Resuscitation in Paediatric (PALS)
การช่วยชีวิตผู้ป่วยต้องทำงานกันเป็นทีมซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วย
6
คน ได้แก่ team leader, คนทำ chest
compression, คนดูแล airway/ventilation, คนดูแล
IV access และให้ medication, คน monitor
EKG และทำ cardioversion/defibrillation, คน record ซึ่งมีหลักการทำงานร่วมกัน 8 ข้อดังนี้
- สมาชิกต้องทวนคำสั่งหัวหน้าทีม (Closed-loop communication)
- คำสั่งต้องดังและชัดเจน (Clear massage)
- รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ (Clear roles and responsibility)
- ทราบข้อจำกัดของตนเอง ไม่รั้งรอที่จะขอความช่วยเหลือ (Knowledge limitation)
- หัวหน้าทีมถามนำสมาชิกเพื่อค้นหาข้อบกพร่องระหว่างการช่วยชีวิต (Knowledge sharing)
- ในทีมสามารถท้วงติงกันได้อย่างสร้างสรรค์ (Construction intervention)
- วิเคราะห์และสรุปการทำงาน รวมถึงสรุปการปฏิบัติงานจาก recorder (Re-evaluation)
- ให้เกียรติและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (Mutual respect)
เมื่อผู้ป่วยมาถึงให้เริ่มจากการประเมิน CBC (consciousness-breathing-color) อย่างรวดเร็ว
- C: ซึม กระสับกระส่าย
- B: หายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจไม่สม่ำเสมอ
- C: ตัวซีด ตัวลาย ตัวแดง
***ถ้าไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจหรือหายใจเฮือก
ให้เริ่มทำ CPR ตามลำดับ C-A-B และทำการรักษาตาม Algorithm
|
ประเมิน 1O
Assessment (ABCDE)
- Airway: ทางเดินหายใจเปิดโล่งดีหรือมีอาการของ UAO หรือไม่ เช่น stridor, retraction, dysphagia
- Breathing: ดู chest move 2 ข้าง อัตราการหายใจ แรงในการหายใจ (retraction, nasal flaring, grunting) ฟังปอด 2 ข้าง ตรวจ O2 saturation
- Circulation: ดูสีและอุณหภูมิผิวหนัง, ฟัง heart murmur, คลำ central และ peripheral pulse, คลำ liver, ตรวจ capillary refill, วัด BP และ monitor EKG
- Disability: ตรวจ GCS, pupil; POCT glucose
- Exposure/environment: เปิดเสื้อตรวจดูเป็นส่วนๆ ดูว่ามีแผล burn, bruise, petechial, deformity bleeding หรือไม่ และวัดอุณหภูมิดูภาวะ hypothermia
***ในขณะที่ประเมินแต่ละส่วนก็ให้การรักษาตามสาเหตุไปพร้อมกันเลยเช่น
เปิด airway (head tilt-chin lift), ให้ O2
support, crystalloid bolus 10-20 mL/kg ใน 5-10 นาที
ประเมิน 2O
Assessment คือซักประวัติ
SAMPLE hx (signs and symptoms, allergy, medication, past
history, last meal, events) และ focused PE เช่นถ้าหายใจลำบากก็เน้นตรวจระบบทางเดินหายใจ
ประเมิน 3O
Assessment คือการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัย
ประเมินความรุนแรงและค้นหาภาวะแทรกซ้อน เช่น ABG/VBG, Hb, SvO2,
electrolytes, Ca, lactate, CXR, EKG, echo, CVP, PEFR เป็นต้น
***ระหว่างที่ทำการประเมินแต่ละขั้นก็ทำการสรุปปัญหาและรักษาตามสาเหตุ
สรุปปัญหาว่าเป็นจาก respiratory
หรือ cardiovascular
RS ประเมินความรุนแรง
(respiratory
distress หรือ failure) และมีความผิดปกติที่ใด
(UAO, LAO, lung tissue disease หรือ Disordered
control of breathing)
- UAO ได้แก่ croup, anaphylaxis, FB
- LAO ได้แก่ bronchiolitis, asthma
- Lung tissue disease ได้แก่ pneumonia, pulmonary edema, ARDS
- Disordered control of breathing ได้แก่ IICP, toxin, myopathy
CVS ประเมินความรุนแรง
(compensated หรือ decompensated shock) และมีความผิดปกติแบบใด
(hypovolemic, distributive, cardiogenic, obstructive shock)
- Hypovolemic ได้แก่ hemorrhagic, nonhemorrhagic
- Distributive ได้แก่ septic, anaphylactic, neurogenic
- Cardiogenic ได้แก่ bradycardia/tachycardia, congenital heart, myocarditis
- Obstructive shock ได้แก่ ductal dependent systemic blood-flow, tension pneumothorax, cardiac tamponade, pulmonary embolism
การวินิจฉัย SVT มักจะดูจาก
rate เป็นหลัก (เพราะ P wave เห็นได้ยากเมื่อ rate เร็วมากๆ) ส่วนใหญ่จะมาด้วย narrow complex tachycardia rate 250-350/min |
Vagal maneuver ได้แก่ ice water
to face, postural modification, Upside-down positioning |
วาง paddle ที่ด้านขวาต่อ sternum ระดับ 2nd ICS และที่ Lt
midclavicular line ระดับ xiphoid; ในเด็ก <
1 ปีหรือ < 10 kg ให้ใช้ paddle เด็ก (4.5 cm) ถ้ามีแต่
paddle 8 cm สามารถวางแบบ AP แทนได้
|
ในเด็ก < 8 ปี หรือ < 25 kg ถ้าใช้ AED ต้องมี pediatric dose attenuator |
ภาคผนวก
ประมาณน้ำหนักเด็กไทย
P50
ประมาณ
V/S
|
วิธีการให้ยาและสารน้ำในเด็ก
- ถ้า peripheral IV หรือ IO ให้ bolus NSS ตาม 5 mL
- ในเด็กที่ shock ถ้าเปิด peripheral IV ไม่ได้ใน 90 sec หรือ 2 attempts ให้เปิดทาง IO แทน
- ให้ทาง ETT ให้ dilute NSS 3-5 mL แล้ว flush NSS ตาม 5 mL แล้วบีบ bag 5 ครั้ง
- การผสมยา drip ให้ใช้ BW x 6 เท่ากับจำนวน mg ใน NSS 100 mL แล้ว drip จำนวน mL/hr จะเท่ากับ mcg/kg/min ถ้าเป็นยาที่ dose เป็น 0.1 mcg/kg/min ให้ผสมเป็น BW x 0.6 ใน NSS 100 mL แทนจะได้จำนวน x mL/hr เท่ากับ 0.x mcg/kg/min
Dose ยาในเด็ก **ใน obese children ให้ใช้ actual weight ในการคำนวณขนาดยา
- Adenosine 0.1 mg/kg (max 6 mg) และ 0.2 mg/kg (max 12 mg) ใน 2nd dose ให้ 2 syringes technique 5-10 mL
- Amiodarone 5 mg/kg IV bolus (VF/pulseless VT) หรือ 20-60 min (perfusing SVT/ VT) ให้ซ้ำได้ 2 ครั้ง (รวม 15 mg/kg) max 300 mg/dose
- Atropine 0.02 mg/kg IV หรือ 0.04-0.06 mg/kg ETT (max 0.5 mg) ใช้ high dose ใน organophosphate poisoning
- 10%CaGluconate 0.6 mL/kg IV slow push
- Crystalloid (RLS) 20 mL/kg IV in 5-10 min (hypovolemic, distributive shock) หรือ 5-10 mL/kg in 10-20 min (cardiogenic shock); ใช้ ideal body weight
- Dexamethasone 0.6 mg/kg PO/IM/IV (asthma, croup); Hydrocortisone 2 mg/kg IV (adrenal insuff.) 4 mg/kg IV (anaphylaxis)
- Dopamine drip 2-20 mcg/kg/min
- Dobutamine drip 2-20 mcg/kg/min
- Epinephrine 0.01 mg/kg (0.1 ml/kg 1:10,000) IV/IO (max 1 mg); 0.1 mg/kg (0.1 ml/kg 1:1,000) ETT (max 2.5 mg); drip 0.1-1 mcg/kg/min (cold shock)
- Glucose 0.5-1 g/kg = 10DW 5-10 mL/kg ใน newborn หรือ 25DW 2-4 mL/kg ใน child (หรือใช้ 50%glucose มา dilute เป็น 12.5% และ 25% ให้ใน newborn และ child ตามลำดับ)
- Inodilator: Inamrinone 0.75-1 mg/kg IV/IO > 5 min ให้ซ้ำได้ x 2 then 5-10 mcg/kg/min หรือ Milrinone 50 mcg/kr IV/IO > 10-60 min then 0.25-0.75 mcg/kg/min
- Lidocaine 1 mg/kg IV bolus; infusion 20-50 mcg/kg/min
- 50%MgSO4 (500mg/mL) 25-50 mg/kg IV/IO slow push หรือ in 10-20 min (Torsade with pulses, severe asthma) max 2 gm
- Naloxone < 5 yr หรือ < 20 kg ให้ 0.1 mg/kg IV/IO/ET q 2 min PRN (max 2 mg)
- Nitroglycerine drip 1-5 mcg/kg/min titrate q 15-20 min
- Norepinephrine drip 0.1-2 mcg/kg/min (ผสมใน 5DW)
- NaHCO3 1 mEq/kg dilute sterile water เท่าตัว (infant) IV slow bolus
- PGE1 drip 0.05-0.1 mcg/kg/min
- Procainamide 15 mg/kg IV/IO 30-60 min (20 mg/min) (max total 17 mg/kg)
- Salbutamol < 20 kg ให้ 2.5 mg NB; > 20 kg ให้ 5 mg NB
ขนาด equipment ในเด็ก
- ETT size x 1 = 4 + (อายุ /4) ใน uncuff และ 3.5 + (อายุ/4) ใน cuff
- ETT size x 2 = Suction size, NG/OG, Foley’s catheter
- ETT size x 3 หรือ 12 + (อายุ/2) = ETT depth
- ETT size x 4 = ICD size
- Laryngoscope blade size no.1 < 10 kg; no.2 BW 10-30 kg; no.3 > 30 kg
- OPA วัดจากมุมปากถึง angle of mandible; NPA จัดจากจมูกถึงติ่งหู
Ref: Pediatric Advanced Life support 2015, Tintinalli ed8th, Update PALS 2020
•การผสมยา drip ให้ใช้ BW x 6 เท่ากับจำนวน mg ใน NSS 100 mL แล้ว drip จำนวน mL/hr จะเท่ากับ mcg/kg/min ถ้าเป็นยาที่ dose เป็น 0.1 mcg/kg/min ให้ผสมเป็น BW x 0.6 ใน NSS 100 mL แทนจะได้จำนวน x mL/hr เท่ากับ 0.x mcg/kg/min
ตอบลบเช่น เด็ก 10 kg ให้ Dopamine 6 mg in NSS 100 mL drip 2 mL/hr (2 mcg/kg/min) หรือให้ NE 0.6 mg in NSS 100 mL drip 1 mL/h (0.1 mcg/kg/min)
รบกวนถาม
เด็ก 10 kg ให้ Dopamine 10x6 = ***60 mg *** in NSS 100 mL drip 2 mL/hr (2 mcg/kg/min)
หรือให้ NE 10x0.6 = ***6 mg*** mg in ***5%D/W**** 100 mL drip 1 mL/h (0.1 mcg/kg/min)
1. คูณน้ำหนักไม่ถูกต้องหรือเปล่าครับ
2. NE ควรผสมใน สารละลายที่มีน้ำตาล เพื่อป้องกันการสูญเสียความแรงของยาจาก ปฏิกิริยา oxidation
ขอบคุณครับที่ช่วยแก้ไข
ลบ1. ในตัวอย่างคูณน้ำหนักไม่ถูกครับ แต่ได้แก้แล้วครับ
2. NE ควรผสมใน 5DW ใช่แล้วครับ