วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

Ovarian hyperstimulation syndrome

Ovarian hyperstimulation syndrome

เป็นภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปจากการทำ IVF โดยใช้ GnRH ในกระตุ้นไข่ และใช้ hCG เพื่อทำให้ไข่ตก ซึ่งในกระบวนการจะทำให้เกิดการสร้าง vascular endothelial growth factor (VEGF) มากเกินไป และทำให้ vascular permeability เสียไป ทำให้เกิด third space loss ของ fluid ทำให้เกิด intravascular hypovolemia ร่วมกับมี edema, ascites, hydrothorax, pericardial effusion

 

อาการและอาการแสดง

  • กลุ่ม early OHSS เกิดหลังจากได้ hCG 4-7 วัน จะมีอาการไม่มาก ส่วนกลุ่ม late OHSS จะเกิดหลังได้ hCG > 9 วัน จะมีอาการรุนแรงกว่า เพราะมี hCG ที่มาจากการตั้งครรภ์กระตุ้นร่วมด้วย
  • Mild OHSS จะมีแค่อาการแน่นท้อง คลื่นไส้เล็กน้อย ทำ US พบ enlarged ovaries และตรวจ lab ปกติ
  • Moderate OHSS จะมีอาการมากขึ้น น้ำหนักเพิ่ม > 3 กก. ทำ US พบ ascites และตรวจ lab มี Hct > 41%, WBC > 15,000/microL, hypoproteinemia
  • Severe OHSS จะมีอาการรุนแรง ปวดท้องมาก อาเจียนไม่หยุด น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว มีน้ำในช่องปอด ปัสสาวะออกน้อย เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ตรวจ lab พบ Hct > 55%, WBC > 25,000/microL, Cr rising > 1.6 mg/dL, Na < 135 mEq/L, K > 5 mEq/L, abnormal LFTs
  • Critical OHSS ถ้ามี anuria with ARF, arrhythmia, pericardial effusion, massive hydrothorax, thromboembolism, arterial thrombosis, ARDS, sepsis

 

การวินิจฉัย ขึ้นกับประวัติและการตรวจ transvaginal US แต่ต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ เช่น ectopic pregnancy, ovarian torsion, หรือ ruptured ovarian cyst เป็นต้น ซึ่งอาจมีอาการคล้ายกัน แต่ต่างกันที่จะไม่มี hemoconcentration

 

การรักษา

  • Mild OHSS ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด paracetamol, หลีกเลี่ยงการออกแรงมากและการมีเพศสัมพันธ์ ให้สังเกตอาการปวดท้อง น้ำหนักขึ้น > 1 กก./วัน และวัดเส้นรอบวงท้องอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือจนกว่าประจำเดือนจะมา
  • Moderate OHSS ให้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ แต่งดกิจกรรมออกแรง ดื่มน้ำ 1-2 ลิตร/วัน ตรวจ TVUS และ CBC เป็น baseline ให้ชั่งน้ำหนัก วัดเส้นรอบวงท้องและวัดปริมาณปัสสาวะทุกวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ตรวจ CBC และ TVUS ทุก 48 ชั่วโมง อาจทำ culdocentesis เพื่อระบาย ascites และให้ paracetamol แก้ปวด
  • Severe OHSS หรือ ในรายที่อาการไม่ดีขึ้น ให้ admit ตรวจ CBC, electrolytes, BUN, Cr, liver enzymes, serum hCG, และ ทำ TVUS รวมถึง CXR, echocardiogram ถ้าสงสัย effusion; ให้ IVF, antiemetics, ทำ culdocentesis และ thoracocentesis เพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งถ้าไม่ตั้งครรภ์อาการจะดีขึ้นใน 10-14 วัน
  • Prophylaxis for thromboembolism ให้ LMWH 20 mg SC q 12 h หรือ heparin 5000 units SC q 12 h ในรายที่ admit หรือมีความเสี่ยง 2-3 อย่าง (อายุ > 35 ปี, obesity, immobility, elevated Hct, Hx หรือ FHx thrombosis, thrombophilia, pregnancy); ส่วนในรายที่ bed rest แนะนำให้ใช้ intermittent pneumatic compression device

 

Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น