Trauma: Initial assessment and management
ประกอบด้วยองค์ประกอบ
9 อย่าง
|
Preparation:
- ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ prehospital phase
(EMS ประสานกับโรงพยาบาลปลายทาง ประมาณเวลาที่จะไปถึง) และ hospital phase (เตรียมความพร้อมให้การ
resuscitation เป็นไปด้วยความรวดเร็ว)
- Hospital phase (ดูเรื่อง trauma team management)
- เตรียมพื้นที่ (resuscitation area)
- เตรียมอุปกรณ์ (airway, warmed IV crystalloid, monitoring device)
- เตรียมทีม (รวมถึง เจ้าหน้าที่ lab, รังสี): trauma leader แนะนำตัวเอง, แบ่งหน้าที่ให้ลูกทีมตามความสามารถ, ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทีมทำ universal precaution, รับข้อมูลโดยตรงจาก prehospital provider [แนะ แบ่ง ป้อง รับ]
Triage
- Field triage เป็นเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยไป trauma
center ดังนี้
- V/S, LOC: GCS < 13, SBP < 90, RR < 10/> 29 (< 20 ใน < 1 y) หรือต้องการ ventilator support
- Injury: open/depressed skull fracture, chest wall instability/deformity, pelvic fracture, paralysis, penetrating injury (head, neck, torso, proximal extremities), > 2 proximal long-bone fracture, amputation proximal to wrist/ankle, crushed/degloved/mangled/pulseless extremities
- Mechanism: ตกสูง > 6 เมตร (> 3 เมตรหรือ 2-3x ความสูงในเด็ก) รถบุบเข้าใน 45 ซม. (30 ซม.ในฝั่งที่นั่ง) กระเด็กจากรถ ผู้โดยสารตาย คนเดินถนน/จักรยานโดนชน หรือรถจักรยานยนต์ชนกัน > 32 km/h
- Special groups: อายุ > 55, เด็ก, coagulopathy, burn, pregnancy > 20 wks, EMS provider judgment
- Multiple-casualty incidents: คัดแยกในที่มีทรัพยากรเพียงพอ ให้ทำการดูแลรักษาผู้ป่วยที่อาการหนักที่สุดก่อน
- Mass casualties events: คัดแยกเมื่อผู้ป่วยมีจำนวนมากกว่าทรัพยากร จะดูแลผู้ป่วยอาการหนักที่มีโอกาสรอดมากที่สุด ที่ใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุดก่อน (ดู PHTLS situation assessment)
Primary survey with simultaneous resuscitation
คือ
การหา life-threatening
conditions เรียงไปตามลำดับขั้นตอน (ในชีวิตจริงขั้นต่างๆทำไปพร้อมๆกัน ดูเรื่อง teamwork) ดังนี้
|
Airway maintenance with restriction
of cervical spine motion
การประเมินดู 2 อย่าง คือ
- ดูว่า air patency หรือไม่ (ดู FB และ signs ของ airway obstruction)
- ดูว่ามีโอกาส progressive airway loss หรือไม่ (injury ที่ face, neck, larynx; GCS < 8 หรือมี non-purposeful motor response)
ร่วมกับทำ restricting cervical spine motion
|
Airway Mx
- High-flow O2 + in-line immobilization (on cervical collar); monitor pulse oximetry
- ในรายที่มี signs ของ UAO ให้ทำ airway maintenance technique
- Open airway (chin-lift, jaw-thrust maneuver)
- Clear airway (suctioning +/- log-roll)
- Maintain airway (oropharyngeal airway, nasopharyngeal airway)
- ข้อบ่งชี้ในการทำ definitive airway ได้แก่
- A- ไม่สามารถ maintain patent airway (ด้วยวิธีอื่น),
หรือ potential airway compromise (เช่น inhalation injury, facial fracture,
retropharyngeal hematoma)
- B- ไม่สามารถ maintain adequate oxygenation (ด้วย O2 mask) หรือ ventilation (apnea)
- C- cerebral hypoperfusion (ซึม ไม่ร่วมมือ)
- D- GCS < 8, active seizure, protect airway จาก aspiration (blood, vomitus)
- ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวให้ประเมินว่า difficult intubation หรือไม่ (LEMON)
- ถ้าคิดว่า difficult ให้หาคนช่วย พิจารณาทำ awake intubation
- ถ้าไม่ difficult ให้ทำ drug-assisted intubation +/- cricoid pressure
- ถ้า intubation ไม่สำเร็จ พิจารณา adjuncts เช่น GEB, LMA, LTA; ถ้ายังไม่สำเร็จควรทำ cricothyroidotomy
- ดูเรื่องการถอด helmet โดยใช้ two-person procedure ส่วนในคนที่รู้ว่ามี c-spine injury ให้ใช้ cast cutter ตัด helmet เพื่อให้ c-spine motion น้อยที่สุด
Breathing and ventilation
- หา life-threatening injury ได้แก่ tension pneumothorax, open pneumothorax, massive hemothorax, tracheal/bronchial injuries
|
Breathing Mx:
- High-flow O2 + monitor pulse oximetry; BVM, ETT (ดูข้อบ่งชี้ด้านบน)
- Tension
pneumothorax: ทำ needle
decompression (ผู้ใหญ่ใช้ over-the-needle
catheter at 4th-5th ICS anterior to midaxillary line ยาว 8 ซม.หรือ
5 ซม.ในคนตัวเล็ก; เด็กแทงตำแหน่ง 2nd ICS midclavicular line)
หรือถ้าไม่สำเร็จให้ทำ
finger
thoracostomy แล้วจึงใส่ ICD
(28-32 F)
- Open pneumothorax: ทำ 3-side dressing แล้วใส่ ICD พยายามให้ห่างจากแผลเท่าที่เป็นไปได้
- Massive
hemothorax: ใส่
ICD
(28-32 Fr) ที่ 5th ICS anterior to midaxillary
line; ให้ IV
fluid resuscitation + pRBC; อาจเก็บเลือดจาก
ICD
เพื่อทำ autotranfusion;
ถ้าเลือดออก >
1,500 mL (30% ของ total blood volume) หรือ 200
mL/h x 2-4 ชั่วโมง หรือต้องการ blood transfusion อย่างต่อเนื่อง
หรือเป็น penetrating injury ที่ตำแหน่ง medial ต่อ nipple line หรือ
scapula
(mediastinal “box”) อาจมีการบาดเจ็บต่อ great vessels,
heart, หรือ hilar structure ให้พิจารณาทำ thoracotomy
(qualified surgeon)
- Tracheobronchial tree injury (hemoptysis, cervical SQ emphysema, tension pneumothorax, cyanosis): อาจต้องใส่ ICD > 1 อันเพราะมี air leak มาก; อาจต้องทำ fiber-optically assisted ETT ใส่ผ่านจุด injury หรือ one-lung intubation ในกลุ่มนี้ (unstable) ต้องทำ immediate operative intervention
CXR
interpretation (DRSABCDE)
|
Circulation with hemorrhage control (ดูเรื่อง traumatic shock)
|
Circulation
Mx:
Stop
bleeding
- External haemorrhage: การทำ wound packing ดังนี้
- Expose แผล ใช้ gauze pad เช็ดเลือด หาตำแหน่งที่เลือดออก
- ทำ direct manual pressure โดยใช้ gauze pads วางเป็นชั้นๆกดไว้ 5-10 นาที (ถ้าเป็น hemostatic gauze กดไว้ 3 นาที) ถ้าเลือดหยุดให้ทำ pressure dressing โดยพันด้วย roll gauze, EB, หรือ self-adhering wrap
- ถ้าเป็น arterial bleeding ให้ทำ manual pressure ในตำแหน่งของ
artery
ที่เหนือต่อบริเวณที่บาดเจ็บ
- ถ้าเลือดไม่หยุดและแผลเป็นโพรง ให้ใช้ gauze ใส่ถึงก้นแผลจนแน่นแล้วกดไว้ 3 นาที
- ถ้าเลือดไม่หยุดให้ทำ tourniquet (windlass device หรือ pneumatic tourniquet ซึ่งอาจต้องขึ้น pressure ถึง 250 mmHg ที่แขนและ 400 mmHg ที่ขา) ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้ทำ tourniquet อันที่สองเหนือต่ออันแรก
- Internal hemorrhage (chest, abdomen, pelvis, retroperitoneum, long bone, soft tissue): chest decompression, pelvic stabilizing device, extremity splint; consult surgeon หรือ transfer
แยกว่าเป็น Hemorrhagic หรือ Non-hemorrhagic shock (injury
เหนือ diaphragm; CXR, eFAST)
โดยคิดถึง Hemorrhagic shock ก่อนเสมอ
Physiologic
classification:
ใช้ประเมินในการเริ่มให้ IVF ครั้งแรก; blood volume ประมาณ 7%
ในผู้ใหญ่ (ประมาณ 5 ลิตรในคนน้ำหนัก
70 kg) และประมาณ 8-9% ในเด็ก
คนอ้วนต้องคิดจาก IBW
|
- Vascular
access: เปิด IV เบอร์โต (อย่างน้อย 18-guage) x 2 เส้น ตำแหน่งที่แนะนำคือ forearms และ antecubital veins; ถ้าเปิด peripheral
vein ไม่ได้ให้ทำ
Intraosseous
insertion (IO
ใช้ชั่วคราว), CVC,
หรือ venous
cutdown; blood samples (baseline Hb, pregnancy
test, G/M, blood gas, lactate),
- Fluid therapy: warmed isotonic
fluid (39oC) เริ่มจาก
1
L ในผู้ใหญ่ หรือ 20
mL/kg ในเด็ก < 40 kg (ให้รวมที่ได้จาก prehospital ด้วย) (เก็บใน warm
storage 37-40oC หรือให้ผ่าน fluid warming
device) แล้วประเมินว่า response หรือไม่
- Controlled
resuscitation พยายามรักษา organ
perfusion, tissue oxygenation, และหลีกเลี่ยง
rebleeding โดยให้ได้ lower-than-normal
BP
- Blood replacement: ใน class III และ IV haemorrhage ให้พิจารณาตาม blood product มาให้ตั้งแต่แรก รวมถึงในกลุ่ม transient หรือ non-response; ให้ low ratio ของ pRBC, plasma, platelet (1:1:1); activated massive transfusion protocol ถ้าต้องใช้ PRC > 10/24ชม. หรือ > 4 unit/1ชม.
Patterns
of patient response
|
- Tranexamic acid ให้ภายใน 3 ชั่วโมง ขนาด 1 gm IV > 10 min then 1 gm IV > 8 h
- แก้ไข coagulopathy ซักประวัติ antiplatelet และ anticoagulant ให้ reversal agent ทันที ตรวจ PT, aPTT, platelet count, และอาจตรวจ thromboelastography
(TEG) หรือ rotational thromboelastometry (ROTEM); ในรายที่ไม่ต้องการ
massive
transfusion ให้ platelets, cryoprecipitate, FFP ตาม coagulation studies
- ทำ neurological evaluation อย่างรวดเร็ว ได้แก่ GCS, pupil size/reactivity, lateralizing sign, และมี spinal cord injury level หรือไม่
|
- ในรายที่ altered LOC ต้องกลับไปประเมิน ABC ก่อน ในรายที่ผิดปกติต้องคิดถึง CNS injury ก่อน แม้ว่าจะมี alcohol, drug intoxication ร่วมด้วย
- ในรายที่ GCS < 8 ให้พิจารณาทำ definitive airway ในช่วงนี้
- Consult neurosurgeon เมื่อพบว่ามี brain injury และต้องคอยประเมินซ้ำๆอยู่เสมอ ในที่ที่เกินศักยภาพในการรักษาต้องจัดการ transfer ทันที
Exposure and
environmental
- Undress ปกติมักจะตัดเสื้อผ้าออก หลังจากตรวจให้รีบคลุมด้วยผ้าห่มอุ่นเพื่อป้องกัน hypothermia รวมถึงการใช้ warm IV (39oC) และ warm environment
- Log roll ถ้ามี fracture ที่ extremities ให้ splint ก่อนและ roll ให้ด้านที่มี fracture site ขึ้นบน โดยใช้คนอย่างน้อย 4 คน ได้แก่ 1 คนทำ head + c-spine control, 2 คน พลิกลำตัวและแขนขา และ 1 คนตรวจหลัง + PR และเอา spinal board ออก และอาจใส่ถาดสำหรับฟิล์ม CXR และ pelvis ในช่วงนี้
- บางท่านเชื่อว่าการ log roll นั้นอาจจะไม่มีประโยชน์ใน blunt trauma (โดยเฉพาะถ้าต้องไปทำ CT อยู่แล้ว) และยังอาจเกิดอันตรายในคนที่อาจจะมี spine หรือ pelvic injuries
- Rectal exam ขณะ log roll นั้นไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์มากกว่าการตรวจร่างกายปกติ (GI bleeding, urethral disruption, spinal cord injury)
Traumatic
circulatory arrest:
|
Adjuncts to the primary survey with
resuscitation
ทำระหว่างหรือหลังจากทำ primary
survey และประเมินซ้ำเป็นระยะๆ
ได้แก่ ECG
monitoring, pulse oximetry, CO2 monitoring, RR monitoring, ABG,
urinary catheter, gastric catheter; lactate, x-ray (เช่น CXR, pelvis x-ray), FAST, eFAST, DPL
- ECG monitoring หลายภาวะทำให้เกิดความผิดปกติได้ เช่น blunt cardiac injury (unexplained tachycardia, atrial fibrillation, PVC, ST segment change), obstructive shock หรือ profound hypovolumia (PEA), hypoxia/hypoperfusion (bradycardia, aberrant conduction, premature beats), hypothermia เป็นต้น
- Pulse
oximetry ติดตาม oxygenation และควรเปรียบเทียบค่า HbO กับ PaO2
จาก ABG
- Ventilatory
rate, capnography, ABG: ประเมิน ventilation และ ETCO2 ใช้ยืนยัน intubation และควบคุม ventilation ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม; ABG ใช้ประเมิน
acid-base
condition ถ้า low pH หรือ base excess
level แสดงว่าอยู่ในภาวะ shock
- Urinary
catheter ส่ง
UA
เป็น routine และดู urine output เพื่อติดตาม volume status; ตรวจ perineum และ
genitalia
ก่อนว่ามีข้อห้ามในการใส่ catheter
หรือไม่ (blood per meatus, perineum ecchymosis) ถ้าสงสัย urethral injury ให้ทำ retrograde
urethrogram; ในรายที่ใส่ไม่ได้ (urethral stricture, BPH) ให้ consult urologist
- Gastric
catheter + suction เพื่อ decompress stomach distention, ลดความเสี่ยงต่อ aspiration, และดูว่ามี UGIH หรือไม่;
ถ้าสงสัย cribriform plate fracture
ให้ใส่เป็น
OG
tube; การใส่ gastric tube อาจกระตุ้นให้อาเจียน
ให้เตรียม suction พร้อมใช้งานและเตรียมพร้อมที่จะ logroll
- X-ray ที่จะให้ข้อมูลสำคัญ ไดแก่ AP CXR และ AP pelvis film แต่ต้องไม่ขัดขวางการ resuscitation และการ transfer ล่าช้า; สามารถทำได้แม้ในคนตั้งครรภ์
- FAST,
eFAST, DPL: เพื่อวินิจฉัย
intraabdominal
blood, pneumothorax, hemothorax; DPL ควรปรึกษาศัลยแพทย์ อาจทำยากใน pregnancy, prior
laparotomy, obesity; ในรายที่มี intraabdominal blood และ hemodynamic instability แสดงว่าต้องการ surgical intervention ในรายที่ hemodynamic stable ให้ consult
surgeon
Consider need for transfer
(ดูเรื่อง transfer to definitive care)
- ระหว่างทำ primary survey จะได้ข้อมูลเพียงพอที่ trauma tam leader จะตัดสินใจว่าต้อง transfer หรือไม่ ซึ่งให้ administrative
personnel เริ่มดำเนินการในทันที
- ไม่ควรทำ
diagnostic evaluation ที่ทำให้การ
transfer
ล่าช้า ยกเว้นจะมีผลต่อการ resuscitation,
stabilization, และ patient
safety ระหว่าง transfer
Special populations
ได้แก่ เด็ก คนตั้งครรภ์
คนสูงอายุ คนอ้วน นักกีฬา จะมีการตอบสนองทางสรีรวิทยาหรือมีกายวิภาคแตกต่างไปจากคนทั่วไปซึ่งต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
- เด็ก (ดูเรื่อง pediatric trauma): รูปแบบการบาดเจ็บต่างจากผู้ใหญ่; ต้องปรับขนาดยา สารน้ำ เลือดตามขนาดตัว; เกิด hypothermia ง่าย; มี physiologic reserve มาก จึงแสดง signs ของ hypovolemia ช้า
- คนตั้งครรภ์ (ดูเรื่อง pregnancy trauma): รีบวินิจฉัยโดยการตรวจ
uterus และ β-HCG; ทำ early fetal
assessment
- คนสูงอายุ (ดูเรื่อง geriatric trauma): มี physiologic
reserve น้อย มีโรคร่วมมาก
และใช้ยาหลายชนิดที่ส่งผลต่อ physiologic response ต่อการบาดเจ็บ
- คนอ้วน: การทำ procedure (เช่น intubation) หรือ diagnostic test (FAST, DPL, CT) ยากกว่า และอาจมี cardiopulmonary disease เดิม ส่งผลต่อการ compensate ต่อการบาดเจ็บมีจำกัด
- นักกีฬา: อาจมี low systolic และ diastolic เป็นปกติ
อาจไม่เกิด tachypnea
หรือ tachycardia ในภาวะ shock
Secondary survey
- โดยปกติจะไม่เริ่ม secondary survey จนกว่า primary survey จะเสร็จสิ้น ยกเว้นจะมีบุคคลากรเพิ่มเติม
แต่ต้องไม่รบกวนการทำ primary survey
- ประกอบด้วยการทำ head-to-toe evaluation (complete history + physical examination) รวมถึงการประเมิน V/S ใหม่ทั้งหมด
ซักประวัติ:
- AMPLE (Allergy, Medication, Past illness,
Last meal, Event & Environment), Preinjury status
- Mechanism of injury
- Blunt: มักเกิดจากอุบัติเหตุจราจร
ตกจากที่สูง หรือการทำร้ายกัน คำถามเกี่ยวกับรถชน เช่น ตำแหน่งภายในรถ? ใส่เข็มขัดนิรภัย 3 จุด? พวงมาลัยผิดรูป? ถุงลมนิรภัยทำงาน? ทิศทางที่ถูกชน? รถเสียหาย/ภายในบุบ? กระเด็นออกจากรถ?
- Penetration: โดนส่วนใด? วิถีของวัตถุ? ความเร็วกระสุน? ระยะห่างไกลแค่ไหน?
- Thermal
injury (ดูเรื่อง thermal injury): อาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บอื่นๆ
เช่น ไฟไหม้รถ ระเบิด การพยายามหนีออกจากที่เกิดเหตุ ให้ระวังภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ inhalation
injury และ CO poisoning
- Hazard environment: ประวัติการสัมผัส chemical, toxin, หรือ radiation เพราะส่งผลต่อ cardiac, pulmonary, และ internal organ dysfunction และยังเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
- Head:
- ตรวจ head และ scalp ทั้งหมด มี laceration, contusion, fracture หรือไม่
- Eye (ดูเรื่อง ocular trauma) รีบตรวจก่อน edema (ยกศีรษะสูงช่วยลดบวม), ตรวจ VA, pupil, IOP, anterior exam (periorbital,
EOM, lids, conjunctiva, sclera, cornea, anterior chamber, lens), และ
posterior exam (red reflex, retina)
- อาจตรวจ cranial nerve ในขั้นตอนนี้ได้เลย
- Maxillofacial
structures (ดูเรื่อง
maxillofacial injuries) คลำ bony
structure ทั้งหมด, ประเมิน
occlusion, ตรวจ ear/nose/throat;
ถ้าไม่มี airway involvement การ delayed definitive treatment ไม่ทำให้ผลลัพธ์แย่ลง
- Neck (ดูเรื่อง neck injuries): ในคนที่รู้สึกตัวดีอาจ screen โดยให้ ไอ (มี hemoptysis?), กลืนน้ำลาย (มี dysphagia จาก esophageal injury?), พูด (ประเมิน laryngeal fracture)
- สงสัย
cervical
spine injury ทุกรายที่มี head,
maxillofacial trauma ให้ immobilization
ไว้เสมอ และทำ film หรือ CT
c-spine ในรายที่เข้าเกณฑ์ NEXUS หรือ CCR
- ดู (seatbelt mark, hematoma); คลำ (c-spine tenderness, SQ emphysema, tracheal deviation, laryngeal fracture, carotid bruit); ฟัง (carotid bruit, stridor, dysphonia) หาการบาดเจ็บของ vascular, laryngotracheal, และ pharyngoesophageal injury
Canadian
Cervical Spine Rule (CCR) ให้พิจารณาเป็น 3 ขั้นตอน
NEXUS criteria ได้แก่ no
midline tenderness, normal LOC, no intoxication, no neurological deficit, no
painful distraction
|
- Chest (ดูเรื่อง thoracic injuries): ดู-ฟัง-เคาะ-คลำ หา potential life-threatening injuries 8 ชนิด ได้แก่ simple pneumothorax, hemothorax, flail chest, pulmonary contusion, blunt cardiac injury, traumatic aortic disruption, traumatic diaphragmatic injury, blunt esophageal rupture; และการบาดเจ็บอื่นๆ ได้แก่ SQ emphysema, traumatic asphyxia, sternal/scapula fracture, rib fracture
- Abdomen
(ดูเรื่อง abdominal injuries): ดู-ฟัง-เคาะ-คลำ สิ่งสำคัญคือการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บที่ต้องทำ operative
intervention หรือไม่ มากกว่า specific diagnosis; ต้องสังเกตอาการและประเมินซ้ำโดยแพทย์คนเดิม; consult surgeon ตั้งแต่ในระยะแรก; ในรายที่มี unexplained hypotension,
neurological injury, impaired sensorium (alcohol, drug), หรือ equivocal
abdominal sign ให้ทำ DPL, abdominal US หรือถ้าอาการคงที่ให้ทำ
CT abdomen
- Pelvic
(ดูเรื่อง abdominal injuries): สงสัย pelvic fracture ถ้ามี ecchymosis ที่ iliac wing, pubic,
labia, scrotum, มี signs ของ ruptured
urethra, limb length discrepancy, rotational deformity of leg without obvious
fracture, หรือกดเจ็บที่ pelvic
ring ในคนที่ตื่นดี (ไม่ทำ pelvic distraction)
- Perineum,
rectum, vagina: ตรวจ perineum (contusion, laceration, hematoma, urethral
bleeding), rectal exam (blood, rectal wall integrity, sphincter tone), vaginal
exam ในรายที่มีความเสี่ยง (blood,
laceration); ตรวจ pregnancy test ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกราย
- Musculoskeletal (ดูเรื่อง musculoskeletal injuries): ดู-คลำ-ขยับ-neurovascular; ประเมิน skin, neuromuscular, circulatory, และ skeletal/ligament
- Neurological
system (ดูเรื่อง
head injuries) ตรวจ comprehensive
neurological exam รวมถึงตรวจ GCS,
pupil ใหม่;
ในรายที่มี head injury ให้ consult neurosurgeon ตั้งแต่ในระยะแรก; คอย monitor
LOC และ neuro exam; ในรายที่อาการแย่ลงต้องประเมิน
ABCDEs ใหม่
Adjuncts
to the secondary survey
- ได้แก่ x-ray spine/extremities, CT head/chest/abdomen/spine, contrast urography, angiography, transesophageal US, bronchoscopy, esophagoscopy, และอื่นๆ
- + ยา 3 อย่าง ได้แก่ antibiotic, analgesic, tetanus prophylaxis
- การตรวจพิเศษมักต้องไปทำนอก ER
ซึ่งขาดเครื่องมือในการช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นก่อนส่งตรวจพิเศษ
ต้องตรวจผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง และ hemodynamic status อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมถึงมีการ monitoring
ระหว่างการไปตรวจพิเศษ
Revaluation
- ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง บางครั้งหลังจากรักษา life-threatening injury หนึ่งแล้ว ปัญหา life-threatening อื่นหรือการบาดเจ็บที่รุนแรงน้อยกว่าอาจจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
- Continuous
monitoring ของ vital
signs, oxygen saturation, urine output (keep > 0.5 mL/kg/h; > 1 mL/kg/h ในเด็ก > 1 ปี), +/- ETCO2 monitoring ซึ่งอาจมีประโยชน์ในบางราย และตรวจ ABG เป็นระยะๆ
- บรรเทา severe pain โดยเฉพาะใน musculoskeletal injuries ให้ IV opioid + anxiolytic ให้ในขนาดต่ำๆ titrate จนเหมาะสม โดยไม่ทำให้เกิด respiratory หรือ mental depression หรือ hemodynamic เปลี่ยนแปลง
Definitive
care
- แพทย์ใช้
ACS
COTs Resources for Optimal Care of the Injured Patient, 2014 เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการส่งตัวผู้ป่วยไป trauma
center (ดูเรื่อง transfer
to definitive care)
- เกณฑ์ในการส่งตัวผู้ป่วยจาก trauma
center level III ไปยัง level I หรือ II
ACS COTs Resourced for Optimal Care of the Injured Patient, 2014 |
ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- Records: ควรมีจดบันทึกอย่างละเอียดและถูกต้อง โดยทั่วไปมักจะมอบหมายหน้าที่ให้สมาชิกคนหนึ่งในทีมทำการจดบันทึกเวลาและเหตุการณ์ต่างๆ
- Consent to treatment: โดยทั่วไปต้องขอคำยินยอมก่อนทำการรักษา ยกเว้นในกรณีเร่งด่วนถึงแก่ชีวิต ให้รักษาก่อนจึงขอคำยินยอมเป็นทางการในภายหลัง
- Forensic
evidence: ถ้าสงสัยว่าการบาดเจ็บของผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับคดีอาญา
วัตถุพยาน
เช่น เสื้อผ้า กระสุน ต้องเก็บโดยผู้บังคับใช้กฎหมาย การตรวจหา blood
alcohol หรือ drug มีผลโดยตรงทางกฎหมาย
- ควรมี trauma team ปกติจะประกอบด้วย team leader, airway
management, trauma nurse, trauma technician โดยที่ team leader และ airway management ต้องมีความรู้เรื่อง
ATLS
- Team
leader เตรียมการก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึง
แบ่งบทบาทและหน้าที่ให้สมาชิกทีม ดูแลการส่งต่อผู้ป่วยให้เป็นไปอย่างราบรื่น มีหน้าที่คอยควบคุม ตรวจสอบ และกำกับการประเมินผู้ป่วย
โดยไม่ลงมาตรวจผู้ป่วยเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่อาวุโสที่สุด แต่ต้องมีความรู้ ATLS
และ basic team management
- ตัวอย่างการแบ่งหน้าที่
เช่น 1)
ประเมินและดูแล airway; 2) undress ผู้ป่วย;
3) ติด monitoring; 4) เปิด IV เจาะเลือด; 5) recorder
- ระหว่างการประเมิน ABC เมื่อประเมินพบอะไร หรือทำอะไรให้พูดออกมา การขอหรือการสั่งต้องไม่พูดลอยๆแต่ต้องระบุชื่อ คนที่ถูกมอบหมายให้ทำต้องทวนคำสั่ง และเมื่อทำสำเร็จแล้วให้แจ้งออกมา
- Team
leader ตรวจสอบความคืบหน้า
คอยสรุป finding
และ condition ล่าสุดเป็นระยะ ตันสินใจการ consultation,
สั่งให้ตรวจเพิ่ม, และการ transfer
- สมาชิกให้ความสนใจและทำตามที่ team
leader สั่ง สมาชิดออกข้อคิดเห็นได้ ถามคำถาม หรือแนะนำได้
- เมื่อผู้ป่วยออกจาก ER แล้ว team leader นำ “After action” session ทั้งทาง technical และ emotional aspect และหาจุดในการพัฒนาของทีม
Ref: Tintinalli ed8th, ATLS ed10th
Damage control resuscitation ใน case trauma ที่สงสัย massive hemorrhage (> 150 ml/min หรือ unstable) (ถ้าใช้ permissive strategy จะมีเป้าหมายให้ SBP อยู่ระหว่าง 80-100 mmHg)
ตอบลบแนะนำให้ transnexamic acid 1 g IV > 10 min
เมื่อพิจารณาให้ blood transfusion ให้ PRC: FFP: platelet ในอัตราส่วน 4:4:1 หลังจากให้ PRC ทุก 4 unit ให้ตรวจเลือดซ้ำ
keep
Hb > 8
Platelet 75,000/L
PT ratio < 1.5
aPTT ratio < 1.5
fibrinogen > 1.5 g/L
ionized Ca 1 mmol/L
pH > 7.35
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบขอบคุณมากๆค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากๆๆคะ
ตอบลบthank you so much
ตอบลบ