Neonatal and Paediatric transport
ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนย้าย
- เสียงดัง: ประมาณ 90-110 dB เกิดอุปสรรคในการตรวจด้วยวิธีการฟัง (ต้องใช้ visual monitoring แทน) ในทารกแรกเกิดจะเกิดภาวะ desaturation ได้ (ใช้ earmuffs หรือ earplugs ช่วย)
- ความสั่นสะเทือน: ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ (พยายามทำให้สบาย ให้ยาแก้อาเจียน ทำ gastric decompression) ทำให้อุปกรณ์เกิด motion artefact ได้
- แสงไม่พอ: ทำให้สังเกตอาการของผู้ป่วยลำบาก ทำหัตการยากมากขึ้น (แสงในรถให้ได้ 400 lux และไฟแสงเฉพาะที่ 1,000-1,500 lux)
- อุณหภูมิ: เกิดการสูญเสียความร้อน (จำกัดเวลาในการเคลื่อนย้าย ควบคุมอุณหภูมิภายในรถ ใช้ตู้อบผนัง 2 ชั้น (double-walled isolettes) สำหรับเคลื่อนย้ายทารก)
- ความชื้น: หายใจผ่านอากาศแห้งทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ เสมหะเหนียว (ใช้ humidifier กับ respiratory gases โดยเฉพาะเมื่อใช้เวลาเคลื่อนย้าย > 2 ชั่วโมง)
- ความดันบรรยากาศ: เมื่อเคลื่อนย้ายด้วยอากาศยาน โดยเฉพาะ non-pressurised cabin ที่สูง > 5000 ft. ทำให้ PO2 ลดลง ก๊าซขยายตัว (ป้องกัน trapped gas โดยใส่ OG tube, decompress pneumothorax)
- พื้นที่แคบ: เกิดข้อจำกัดในการทำงาน จำนวนบุคลากรและจำนวนอุปกรณ์ที่จะนำไปด้วย
- ความจำกัดของทรัพยากร: ทำ lab หรือ x-ray ไม่ได้ ไม่มีบุคลากรเฉพาะทางอยู่หน้างาน (ใช้ portable blood analyzer: i-STAT® ทำ imaging ที่จำเป็นก่อนเคลื่อนย้าย ปรึกษาผ่านอุปกรณ์ telecommunications)
- อุปกรณ์ที่นำไปเสีย: เช่น O2 หมด, ยา/เวชภัณฑ์หมด, infusion pump เสีย (ต้องตรวจเช็ค บำรุงรักษา มีอุปกรณ์สำรอง)
เพราะฉะนั้นต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนการขนย้ายผู้ป่วย
(สามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่อง inter-hospital transfer) โดยดูจากปัญหาในปัจจุบันของผู้ป่วยและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง
กระบวนการในการส่งต่อผู้ป่วย
1. การตัดสินใจในการส่งต่อผู้ป่วย
เมื่อการรักษานั้นเกินกว่าศักยภาพของโรงพยาบาล (เช่น
RDS ควรไปรพ.ที่ให้ surfactant ได้, persistent pulmonary HT ควรส่งไปรพ.ที่มี inhaled nitric oxide หรือมี ECMO) ซึ่งการตัดสินใจส่งต่อเกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการทำให้อาการของผู้ป่วยคงที่ บอกเหตุผลในการส่งต่อแก่ญาติ
ติดต่อรพ.ปลายทาง ส่งต่อข้อมูล ปรึกษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางของรพ.ปลายทางเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีในเคลื่อนย้ายและทีมที่เหมาะสม
2. การทำให้อาการคงที่ก่อนทำการส่งต่อผู้ป่วย
ดูเรื่อง PALS resuscitation: Pediatric Assessment Triangle (Appearance,
Work of breathing, Circulation) และการประเมินก่อนเคลื่อนย้าย ได้แก่
- Airway: ถ้ามีภาวะที่อาจจะแย่ลงให้ intubation ไว้ก่อน ยืนยันตำแหน่ง ETT และยึดไว้ให้มั่นคง จับ ETT เสมอเมื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เมื่อมีปัญหาระหว่างเดินทางให้คิดถึง “DOPE” ได้แก่ Dislodgement/obstruction, O2 source failure, Pneumothorax, Equipment failure
- Breathing: ตรวจ ABG (CBG, VBG ก็ได้) เพื่อปรับ ventilator setting และให้ O2 ในขนาดต่ำที่สุดเพื่อให้ได้ O2 saturation ตามเป้าหมาย; ใน RDS ให้ PEEP หรือ CPAP (ผ่าน nasal cannula-type device) 4-5 cmH2O
Premature
with RDS
|
SaO2
85-94%
|
PaCO2
50-55 mmHg
|
Term
infant
|
SaO2
> 95%
|
PaCO2
35-50 mmHg
|
Persistent
pulmonary hypertension of newborn
|
SaO2
> 95%
|
PaCO2
30-40 mmHg
|
Congenital
heart disease
|
SaO2
75-85%
|
PaCO2
35-50 mmHg
|
Initial
ventilator setting
|
- Circulation: ประเมินและแก้ไขภาวะ shock (IV resuscitation, inotrope, NaHCO3, PGE1) ในเด็กทุกคนต้องมี IV line (+/- IO ถ้าหาเส้นไม่ได้) โดยเฉพาะเด็กที่อาการหนักต้องมี IV line > 2 เส้น (ใช้ umbilical line ได้ในทารก < 1 สัปดาห์) และการให้ fluid ต้องใช้ infusion pump เสมอ ยกเว้นเด็กที่มี partial airway obstruction (croup, FB, epiglottitis) ที่ไม่ต้องการให้เด็กรู้สึกกลัวอาจไม่ต้องเปิด IV
- Sugar: ทารกแรกเกิดทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิด hypoglycemia ทารกทุกคนต้องให้ 10%DW rate 80 mL/kg/d (4-6 mg/kg/min) ถ้ามี hypoglycemia อาจจะให้ 10% DW 4-5 mL/kg IV bolus และตรวจ DTX ซ้ำอีก 15-30 นาที มีเป้าหมายให้ glucose > 50 mg/dL
- Temperature: ในทารกแรกเกิดอาจใช้ตู้อบ (incubator) หรือใช้ radiant warmer และคอยติดตามอุณหภูมิกายอยู่เสมอให้อยู่ระหว่าง 36.5-37.5oC; ดู protocol ในการใช้ incubator
- Emotional support ทั้งครอบครัวและตัวเด็กเอง อาจให้พ่อแม่กอดเด็กไว้ระหว่างให้การรักษาจะสามารถลด stranger anxiety ลงได้; ให้ความสำคัญในเรื่อง pain control
3. เตรียมบุคคลากรที่เดินทางไปกับผู้ป่วย
สำหรับการขนย้ายผู้ป่วยเด็กอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
- พยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงาน > 5 ปี และต้องเคยทำงานใน NICU หรือ PICU หรือ pediatric ER > 3 ปี
- แพทย์ หรือ เวชกรฉุกเฉิน (paramedic) หรือ respiratory therapist
4. เตรียมอุปกรณ์
monitor
ยา เครื่องมือต่างๆ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาแทนการตรวจร่างกาย
พิจารณาชนิดของอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้เคลื่อนย้าย โดยดูจากน้ำหนัก ขนาด ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่
และความทนต่อ motion artefact เช่น ECG,
SaO2, NIBP, capnography, temperature, portable ventilator, infusion
pump เป็นต้น; เครื่องมือพื้นฐานที่ต้องมีประจำรถ
5. เตรียมรถ
ambulance เช่น O2 supply และกำลังไฟฟ้า
6. กระบวนการจัดการเอกสาร
ข้อมูลในการส่งต่อที่ครบถ้วน ได้แก่ ประวัติ ตรวจรางกาย การรักษา ผลตรวจเลือด x-ray
ดูเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ PALSresuscitation, neonatal resuscitation, approach to pediatric emergencies, painmanagement and procedural sedation in pediatric, congenital heart disease:cardiogenic shock
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น