และ functional dyspepsia แต่อาการเรอจะไม่ใช่อาการเด่น
  • Mx:
    • หยุดพฤติกรรมที่ทำให้กลืนลม เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม การกลืนอาหารหรือน้ำทีละมากๆ; การทำ diaphragmatic breathing อาจช่วยลดอาการได้ และรักษาโรคร่วม เช่น depression, anxiety, GERD
    • Baclofen 10 mg PO TID ในรายที่รักษาวิธีอื่นไม่สำเร็จ ยาจะช่วยให้ transient lower esophageal sphincter relaxation ลดลง และยับยั้ง swallowing rate


Flatulence
  • สาเหตุ เช่น จากการเปลี่ยนแปลงของ intestinal motility หรือ intestinal bacteria; จากอาหาร เช่น lactose, fructose, sorbitol, undigestible starch ในผลไม้/ผัก/ถั่ว, น้ำอัดลม, เนื้อหมู (อาจเกิดก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นระหว่างย่อย)
  • Alarm features ได้แก่ nocturnal abdominal pain, weight loss, hematochezia, systemic symptoms, diarrhea/steatorrhea, vomiting, severe abdominal tenderness, organomegaly, succussion splash
  • Ix: เฉพาะในรายที่มี alarm features เช่น stool examination for fat, Giardia, breath tests for small intestinal, lactose intolerance, celiac serology, endoscopic evaluation
  • Mx:
    • รักษาสาเหตุที่พบ เช่น lactose intolerance (lactose restriction, lactase enzyme), small bowel bacterial overgrowth (PO ATB [rifaximin], vitamin [B12, fat-soluble, iron, thiamine, niacin], probiotic)
    • Diet modification หลีกเลี่ยง gas-producing food เช่น กะหล่ำปี หัวหอม บรอคโคลี่ ข้าวสาลี มันฝรั่ง ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่อาการยังไม่ดีขึ้นให้หลีกเลี่ยงอาหาร FODMAPs (fermentable oligosaccharides, disaccharides, monosaccharides, and polyols) **ควรรับคำแนะนำจากโภชนากรเพื่อไม่ให้จำกัดอาหารมากเกินไป
    • Bismuth subsalicylate ช่วยลดกลิ่นจาก hydrogen sulphide และอื่นๆได้

 

Abdominal bloating
  • H&P: หา alarm features (ดูด้านบน) หาความสัมพันธ์กับอาหาร ช่วงเวลาที่เป็นระหว่างวัน อาการที่ทำให้สงสัย functional GI disorders อื่นๆ (constipation, diarrhea, abdominal pain, post-prandial fullness)
  • Functional bloating มักเป็นแบบ diurnal pattern อาจตามหลังอาหารบางชนิด อาการท้องอืดมักแย่ลงเรื่อยๆในตอนกลางวัน และดีขึ้นในตอนกลางคืน อาจมีอาการปวดท้องเล็กน้อยแต่ไม่ใช้อาการเด่น โดยไม่เข้ากับโรค IBS, functional constipation, functional diarrhea, postprandial distress syndrome
  • Ix: CBC (anemia), serologies for celiac sprue, breath test for small intestinal bacterial overgrowth, lactose intolerant
    • pelvic imaging (US r/o ovarian cancer) ในหญิงวัยกลางคนที่มี persistent bloating หรือ abnormal PV
    • endoscopy + pancreatic imaging ในรายที่มี alarm feature
    • w/u malabsorption ในรายที่สงสัย (chronic diarrhea, weight loss)
  • Mx:
    • Lifestyle modification คล้ายกับโรค IBS ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการ (เช่น ถั่ว หัวหอม ผักชีฝรั่ง แครอท ลูกเกด แอปริคอต ลูกพรุน จมูกข้าวสาลี เพรทเซิล เบเกิล) ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้หลีกเลี่ยง FODMAPs; อื่นๆ เช่น งดน้ำอัดลม ออกกำลังกายเบาๆ อยู่ในท่าตรง ดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • รักษาโรคที่พบ ได้แก่ small intestinal bacterial overgrowth, lactose intolerance; หลีกเลี่ยง anticholinergic agents, opiates, CCB
    • อื่นๆ เช่น biofeedback, probiotic


Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น