วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563

การดูแลตนเองในภาวะวิกฤต COVID-19

อาการที่ต้องเฝ้าระวัง
  • อาการที่อาจเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากสัมผัสเชื้อ ได้แก่ ไข้ ไอ หายใจเหนื่อย
  • ในรายที่มีอาการมาก เช่น เหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ซึมลง สับสน ริมฝีปากคล้ำ/ม่วง ให้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล
    • การเดินทางไปโรงพยาบาลเอง ให้โทรแจ้งสถานพยาบาลล่วงหน้า และให้สวมหน้ากากผ้า
    • การเรียกรถพยาบาล ให้แจ้งอาการว่าสงสัย COVID-19 และให้สวมหน้ากากผ้า
  • ในรายที่มีอาการไม่มากให้ทำ self-isolation (ดูด้านล่าง) จนกระทั่งไม่มีไข้ > 72 ชั่วโมง ร่วมกับ อาการทางเดินหายใจอื่นๆดีขึ้นมาก และอย่างน้อย 7 วันนับจากวันแรกที่เริ่มมีอาการ หรือ
    • ไม่มีไข้ และอาการทางเดินหายใจดีขึ้น และ ตรวจ nasopharyngeal swab ไม่พบเชื้อ 2 ครั้งห่างกัน > 24 ชั่วโมง


การแพร่กระจายเชื้อ
  • จากคนสู่คน (ที่มีหรือไม่มีอาการ) ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ (droplet transmission) ทางการไอ จาม และพูดคุย ซึ่งโดยปกติละอองฝอยขนาดใหญ่จะเดินทางไปในอากาศไม่ได้เกิน 2 เมตร และการติดต่อทางการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วมาสัมผัสกับตา จมูก หรือ ปาก อีกต่อหนึ่ง

การป้องกันการติดเชื้อ
  • ล้างมือบ่อยๆ (น้ำ + สบู่ > 20 วินาที) หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี alcohol > 60% ถูมือจนแห้ง โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะ หรือหลังจากไอ จาม สั่งน้ำมูก
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ไม่ได้ล้าง จับใบหน้า โดยเฉพาะตา จมูก ปาก
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่คนมาอยู่รวมกัน โดยเฉพาะในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
  • ในชุมชนที่มีคนติดเชื้อ SAR-CoV2 ควรกระตุ้นให้ทำ social distancing โดยอยู่ห่างกัน 2 เมตร
  • ทุกคน (ยกเว้นเด็ก < 2 ปี หรือคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) ควรสวมหน้ากากผ้าเมื่อออกไปในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนอื่น (เราอาจติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ)
    • ไม่แนะนำให้คนที่ไม่มีอาการสวม medical mask ยกเว้นคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อภายในบ้าน (เนื่องจากการจำกัดของทรัพยากร)
    • ถ้าไม่ได้สวมหน้ากากผ้าในขณะอยู่ในที่สาธารณะ ให้ปิดปาก/จมูกเมื่อไอ หรือจามด้วยกระดาษชำระ หรือใช้ด้านในของข้อพับแขน หลังจากนั้นให้ทิ้งกระดาษชำระในถังขยะ แล้วล้างมือทันที
  • การทำความสะอาดของใช้
    • เช็ดพื้นผิวที่ต้องสัมผัสบ่อยๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู สวิตซ์ไฟ มือถือ คีย์บอร์ด  
    • ของใช้ประเภทผ้าให้ซักโดยตั้งอุณหภูมิไว้สูงสุด (สามารถซักผ้าของคนติดเชื้อร่วมกับของคนอื่นได้) ไม่สะบัดผ้าก่อนซัก
  • Self-Isolation คือ คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 หรือกำลังรอผลตรวจ หรือมีอาการป่วย (ไข้ ไอ เหนื่อย) ให้อยู่แต่ภายในบ้าน และ
    • ให้อยู่ห่างจากบุคคลอื่นให้มากที่สุด แยกห้องนอนและห้องน้ำ (ถ้าเป็นไปได้) ถ้าต้องใช้ห้องน้ำร่วมกันให้ฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้ และแยกกินอาหารภายในห้องของตนเอง
    • คนติดเชื้อที่ต้องมีคนดูแล คนดูแลจะเข้าไปทำความสะอาดห้องเฉพาะเมื่อจำเป็น ห้องน้ำให้รอเวลาหลังคนป่วยใช้ห้องน้ำให้นานที่สุดก่อนที่จะเข้าไปฆ่าเชื้อ เมื่อล้างของใช้ เช่น จานชาม ช้อน ส้อม แก้ว ให้สวมถุงมือและล้างด้วยสบู่ + น้ำร้อน และให้สวมถุงมือเมื่อนำผ้าไปซักหรือนำขยะไปทิ้ง และล้างมือหลังจากถอดถุงมือแล้ว
  • Self-Quarantine คือ คนที่เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดคนที่สงสัยติดเชื้อ ให้อยู่แต่ในบ้าน 14 วัน สังเกตอาการ และวัดอุณหภูมิกายวันละ 2 ครั้ง
  • Self-Monitor คือ ถ้ามีคนภายในบ้านที่อาจสัมผัสเชื้อ ให้สังเกตอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อย วัดอุณหภูมิกายเมื่อมีอาการ และทำ social distancing
  • การดูแลจิตใจในวิกฤติโควิด-19 โดยกรมสุขภาพจิต



Ref: CDC

1 ความคิดเห็น: