วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Pediatric trauma

Pediatric trauma

ดูเรื่อง approach to pediatric emergencies

Patterns of injury
  • เดินถนนโดนรถชน:
    • Low speed -> leg fracture
    • High speed -> multiple trauma, head/neck injuries, leg fracture
  • โดยสารรถยนต์:
    • Restrained -> chest + abdominal injuries, low spine fracture
    • Unrestrained -> multiple trauma, head/neck injuries, scalp/facial laceration
  • ตกจากที่สูง:
    • Low -> upper limb fracture
    • Middle -> head/neck injuries, upper + lower limb fracture
    • High -> multiple trauma, head/neck injuries, upper + lower limb fracture
  • ตกจากรถจักรยาน:
    • Striking handlebar -> internal organ injuries
    • With helmet -> upper limb fracture
    • Without helmet -> head/neck lacerations, scalp/facial laceration, upper limb fracture


ลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยเด็ก
  • เด็กมีขนาดตัวเล็ก เมื่อโดนกระแทก เมื่อเทียบต่อพื้นที่จึงถูกกระทำด้วยแรงที่มากกว่า ร่างกายเด็กมี fat และ connective tissue น้อยกว่า และอวัยวะต่างๆอยู่ใกล้กันมากกว่า เมื่อแรงกระจายไปจึงเกิดการบาดเจ็บหลายอวัยวะมากกว่าผู้ใหญ่
  • สัดส่วนของหัวในเด็กโตกว่าผู้ใหญ่ จึงเกิด brain injury ได้มากกว่า
  • พื้นที่ผิวมากเมื่อเทียบกับ body mass ทำให้เสียความร้อนมากกว่า มีโอกาสเกิด hypothermia เร็วกว่า
  • กระดูกยืดหยุ่นกว่า และ calcified ไม่หมด โอกาสเกิด fracture น้อยกว่า สามารถมี internal organ injury ได้โดยไม่มี fracture (brain injury, pulmonary contusion)
  • เมื่อได้รับอุบัติเหตุ ความเครียด ความเจ็บปวด อาจทำเด็กเล็กมีอารมณ์ไม่คงที่ เกิดพฤติกรรมถดถอย เด็กมีข้อจำกัดในการสื่อสารกับคนที่ไม่คุ้นเคยและยิ่งในสถานการณ์ที่เด็กกำลังเจ็บ แพทย์ควรปลอมประโลม บรรเทาปวด และให้พ่อแม่อยู่ด้วยเพื่อช่วยให้เด็กลดความกลัวและวิตกกังวล
  • อุบัติเหตุรุนแรงพบว่าส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมากเป็นเวลานานหลายปี เช่น personality change, cognitive/physical handicaps, social/affective/learning disabilities
  • ผลต่อ bony development เช่น ขายาวไม่เท่ากัน (femur growth center), scoliosis/kyphosis/gibbus deformity (thoracic vertebra growth center);ผลต่อ solid organ เช่น splenectomy (เสี่ยงต่อ sepsis)
  • Ionized radiation เพิ่มความเสี่ยงต่อ malignancy
  • ปัญหาเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับเด็ก การใช้ length-based resuscitation tape (Broselow tape) เพื่อเลือกขนาดยาและขนาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับน้ำหนักของเด็ก


Airway
Anatomy
  • เด็กมีขนาดศีรษะโต และ occiput มีขนาดใหญ่ ทำให้เวลาเมื่อเวลานอนราบแล้ว posterior pharynx จะไปกด anterior pharynx ให้รองผ้าสูง 1 นิ้วใต้ลำตัวเพื่อให้ midface ขนานกับ spinal board และ spinal column อยู่ใน neutral alignment
  • Soft tissue ในปากมีขนาดใหญ่ (tonsil, tongue) เมื่อเทียบกับขนาด oral cavity; larynx เป็นรูป funnel shape ทำให้ secretion ไปคั่งอยู่ที่ retropharyngeal area; larynx และ vocal cord อยู่ cephalad + anterior ทำให้เห็นยาก ให้จัดท่าเป็น neutral position
  • Trachea สั้น (infant 5 cm) ทำให้เสี่ยงต่อ right mainstem intubation ได้ ให้คำนวณความลึก = 3 x tube size

Management
  • จัดท่าให้ midface ขนานกับเตียง ทำ jaw-thrust + bimanual inline immobilization + clear secretion + ให้ oxygen; ถ้า unconscious ให้ maintain airway ด้วย mechanical method หลังให้ preoxygenation
  • Oral airway ใส่เฉพาะในรายที่ unconscious โดยใช้ tongue blade technique
  • Orotracheal intubation ใส่ในรายที่ต้อง maintain airway, ventilator support (severe brain injury, ventilator failure, significant hypovolemia with depressed sensorium/operative intervention); ปัจจุบันแนะนำให้ใช้ cuffed ETT เพราะ ventilation ดีกว่า โดย monitor cuff pressure < 30 mmHg; ประมาณ ETT size ได้จากขนาดรูจมูก หรือปลายนิ้วที่เล็กที่สุด หรือใช้ length-based pediatric resuscitation tapes
  • Drug-assisted intubation (RSI):
    • Preoxygenation
    • Pretreatment: atropine 0.1-0.5 mg (ฉพาะใน infant)
    • Induction: ถ้า hypovolemia ให้ etomidate 0.1 mg/kg หรือ midazolam 0.1 mg/kg; หรือถ้า euvolumia ให้ etomidate 0.3 mg/kg หรือ midazolam 0.1 mg/kg)
    • Paralysis: succinylcholine 1 mg/kg (2 mg/kg ถ้า < 10 kg), vecuronium 0.1 mg/kg, rocuronium 0.6 mg/kg)
    • Intubation
    • Post-intubation: check position
  • ให้ฟัง breath sound เป็นระยะเพื่อตรวจสอบตำแหน่ง tube
  • ถ้าไม่แน่ใจตำแหน่ง tube และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ให้ remove tube และใส่ใหม่ (คิดถึง DOPE)
  • Cricothyroidotomy เป็น rescue airway เช่นเดียวกับ LMA ทำโดยใช้ needle-jet insufflation; ไม่ทำ surgical cricothyroidotomy ในเด็ก < 12 ปี


Breathing
  • RR ใน infant 30-40/min, older child 15-20/min; TV 4-6 mL/kg (แต่การ assist ventilation จะให้ TV 6-8 mL/kg -10 mL/kg)
  • แนะนำให้ใช้ pediatric BVM ในเด็ก < 30 kg; การใช้ adult BVM เสี่ยงจะเกิด barotrauma
  • Acid-base abnormality ที่พบบ่อยระหว่าง resuscitation คือ respiratory acidosis (hypoventilation) ถ้าให้ bicarbonate จะทำให้อาการแย่ลง
  • Needle/tube thoracostomy: needle ใช้ 14-, 18-guage over-the-needle catheter แทงที่ 2nd ICS (เหนือต่อ 3rd rib); tube เลือกขนาดประมาณ ETT size x 4 (หรือใช้ length-based pediatric resuscitation tapes)


Circulation and shock
  • Systemic response ต่อ blood loss ในเด็ก จะตอบสนองช้ากว่าในผู้ใหญ่ ต้องเสีย blood 30% ถึงเริ่มมี SBP ลดลง มีแค่ tachycardia และ poor skin perfusion ที่มีตั้งแต่แรก แบ่งเป็น
    • Mild < 30% : normal BP (80-90 + อายุ  x 2), normal PP, tachycardia, weak peripheral pulse; anxious; cool, mottled skin, prolonged capillary refill; low UO
    • Moderate 30-45%: low normal BP (70-80 + อายุ  x 2 ), narrowed PP, marked tachycardia, absent peripheral pulse; dulled response to pain; cyanotic skin
    • Severe > 45%: hypotension (< 70 + อายุ  x 2), narrowed PP (หรือ undetected DBP), tachycardia then bradycardia, very weak/absent central pulse; comatose; pale/cool skin; no UO
  • Urine output: Low normal = infant < 2 mL/kg/h, young child < 1.5 mL/kg/h, older child < 1 mL/kg/h, adolescent < 0.5 mL/kg/h
  • Estimate BW ดีสุดคือถามคนเลี้ยง รองมาคือ length-base resuscitation tape สุดท้ายคือใช้สูตร (2 x อายุ) + 10
  • Blood volume infant = 80 mL/kg; child 1-3 y = 75 mL/kg; child > 3 = 70 mL/kg
  • Venous access การเปิด IV แนะนำเริ่มจาก percutaneous peripheral (antecubital fossa, saphenous vein) x 2 ครั้ง -> IO (anteromedial tibial, distal femur) -> percutaneous femoral vein (Seldinger) -> percutaneous internal/external jugular vein, subclavian vein (สำหรับ pediatric expert) -> venous cutdown (saphenous vein)
  • Fluid resuscitation ใช้หลัก crystalloid restrictive balanced blood product resuscitation โดยเริ่มจาก isotonic crystalloid 20 mL/kg bolus then PRC 10-20 mL/kg + FFP 10-20 mL/kg + platelet
    • หลังให้ crystalloid +/- blood จะตอบสนอง (HR ช้าลง ตื่นมากขึ้น peripheral pulse + skin color กลับมา มือเท้าอุ่น SBP เพิ่มขึ้น PP เพิ่มขึ้น UO 1-2 mL/kg/h) มีการตอบสนอง 3 แบบ คือ response (อาการคงที่หลังให้ crystalloid), transient response (อาการคงที่ชั่วคราวหลังให้ fluid + blood), non-response (อาการไม่ดีขึ้น)
    • กลุ่ม transient response และ non-response ต้องให้เลือดเพิ่ม และ activate massive transfusion protocol + พิจารณา early operation 
  • Urine output goal: infant 1- 2 mL/kg/h, child > 1 y 1-1.5 mL/kg/h, teenager 0.5 mL/kg/h; + monitor urine sp.gr เพื่อดู response ต่อ resuscitation (ใส่ Foley catheter ในคนที่ได้ IVF มากๆ)


Disability
  • GCS ในเด็ก verbal 5 (appropriate, social smile), 4 (ร้อง ปลอบได้), 3 (ร้องปลอบไม่ได้), 2 (กระสับกระส่าย), 1 (none)


Exposure
  • Thermoregulation ในเด็ก heat loss ง่าย ระหว่าง resuscitation ที่ต้องถอดเสื้อผ้า ให้มี heat lamps, heater, thermal blanket, warm room, warmed IVF/blood product หลังจากตรวจเสร็จให้คลุมด้วย warm blanket


CPR
  • ถ้า CPR > 15 นาที ก่อนมาถึง ER หรือมี fixed pupil เป็น non-survivors
  • ถ้ามาถึง ER ยัง CPR อยู่มาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ต้อง resuscitation ต่อ


Head trauma
Assessment
  • Prognosis ในเด็กดีกว่าผู้ใหญ่ (เด็ก < 3 ปีแย่กว่าเด็กวัยอื่น) แต่เด็กไวต่อ secondary brain injury มากกว่า (hypoxia, hypovolumia)
  • Infant สามารถ bleed จน shock ได้ (subgaleal, IVH, EDH) และเพราะ fontanelle ยังไม่ปิด จึงเกิดอาการแสดงช้าจาก intracerebral mass lesion
  • Vomiting และ amnesia พบได้บ่อยในเด็ก ไม่ได้แสดงว่ามี IICP ยกเว้นมี persistent vomiting ต้องทำ CT brain
  • Seizure หลังการบาดเจ็บ พบได้บ่อยในเด็ก แต่ต้องทำ CT brain
  • เด็กพบ focal mass lesion น้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่เกิด brain swelling ได้มากกว่า ทำให้เกิด IICP
  • Consultation และทำ early ICP monitoring ใน GCS < 8 (หรือ motor 1-2), มี multiple injury with brain injury (ต้องการ IV resuscitation มาก, ต้อง surgery, prolonged assessment), CT brain มี sign ของ brain swelling/herniation
  • Medication ปรับตามขนาดตัว ยาที่ให้บ่อย ได้แก่ 3%hypertonic, mannitol, levetriacetam, phenytoin

Management
  • ABCDEs ป้องกัน secondary brain injury
  • การใส่ ETT ในเด็กที่ไม่ร่วมมือ อาจให้ sedation + neuromuscular blockage (เพื่อป้องกัน IICP)
  • PECARN criteria สำหรับ head CT ได้แก่
    • แนะนำให้ CT ถ้า ซึม (GCS 14) แตก (palpebral skull fracture [< 2 y], basilar skull fracture [> 2 y])
    • แนะนำ observe 4-6 ชั่วโมง หรือ CT ถ้าอาการไม่ดีขึ้น (ตามประสบการณ์, multiple finding หรือ isolate finding [พบ ciTBI < 1 %], worsening symptoms, parental preference, < 3 mo) ได้แก่
      • อายุ < 2 ปี (บวม เพี้ยน สลบ รุนแรง): ศีรษะปูดบวม (ยกเว้นหน้าผาก) ผู้ปกครองเห็นว่าพฤติกรรมไม่ปกติ หมดสติ > 5 วินาที อุบัติเหตุรุนแรง
      • อายุ > 2 ปี (ปวดหัว อาเจียน สลบ รุนแรง): ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน หมดสติ  อุบัติเหตุไม่รุนแรง
  • อุบัติเหตุรุนแรง (severe mechanism) ยกตัวอย่างเช่น กระเด็นออกจากรถ รถคว่ำ คนโดยสารเสียชีวิต คนเดินถนนหรือรถจักรยาน (ไม่ได้สวมหมวกนิรภัย) โดนรถจักรยานยนต์ชน ตกจากที่สูง > 1.5 เมตร (อายุ > 2 ปี) หรือ > 0.9 เมตร (อายุ < 2 ปี) ศีรษะกระแทกรุนแร
  • Infant Scalp Score (ISS) มีความไวสูงในการประเมินทารกที่มาด้วย scalp hematoma ซึ่งถ้า score > 4 จะสัมพันธ์กับการที่ต้อง admit > 2 คืน การทำ intervention หรือ neurosurgery



Chest trauma
  • เป็น marker ที่แสดงว่าน่าจะมี multiple injuries (พบ 2/3)
  • Chest wall มีความยืดหยุ่น จะส่ง energy ผ่านลงไป pulmonary parenchyma ทำให้เกิด pulmonary contusion; rib fracture และ mediastinal injury พบน้อย ถ้ามีแสดงว่าเป็น severe impact force
  • เกิด tension pneumothorax ง่ายเพราะมี mobile mediastinum
  • Diaphragmatic rupture, aortic transection, major tracheobronchial tears, flail chest, cardiac contusion พบน้อย
  • ส่วนใหญ่ทำ CXR ก็เพียงพอในการวินิจฉัย


Abdominal trauma
Assessment
  • เด็กมักตื่นตกใจ ให้พูดกับเด็กด้วยความสงบ ไม่เสียงดัง ถามเกี่ยวกับอาการปวดท้อง และคลำเบาๆดู muscle tone ไม่ทำ deep palpation ตั้งแต่แรก (voluntary guarding)
  • ถ้า upper abdomen distention ให้ใส่ gastric tube ตั้งแต่ในช่วง resuscitation phase (OG ในทารก)
  • ถ้ามี shoulder-/lab-belt marks ให้สงสัย intraabdominal injury โดยเฉพาะถ้ามี lumbar fracture, intraperitoneal fluid, persistent tachycardia
  • ใส่ urinary catheter เพื่อ decompression bladder ช่วยในการตรวจ abdomen

Diagnostic adjuncts
  • CT with contrast แนะนำให้ทำใน blunt injury + no hemodynamic abnormality; early consult surgeon; ในเด็กมักต้องทำ sedation จึงต้องมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญ pediatric airway และ venous access ร่วมดูด้วย; พยายามให้ expose ต่อ radiation น้อยที่สุด (ALARA) ให้ทำ scan เฉพาะบริเวณที่สงสัย โดยใช้ radiation dose ต่ำที่สุด
  • FAST: ถ้าพบเลือด (มากหรือน้อยไม่ช่วยบอกว่าต้อง operative หรือ non-operative Tx) หรือไม่พบ (r/o intraabdominal injury ม่ได้) ก็ไม่ช่วยเปลี่ยน management
  • DPL:ใช้ในที่ที่ไม่มี CT, FAST ใส่ warmed crystalloid 10 mL/kg ทำโดย surgeon ที่เป็นคนดูต่อเท่านั้น

Nonoperative Mx
  • มักทำใน solid organ injuries ที่ hemodynamically normal หรือ stabilize อย่างรวดเร็วหลังให้ fluid resuscitation
  • ทำในที่ที่มี pediatric ICU; ในที่มีทรัพยากรน้อยอาจต้องทำ operative Tx ใน solid organ injury

Specific visceral injury
  • blunt pancreatic injury, RUQ injury, lab-belt injury จากการกระแทกหน้าท้องทำให้อวัยวะภายในโดนกดกับ spine ด้านหลัง
  • ที่พบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ได้แก่, small bowel perforation ที่ ligament of Treitz, mesenteric/small bowel avulsion, bladder rupture
  • Lab belt mark หรือมี Chance fracture ให้สงสัย enteric disruption
  • Penetrating injury ที่ perineum หรือ straddle injury ทำให้เกิด intraperitoneum injury ได้เพราะอยู่ใกล้กัน   



Spinal cord injury
Radiologic consideration
  • Pseudosubluxation C2/C3 (upto 3 mm) พบได้บ่อย (40% ในเด็ก < 7 ปี, 20% ในเด็ก < 16 ปี) โดยเฉพาะในท่า flexion แยกจาก cervical spine injury คือ ตรวจร่างกายผิดปกติ (soft tissue swelling, muscle spasm, step-off deformity, neurological exam) ให้ film ในท่า neutral โดยหนุนผ้าหนา 1 นิ้วตั้งแต่ไหล่ถึงสะโพก
  • Dens: พบระยะห่างระหว่าง dens กับ anterior arch ของ C1 เพิ่มขึ้นได้ในเด็กเล็ก; radiolucent ที่ base ของ dens ในเด็ก < 5 ปี (basilar odontoid synchrondosis); radiolucent ที่ apical ของ dens ในเด็ก 5-11 ปี (apical odontoid epiphyses)
  • Spinous process มี growth center อาจเข้าในผิดว่าเป็น fracture ที่ tip
  • SCIWORA พบได้ในเด็ก ถ้าประวัติ หรือ neurological exam สงสัย spinal cord injury ให้ถือว่าเป็น unstable injury ไว้ก่อน ให้ limited spinal motion และ consultation
  • CT, MRI ไม่ใช้เป็น routine screening ควรทำ plain film ก่อน ทำ CT/MRI ในรายที่ inadequate/abnormal plain film, neurological finding, ประเมิน spine ใน traumatic brain injury


Musculoskeletal trauma
  • ประวัติมีความสำคัญ (ความรุนแรง กลไก เวลา) เพราะ x-ray วินิจฉัยยากกว่า และให้ระวัง child maltreatment
  • Blood loss จาก long bone fracture และ pelvic fracture เกิดน้อยกว่า (femur fx -> Hct drop 4%) ถ้ามี hemodynamic instability ต้องหา bleeding source อื่นๆ
  • Fracture ที่พบใน immature skeletal ได้แก่ physis injury (growth arrest), green stick, Buckle injury, supracondylar fracture (elbow/knee) ให้ระวัง vascular และ growth plate injury
  • Splint ในเด็กมักทำ simple splint ก็เพียงพอและนัดพบ ortho แต่ถ้ามี vascular compromise อาจลองทำ reduction 1 ครั้งแล้ว simple splint/traction และทำ emergency evaluation


Child maltreatment
  • ประวัติและตรวจร่างกายไม่เข้ากัน ให้ประวัติไม่ตรงกัน ประวัติเป็นไปไม่ได้ (ตาม development)
  • มาช้า บาดเจ็บเป็นซ้ำๆ ไปมาหลายที่ (shopping) ผู้ปกครองมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ตรวจร่างกาย มีการบาดเจ็บหลายครั้ง หลายระยะ บาดเจ็บรอบปาก ก้น อวัยวะเพศ บาดเจ็บแปลกๆ (bite, cigarette, robe mark, sharply demarcated burn ) บาดเจ็บรุนแรง (long bone fx [< 3 y], rupture viscera, multiple subdural hematoma [without skull fracture], retinal haemorrhage, skull/rib facture [< 2 y])


Ref: Tintinalli ed8th, ATLS ed10th, Up-To-Date

1 ความคิดเห็น: