วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562

Tramadol intoxication


Tramadol intoxication

Tramadol เป็นยาแก้ปวด ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ของทั้ง opioid และ non-opioid เช่น serotonin และ norepinephrine reuptake inhibitor
ในหลายปีที่ผ่านมามีการนำ tramadol มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากฤทธิ์แก้ปวด เช่น
  • ใช้เป็นยาเสพติด โดยหวังฤทธิ์ของอาการง่วง มึนงง เคลิบเคลิ้มเป็นสุข
  • เพื่อกระตุ้นพลังงาน รู้สึกมีกำลัง ทั้งในคนใช้แรงงาน หรือเพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • ทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้นานขึ้น หลั่งช้าลง
  • กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวได้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ในคนขับรถ นักเรียนที่อ่านหนังสือตลอดคืน

สาเหตุของ intoxication ส่วนใหญ่เกิดจาก suicide และ abuse (ขนาดยา > 400-600 mg/d) และพบการใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น เช่น BZD, acetaminophen +/- codeine, NSAIDs, SSRI เป็นต้น

การเกิดพิษของ tramadol มี toxicity ทั้งจาก
  • Opioid toxicity มี classic signs คือ decrease mental status, bradypnea, decrease TV,  decrease bowel sound, miosis, hypothermia, bradycardia ซึ่งอาการเหล่านี้อาจมีมากน้อยแตกต่างกัน แต่ตัวที่เป็น predictor ที่ดีที่สุดในการเกิด opioid toxicity คือ RR < 12/min 
  • Serotonin toxicity มี triad คือ mental status change, autonomic hyperactivity, neuromuscular abnormalities (tremor, muscle rigidity, myoclonus, hyperreflexia, bilateral Babinski sign)
    • การวินิจฉัย คือ ประวัติการใช้ยา ร่วมกับ spontaneous clonus หรือ (inducible clonus/ocular clonus + agitation/diaphoresis) หรือ tremor + hyperreflexia หรือ (hypertonic + T > 38oC/inducible clonus)
  • Tramadol-induced seizure ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ในขนาด > 500 mg


S&S จากการศึกษา
  • ที่พบบ่อย ได้แก่ N/V, seizure, vertigo, low-grade coma, headache, anxiety, blurred vision
  • อื่นๆพบ < 20% ได้แก่ miosis, palpitation, hyporeflexia, dyspnea, diaphoresis, diplopia, mydriasis, hyperreflexia


Ix: CBC, BUN, Cr, electrolytes, CPK, AST, ALT, PT, aPTT, POCT glucose, acetaminophen level, ECG

Tx:
  • ABC, oxygen supplement, IVF; Monitor ECG, O2 saturation, EtCO2
  • Supportive care
    • BZD IV ในรายที่มี agitation มาก เช่น diazepam 5-10 mg IV
    • Severe HT ควรรักษาด้วย short-acting agents เช่น nitroprusside
    • Hyperthermia > 41.1oC ให้ sedation, paralysis, และทำ intubation (RSI etomidate + succinylcholine) หลังจากนั้นให้ long-acting nondepolarizing agent (vecuronium) + sedation ต่อ
  • Antidote
    • Cyproheptadine ในรายที่ agitation และ V/S ไม่ดีขึ้นหลังให้ BZD และการรักษาอื่นๆ ให้ขนาด PO 12 mg then 2 mg q 2 h จนอาการดีขึ้น
    • Naloxone  
      • ถ้าหายใจช้ามากหรือหายใจตื้นให้ขนาด 0.2-1 mg
      • Cardiorespiratory arrest ให้ขนาด > 2 mg IV
      • ถ้ายังหายใจเอง ให้เริ่มขนาด 0.04-0.05 mg IV แล้วค่อยเพิ่มทุก 2-3 นาที จนกว่า RR > 12/min หลังจากนั้นให้ drip rate 2/3 ของขนาดที่ตอบสนองต่อชั่วโมง
  • ARDS พบได้จากการใช้ยากลุ่ม opioid หรืออาจเกิดขึ้นหลังการให้ naloxone (เกิดจาก cathecholamine surge หลังการให้ naloxone ในคนที่มี PaCO2 คั่ง) จึงควรให้ naloxone ในขนาดต่ำมากๆก่อน และควร ventilate ด้วย BVM ก่อนให้ naloxone


Prognosis
  • Toxic symptoms ส่วนใหญ่จะหายไปใน 24 ชั่วโมง
  • จากการศึกษาพบการเสียชีวิตในรายที่กินมาในขนาด > 5,000 mg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น