วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Adult Check Up

การตรวจสุขภาพในผู้ใหญ่

คัดกรองโรคมะเร็ง
  • Lung cancer (USPSTF 2013) ผู้ใหญ่อายุ 55-80 ปี ที่สูบบุหรี่ 30 pack-year และหยุดสูบมาไม่เกิน 15 ปี ให้ทำ low-dose CT (LDCT) ปีละ 1 ครั้ง
  • Hepatocellular carcinoma (NCI 2016) ผู้ป่วยโรคตับแข็ง; ผู้ชายอายุ > 40 ปี ผู้หญิงอายุ > 50 ปีและผู้มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัวที่มีโรคตับอักเสบเรื้อรังจาก hepatitis B หรือ ติดเชื้อ hepatitis B ตั้งแต่เด็ก ผู้ป่วยโรค hepatitis C ที่มี fibrosis stage 3-4 ให้ตรวจ US +/- AFP ทุก 6 เดือน
  • Cholangiocarcinoma (NCI 2016) ผู้ใหญ่อายุ > 40 ปีที่อาศัยในถิ่นที่มีการติดพยาธิใบไม้ในตับ หรือถิ่นที่มีอัตราการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีสูง เช่น ภาคอีสาน และบางส่วนของภาคเหนือ และ ผู้ที่มีประวัติการกินปลาน้ำจืดดิบ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปดิบจากปลาน้ำจืด ให้ตรวจคัดกรอง stool exam for parasite หรือทำแบบสอบถามหาโอกาสติดพยาธิใบไม้ในตับ (แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดี 2559) ถ้าอาจติดพยาธิให้ส่งทำ US และทำทุก 6 เดือน (ถ้ายังอาจติดพยาธิหรือ US ผิดปกติ)
  • Breast cancer
    • USPSTF 2016: ผู้หญิงอายุ 50-74 ปี หรือตั้งแต่อายุ 40 ปี ถ้ามี first-degree relative เป็น breast cancer ให้ทำ mammography ทุก 2 ปี
    • ACOG 2017: ผู้หญิงอายุ 40-75 ปี ให้ทำ mammography ทุก 1-2 ปี
    • ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อ breast cancer (5-yr risk > 3%) จาก breast cancer risk tool และไม่เสี่ยงต่อ adverse effect จากยา (FHx VTE, ตรวจ GYN ถ้ามี uterus) ควรเสนอการใช้ยาที่จะช่วยลดความเสี่ยง เช่น tamoxifen, raloxifene
  • BRCA-related cancer (USPSTF 2013) ผู้หญิงอายุ > 18 ปีที่มีคนในครอบครัวเป็น breast, ovarian, tubal, หรือ peritoneal cancer ให้ประเมินความเสี่ยงด้วย screening tools (เช่น FHS-7) เพื่อเสนอการตรวจ BRCA mutation testing ในบางราย
  • Cervical cancer (USPSTF 2012) ผู้หญิงอายุ 21-65 ปี ให้ตรวจ Pap smear ทุก 3 ปี หรืออายุ 30-65 ปี ให้ตรวจ Pap + HPV testing ทุก 5 ปี
  • Colorectal cancer (USPSTF 2016) ผู้ใหญ่อายุ 50-75 ปี สามารถเลือกคัดกรองด้วย gFOBT (stool occult blood) หรือ FIT (fecal immunochemical test) ทุก 1 ปี หรือ FIT-DNA ทุก 1-3 ปี (ขึ้นกับผู้ผลิต); colonoscopy หรือ (flexible sigmoidoscopy + FIT) ทุก 10 ปี; flexible sigmoidoscopy หรือ CT colonoscopy ทุก 5 ปี
  • Prostate cancer (AUA 2018) ผู้ชายอายุ 55-69 ปี พิจารณาตรวจ PSA ในรายที่แสดงความต้องการตรวจ หลังจากที่คุยถึงประโยชน์และโทษในการตรวจ (เช่น false-positive แล้วนำไปสู่การ biopsy ที่อาจมีผลแทรกซ้อนทำให้เกิด incontinence, หรือ erectile dysfunction)

คัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Coronary heart disease (HiTAP 2013) ผู้ใหญ่อายุ > 35 ปีประเมิน Rama-EGRAT score หรือ 10-yr Thai CV risk ทุก 5 ปี; (USPSTF 2016) แนะนำให้ aspirin 75 mg เพื่อป้องกัน CVD และ CRC ในผู้ใหญ่อายุ 50-59 ปี ที่มี risk > 10% มี life expectancy > 10 ปี และไม่เพิ่ม bleeding risk
  • Abdominal aortic aneurysm (USPSTF 2014) ทำ US เพื่อคัดกรอง AAA 1 ครั้งในผู้ชายอายุ 65-75 ปี ที่มีประวัติเคยสูบบุหรี่
  • Diabetes/prediabetes (USPSTF 2015) ผู้ใหญ่อายุ 40-70 ปีที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ให้ตรวจ glucose ทุก 3 ปี; (Thai) ผู้ใหญ่อายุ > 30 ปีอาจประเมินด้วย Thai diabetes risk score ถ้า score > 6 ปี = 12-yr risk of DM > 10% ให้ตรวจ random blood glucose และตรวจ OGTT ถ้า random glucose > 140 หลังจากนั้นตรวจทุก 5 ปีถ้าผลปกติ
  • Hypertension (USPSTF 2015) ผู้ใหญ่อายุ > 18 ปี ให้วัด BP ทุก 3-5 ปี และเมื่ออายุ > 40 ปีหรือมีความเสี่ยงต่อ HT (high-normal BP [> 130/80], overweight) ให้วัด BP ทุก 1 ปี
  • Dyslipedemia (AACE 2017) แนะนำให้ตรวจ fasting lipid profile (TC, LDL-C, TG, non-HDL-C); (USPSTF 2008) แนะนำให้ตรวจ non-fasting TC, HDL-C; AACE แนะนำให้ตรวจดังนี้
    • คนที่มีประวัติ premature ASCVD (MI หรือ sudden death ใน male first-degree relative < 55 ปี หรือ female first-degree relative < 65 ปี), หรือ DM ให้ตรวจทุก 1 ปี
    • ผู้ชายอายุ 20-45 ปีและผู้หญิงอายุ 20-55 ปี ตรวจทุก 5 ปี
    • ผู้ชายอายุ 45-65 ปีและผู้หญิงอายุ 55-65 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี
    • คนอายุ > 65 ปี ให้ตรวจทุก 1 ปี
    • เด็ก/วัยรุ่นตั้งแต่อายุ 16 ปี ถ้ามี ASCVD risk, over weight, insulin resistance syndrome, FHx of premature ASCVD ให้ตรวจทุก 5 ปี
    • เด็กที่มีประวัติครอบครัว (premature ASCVD, elevated cholesterol) ให้ตรวจที่อายุ 3 ปี, 9-11 ปี, และที่ 18 ปี
  • Statin use (USPSTF 2016) ผู้ใหญ่อายุ 40-75 ปี without CVD + > 1 CVD risk factors (DM, HT, DLP, smoking) + 10-yr CVD risk > 10 % ให้ low-moderate dose statin
  • Healthful diet และ physical activity (USPSTF 2014) ผู้ใหญ่อายุ > 18 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน และมี CVD risk (HT, dyslipidemia, IFG, metabolic syndrome) ให้คำปรึกษาและนัดติดตามต่อเนื่อง (5-16 ครั้ง/9-12 เดือน)

คัดกรองโรคติดเชื้อ
  • Hepatitis B (HiTAP 2013) ผู้ใหญ่อายุ > 30 ปี ตรวจ HBsAg และ anti-HBs ครั้งเดียว พร้อมให้การรักษาหรือวัคซีน
  • Hepatitis C (HiTAP 2013) ผู้ติดเชื้อ HIV ตรวจ anti-HCV และ HCV RNA ครั้งเดียว
  • HIV (USPSTF 2013) วัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ 15-65 ปีหรือมีความเสี่ยง ให้ตรวจแบบสมัครใจ ความถี่ในการตรวจขึ้นกับความเสี่ยง อาจตรวจครั้งเดียวถ้าไม่มีความเสี่ยง หรือตรวจซ้ำ > 1 ครั้ง/ปี ทุก 5 ปีขึ้นกับความเสี่ยง; (Thai HiTAP) แนะนำตรวจอายุ 13-50 ปี
  • Tuberculosis (Thai 2018) กลุ่มเสี่ยง (เช่น HIV, DM, immunocompromised, COPD, silicosis, CKD, stomach/bowel surgery, malnutrition, alcoholism, contact TB/Hx TB, old age, prisoners, HCW เป็นต้น) ให้ทำ CXR อาจทำครั้งเดียวถ้าไม่มีความเสี่ยงต่อเนื่องในอนาคต
  • Chlamydia, Gonorrhea (USPSTF 2014) ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์อายุ < 24 ปี หรือมากกว่าถ้ามีความเสี่ยง (เช่น new sex partner, > 1 sex partner, sex partner with STI) ให้ screening หา chlamydia และ gonorrhea ความถี่ในการตรวจขึ้นกับ sexual history
  • Sexually transmitted infection (USPSTF 2014) วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อ STIs (มีประวัติ STIs, multiple sex partners, ไม่ใช้ condom ทุกครั้ง) ให้คำปรึกษาทางพฤติกรรม
  • Syphilis infection (USPSTF 2016) คัดกรองในรายที่มีความเสี่ยง เช่น MSM, อาศัยร่วมกับผู้ป่วย HIV

คัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพอื่นๆ
  • Malnutrition/over nutrition (HiTAP 2013) วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 15 ปี ประเมิน BMI ทุกครั้งที่มารพ. และผู้ใหญ่อายุ > 60 ปี ให้วัด BMI ซักประวัติการกินอาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ หรือน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • Alcohol misuse (USPSTF 2013) คัดกรองการดื่มสุรามากเกินไปในคนอายุ > 18 ปี และให้คำปรึกษาวิธีแก้ปัญหา; (Thai HiTAP) แนะนำอายุ 15-60 ปี ประเมินด้วยแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา ปีละ 1 ครั้ง
  • Tobacco smoking cessation (USPSTF 2015) ผู้ใหญ่ทุกคนให้ถามประวัติการสูบบุหรี่ แนะนำให้เลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด ประเมินความรุนแรง ความประสงค์ ช่วยเหลือ บำบัดรักษา (แนวทางปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่ 2552)
  • Depression (USPSTF 2016) ผู้ใหญ่ทั่วไปให้คัดกรองหาภาวะซึมเศร้า
  • Falling prevention (USPSTF 2012) ผู้ใหญ่อายุ > 65 ปี หรือในรายที่มีความเสี่ยงล้ม (ประวัติล้ม มีปัญหาในการเคลื่อนไหว Get-Up-and-Go test ไม่ดี [ลุกจากเก้าอี้ที่มีเท้าแขน เดิน 3 เมตรแล้วกลับมานั่งเก้าอี้ได้ภายใน 10 วินาที]) ให้ exercise/physical therapy และกิน Vitamin D เสริม
  • Folic acid (USPSTF 2017) เพื่อป้องกัน neural tube defect ในผู้หญิงที่วางแผนหรืออาจตั้งครรภ์
  • Intimate partner violence (USPSTF 2012) ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ ให้ถามถึงปัญหาความรุนแรงในนครอบครัว ดูเรื่อง intimate partner violence
  • Osteoporosis (USPSTF 2011) ผู้หญิงอายุ > 65 ปีหรือมีความเสี่ยง > ผู้หญิงผิวขาวอายุ 65 ปี (FRAX tool) ให้ตรวจ BMD ห่างกัน > 2 ปี
  • Traffic accident (HiTAP 2013) คนขับรถอายุ > 60 ปี ตรวจ visual acuity



Ref: U.S Preventive Services Task Force, Development of a Health Screening Package Under the Universal Health Coverage: The Role of Health Technology Assessment 2016

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น