Pediatric sepsis &
Septic Shock
นิยาม
- Systemic
inflammatory response syndrome (SIRS) จะต้องมี
> 2 ข้อ (มี temp หรือ WBC
อย่างน้อย 1 ข้อ) คือ core temp
< 36 หรือ >
38.5oC, tachycardia > 2 SD (หรือ bradycardia < 10th percentile ในเด็ก
< 1 ปี), mean RR
> 2 SD, WBC เพิ่ม/ลดตามอายุ หรือ immature
neutrophils > 10%
- Sepsis คือ มี infection ร่วมกับ SIRS
- Severe sepsis คือ
sepsis ที่มี cardiovascular dysfunction (hypotension,
need vasoactive drug; หรือมี 2 ข้อของ prolonged
capillary refill, oliguria, metabolic acidosis, elevated arterial lactate), ARDS, หรือ > 2 organ dysfunction (เช่น GCS < 11; plt < 80,000; Cr >
2xUNL, TB > 4, ALT > 2xUNL )
- Septic shock คือ sepsis ที่มี cardiovascular dysfunction แม้ว่าจะให้ isotonic fluid > 40 mL/kg ใน 1 ชั่วโมง
- Refractory septic
shock มี 2 ชนิด คือ fluid-refractory septic shock (ได้ fluid resuscitation > 60 mL/kg)
และ catecholamine-resistant septic shock (ได้ dopamine > 10 mcg/kg/min หรือ direct-acting
catecholamine [epinephrine, norepinephrine])
Sepsis recognition
- ผู้ป่วยที่สงสัย
infection หรือมี
temperature abnormality ร่วมกับมีความผิดปกติ
>
3/8 ข้อ หรือ > 2/8 ข้อในกลุ่มเสี่ยง
- กลุ่มเสี่ยงได้แก่ malignancy, asplenia, bone marrow transplant, on
catheter, solid organ transplant, severe MR/CP, immunocompromised
- ความผิดปกติ ได้แก่
- Temp < 36 หรือ > 38.5oC (> 38 oC ในเด็ก < 3 เดือน)
- Hypotension < 70 + (อายุ x 2); SBP < 60 ในเด็ก < 1 เดือน
- Tachycardia: > 10 ปี > 100; > 2 ขวบ > 140; > 3 เดือน > 190; < 3 เดือน > 205
- Tachypnea: > 13 ปี > 16; > 6 ปี > 30; > 4 ปี > 34; > 1 ปี > 40; < 1 ปี > 60
- Central capillary refill > 3 s (cold shock) หรือ < 1 s (warm shock)
- Mental status abnormality เช่น ซึม กระสับกระส่าย สับสน ร้องไห้กวน
- Pulse: weak (cold shock), bounding (warm shock)
- Skin: mottled, cool (cold shock); flushed, erythroderma (warm shock)
- ในรายที่เข้าเกณฑ์สงสัย severe sepsis/septic shock ต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์เพื่อยืนยันภาวะนี้ภายใน
15 นาที และเริ่มทำการ resuscitation
ภายใน 15 นาทีหลังจากยืนยันแล้ว
Initial resuscitation
Hour-1 bundle
เป้าหมายเวลาภายใน 1 ชั่วโมงแรกสำหรับ septic
shock (ภายใน 3 ชั่วโมงสำหรับ sepsis-associated organ
dysfunction) นับตั้งแต่เมื่อทราบ ได้แก่
- เปิด IV หรือ IO ภายใน 5 นาที
- เริ่มให้ fluid resuscitation ภายใน 30 นาที
- ให้ broad spectrum ATB ภายใน 60 นาที
- ให้ inotropic infusion ใน fluid-refractory shock ภายใน 60 นาที
Ix: CBC, BUN, Cr,
electrolytes, iCa, glucose, lactate, VBG, TB, ALT, PT, aPTT, INR, fibrinogen,
D-dimer, H/C, UA, U/C, serology test (ถ้าสงสัย)
Treatment (ดู Pediatric resuscitation)
- 100% oxygen supplement ใน septic shock แต่หลังจากที่ perfusion เพียงพอแล้วให้ titrate O2 sat < 97%
- ในรายที่ต้องทำ ETT with RSI (มักต้อง intubation ใน fluid-refractory, catecholamine-resistant shock แม้ว่าจะไม่มี respiratory failure)
- ควรให้ fluid +/- catecholamine ก่อนหรือระหว่าง intubation
- ให้ pretreatment ด้วย atropine ในเด็กเล็กเพื่อป้องกัน reflex bradycardia
- ยา sedation ที่แนะนำ คือ ketamine ถ้าไม่มีข้อห้าม (เช่น อายุ < 3 เดือน, psychosis; แนะนำให้เป็น fentanyl 1-2 mcg/kg); ไม่แนะนำให้ etomidate (inhibit cortisol), propofol (hypotension)
- Antimicrobial therapy ภายใน 1 ชั่วโมง การเลือกยาควรปรึกษา pediatric ID ตัวอย่างการให้ เช่น
- Infants (< 28 d) ให้ ampicillin + (ceftazidime หรือ cefepime หรือ meropenam) + gantamicin +/- acyclovir ถ้าสงสัย HSV infection
- Children > 28 d ให้ vancomycin + (cefotaxime หรือ ceftriaxone) +/- gentamicin (GU source) +/- piperacillin/tazobactam หรือ clindamycin หรือ metronidazole (GI source)
- Children > 28 d ที่เป็น immunocompromised หรือเสี่ยงต่อ pseudomonas (ได้ board-spectrum ATB ใน 2 สัปดาห์) ให้ vancomycin + (cefepime หรือ meropenam)
- Emergent source control
- Fluid therapy เปิด IV หรือ IO (ถ้า IV access ไม่ได้ใน 5 นาที) ให้ balanced crystalloid solution (RLS) 10-20 mL/kg over 5-10 min และให้ซ้ำได้รวม 40-60 mL/kg ในชั่วโมงแรก จน tissue perfusion ดีขึ้น หรือมี signs ของ fluid overload (rales, gallop, enlarged liver)
- ในสถานที่ที่ไม่สามารถทำ advance airway management และ circulatory support ถ้าเป็น compensated shock ไม่ควรให้ IV fluid bolus แต่ควรให้ maintenance fluid ตามอายุแทน หรือใน decompensated shock ควรให้ IV fluid ไม่เกิน 40 mL/kg ในชั่วโมงแรก
- Hemodynamic monitoring ได้แก่ HR, RR, pulse oximetry, BP, และแนะนำให้ทำ advanced hemodynamic monitoring ได้แก่ CO/CI, SVR, ScvO2 เพื่อช่วยแยก warm และ cold shock
- Vasoactive therapy ให้ในรายที่เป็น fluid-refractory shock ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากเริ่มรักษา
- Hypotensive cold shock แนะนำให้ epinephrine 0.05-1 mcg/kg/min upto 1.5 mcg/kg/min เป็นตัวเลือกแรก หรือให้ dopamine
- Normotensive cold shock แนะนำให้ low-dose epinephrine 0.03-0.05 mcg/kg/min ในรายที่ยังไม่ตอบสนองแนะนำให้ vasodilatory agents เช่น dobutamine หรือ milrinone
- Hypotensive warm shock แนะนำให้ norepinephrine 0.03-0.05 mcg/kg/min
- Corticosteroids อาจให้ hydrocortisone 50-100 mg/m2/d หรือ 2-4 mg/kg/d (max 200 mg) ใน persist shock หลังจากให้ fluid therapy + vasoactive infusion หรือในรายที่เสี่ยงต่อ adrenal insufficiency (purpura fulminans, recent/chronic corticosteroid Tx, hypothalamic/pituitary disease, adrenal insufficiency)
- ใน catecholamine-resistant shock ให้คิดถึงสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น pneumothorax, pericardial effusion, intraabdominal hypertension, ongoing blood loss
- รักษาภาวะ hypoglycaemia และ hypocalcemia
- Hypoglycaemia ให้ 10%DW 2.5 mL/kg then drip 6-9 mg/kg/min titrate keep 70-150 mg/dL (แนะนำให้ 10%DW maintenance ใน normoglycemic young children เพื่อป้องกัน hypoglycaemia ด้วย)
- Hypocalcemia รักษาในรายที่ iCa < 1.1 mmol/L หรือ symptomatic hypocalcemia (prolonged QT, arrhythmia, positive Chvostek/Trousseau signs, seizures) ให้ 10% Calcium gluconate 0.5-1 mL/kg (upto 20 mL) IV/IO over 5 min
Therapeutic endpoints ภายใน 6 ชั่วโมงของการรักษา
ได้แก่
- Central และ peripheral pulse แรงดีและเท่ากัน
- Skin อุ่น, capillary refill < 2 s
- Mental status ปกติ
- Urine output > 1
mL/kg/h (upto 40 mL/h)
- BP มากกว่า 5th percentile สำหรับอายุ
- Serum lactate < 2 mmol/L
- ScvO2 >
70% (ไม่จำเป็นต้องทำ invasive
monitoring ถ้าตอบสนองต่อการรักษาดี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น