Neonatal emergencies
Neonate หรือ ทารกแรกเกิด หมายถึง
ทารกอายุ < 1 เดือนหลังเกิด หรือ ภายใน 30 วันนับจากกำหนดคลอด สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด
ภาวะปกติในทารกปรกเกิด
|
ดูเรื่องปัญหาในทารกแรกเกิด จากสื่อการสอนของ
ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ เช่น ทารกนอนมากเกิน
เลือดออดใต้เยื่อหุ้มกระดูก/ใต้พังผืดของกะโหลกศีรษะ
เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบ คัดจมูก ตาแฉะจากท่อน้ำตาอุดตัน ภาวะตัวเย็นและภาวะอุณหภูมิกายสูง
โรคอ้อนสามเดือน เป็นต้น
ในทารกที่มาด้วยอาการของอาการของ
cardiovascular
หรือ respiratory distress ต้องวินิจฉัยแยกโรคสาเหตุดังต่อไปนี้
|
ดูเรื่อง congenital heart disease: cyanosis, cardiogenic shock, CHF; pediatric respiratory emergencies; pediatric neurological emergencies; pediatric
metabolic emergencies; pediatric abdominal pain
Neonatal sepsis (rectal
temperature > 380C หรือ < 36.50C)
เป็นสาเหตุของ cardiorespiratory
distress ที่พบบ่อยที่สุด เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ β-hemolytic
streptococci, enteric organisms (E.coli, Klebsiella sp.), Enteroviruses
(coxsackievirus, echovirus), RSV, influenza A
แบ่ง neonatal sepsis ออกเป็น
- Early-onset พบใน 2-3 วันแรกหลังคลอด อาการจะเป็นเฉียบพลัน มักจะสัมพันธ์กับ perinatal risk factors (PPROM, maternal fever, fetal distress) พบ septic shock และ neutropenia ได้บ่อย
- Late-onset พบหลังอายุ 1 สัปดาห์ อาการมักค่อยเป็นค่อยไป พบสาเหตุจาก meningitis ได้บ่อย
Ix: full sepsis W/U (CBC, H/C, UA, UC, CSF (cell count,
G/S, C/S); +/- CXR, stool exam ถ้ามีอาการ)
Tx: admit ทุกราย ถ้าสงสัย
bacterial septicemia หรือ meningitis ให้ ampicillin
50 mg/kg + (cefotaxime 50 mg/kg หรือ gentamicin
2.5 mg/kg); ในรายที่แม่มีประวัติเป็น herpes, สงสัยจาก CSF finding (predominated lymphocyte) หรือในรายที่อาการหนักให้
IV acyclovir ร่วมด้วย
Inconsolable crying
- ซักประวัติโดยมุ่งความสนใจไปที่อาการอื่นๆนอกจากเรื่องร้องไห้ เช่น กินนมได้? อาเจียน? ถ่ายปกติ? ไข้? ตัวเย็น?
- ตรวจร่างกาย (Head-to-Toe)
- GA: altered mental status?
- คลำ fontanelles (โป่ง-ICH; แฟบ-dehydration)
- HEENT: corneal abrasion? (ถ้าสงสัยตรวจ fluorescein staining) Nasal obstruction? Oral thrust? Otitis media?
- RS: pneumonia? Tachypnea/retraction?
- CVS: SVT? Heart failure?
- GI: abdominal tenderness? Distension? Discoloration? Anal fissure?
- GU: hernia? Testicular torsion? Paraphimosis?
- Skin: rash บริเวณ diaper area, groin
- Extremities: มี hair tourniquet? Injuries?
- Ix: glucose ในทารกที่มี altered mental status, อาเจียน, กินได้น้อย
- Tx: ในรายที่ไม่พบสาเหตุและทารกหยุดร้องไห้แล้ว ยังไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม ให้นัดติดตามอาการ
Intestinal
colic
(โรคอ้อนสามเดือน)
|
Neonatal jaundice
- Physiologic jaundice คือเมื่อ bilirubin เพิ่มขึ้น < 5 mg/dL/24 ชั่วโมง (ในทารกจะสังเกตเห็นเหลืองเมื่อ bilirubin > 5 mg/dL) จะสังเกตว่าเหลืองหลัง 24 ชั่วโมงและสูงสุดในวันที่ 4-5 หลังคลอด (วันที่ 7-10 ในทารกคลอดก่อนกำหนด) สูงสุด < 12-15 mg/dL และค่อยๆลดลง < 2 mg/dL ในวันที่ 10-14 หลังเกิด
- Pathologic jaundice มีลักษณะดังนี้คือ เหลืองเร็ว (เริ่มเหลือง < 24 ชั่วโมง หรือ เพิ่มเร็ว > 5 mg/dL/24 ชั่วโมง หรือ > 0.2 mg/dL/h) เหลืองมาก (TB > 6 mg/dLหรือ DB > 2 mg/dL) เหลืองนาน (> 14 วัน)
- สาเหตุของ jaundice ที่พบบ่อยได้แก่ hemolysis จาก ABO incompatibility (แม่หมู่ O ลูกหมู่ A/B), Rh incompatibility (แม่ Rh negative, ลูก Rh positive), minor blood group, G6PD deficiency, hematoma; breastfeeding jaundice (เกิดใน 3-4 วันแรก เกิดจากทารกดูดนมแม่ไม่พอ), breastmilk jaundice (เกิดหลัง 5 วัน วินิจฉัยแยกจากสาเหตุอื่นๆ)
- สาเหตุอื่นๆ เช่น TORCH infection, sepsis, Crigler-Najjar syndrome, Gilbert’s syndrome, biliary atresia, hepatitis, hypothyroidism, inborn error of metabolism, pyloric stenosis
การดูภาวะเหลืองโดยการใช้นิ้วรีดไปบนผิวหนัง |
ระดับ bilirubin ที่ face 4-8 mg/dL, upper trunk 5-12, lower trunk & thighs 8-16, arm & lower legs 11-18, palms & soles > 15 mg/dL; Zulkarnay Z, et al. Jaundice Assessement of Newborn Baby: A Short Review on Kramel’s Rule and Magnetic Induction Spectroscopy. Jurnal Teknologi (Sciences & Engineering). 73. 107-110. 10.11113/jt.v73.4426. |
- Ix สำหรับ pathologic jaundice: CBC, blood smear, reticulocyte count, LFTs, blood group, Rh, Coombs’ test, G6PD, +/- septic W/U; เลือดแม่ตรวจ blood group, Rh, Coombs’ test
เกณฑ์การรักษาด้วย phototherapy: ภาพจาก Management of Hyperbilirubinemia in the Newborn Infant 35 or More Weeks of Gestation, Pediatrics |
Respiratory problems
Cough
- viral URI จะมีอาการจามหรือคัดจมูกร่วมด้วย; Reflux, aspiration จะสัมพันธ์กับการ feeding
Noisy breathing:
แยกระหว่างเสียงจากจมูก (stertor) เสียง stridor
หรือ wheezing
- Stertor: มีเสียงตอนหายใจเข้า ได้แก่ choanal stenosis อาจมีอาการหายใจลำบาก เมื่อร้องไห้จะดีขึ้น ถ้าลองใส่ NG tube จะใส่ไม่ได้; nasal obstruction ให้หยอด saline และใช้ลูกยางดูด
- Stridor: อาจมีเสียงทั้งตอนหายใจเข้าและหายใจออก ถ้าเป็น fixed lesion (เช่น webs, cyst, atresia, stenosis, cleft, hemangiomas) มักจะเป็น biphasic; ถ้า stridor เป็นมากขึ้นเมื่อมี activity หรือ ร้องไห้ สงสัย laryngomalacia, tracheomalacia, subglottic hemangioma (มักมีอาการหลัง 2-3 สัปดาห์); อื่นๆ เช่น vascular ring/laryngeal cleft (feeding difficulty), TE fistula (เป็น recurrent pneumonia, เหนื่อยหลัง feeding, มีเสมหะ), tracheal stenosis (หายใจเสียงดัง ร้องเสียงสูง หายใจเหนื่อยแม้เป็นแค่ mild URI), vocal cord paralysis (เสียงแหบ ร้องเสียงเบา), subglottic stenosis (ประวัติ intubation)
Apnea:
- คือการหยุดหายใจ > 20 วินาที หรือ < 20 วินาที แต่ทำให้เกิด bradycardia, cyanosis หรือการเปลี่ยนแปลงของ muscle tone; วินิจฉัยแยกโรคแบบเดียวกับทารกที่มาด้วย respiratory distress (ดูกล่องข้างต้น); Tx: airway, ventilator support, ถ้าไม่พบสาเหตุชัดเจนให้รักษาแบบเดียวกับ neonatal sepsis
GI problems
Feeding difficulty:
- ดูเรื่องภาวะปกติในทารก (กล่องข้างต้น)
- ทารกที่มีอาการตั้งแต่แรกเกิด จะดูสุขภาพไม่ดี มีภาวะขาดน้ำ สาเหตุเช่น stenosis, stricture, laryngeal clefts, cleft palate, double aortic arch (เบียด esophagus)
- ทารกที่มีอาการในภายหลัง ให้หาสาเหตุการเจ็บป่วย มักเกิดจาก infection
Regurgitation:
- ถ้าน้ำหนักขึ้นปกติ ให้คำแนะนำว่าอาการจะค่อยๆลดลงเมื่อทารกโตขึ้น ให้ feed ในท่า upright
- ถ้าทารกมีอาการทางเดินหายใจ หรือเจริญเติบโตไม่ดี ให้หาสาเหตุทาง anatomic abnormality
Vomiting:
- อาจเกิดจากสาเหตุทาง GI, CNS (IICP), metabolic disorders, infection (sepsis, UTI, AGE); ดูเรื่อง pediatric AGE, abdominal pain in pediatric
- ถ้ามีอาการอาเจียนตั้งแต่แรกเกิดให้สงสัย anatomical abnormality เช่น TE fistula (+ esophageal atresia), duodenal atresia (พบบ่อยขึ้นใน Down’s syndrome), midgut malrotation
- Pyloric stenosis มาด้วยอาเจียนพุ่งหลังกินนม ไม่มีเลือดหรือน้ำดีปน เกิดหลังอายุ 2-3 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่เกิดช่วงอายุ 6 สัปดาห์-6 เดือน) หลังอาเจียนทารกมักดูปกติและหิว อาจมี gastric wave ให้เห็น คลำได้ olive-shaped mass ยืนยันการวินิจฉัยโดยทำ US; Tx: ทารกที่ดูปกติให้นัดพบศัลยกรรม
- ภาวะฉุกเฉินอื่นๆที่มาด้วยอาเจียน ได้แก่ malrotation with volvulus, intussusception, necrotizing enterocolitis, incarcerated hernia
Blood in the diaper:
- ให้ยืนยันว่าเป็นเลือดโดยตรวจ guaiac paper (พบบ่อยว่าเป็นสีส้มหรือแดงจาก urinary crystal ใน urine)
- ถ้าเป็นผู้หญิง ดูว่าไม่ใช่เลือดจาก vagina (พบได้ปกติจาก estrogen withdrawal)
- ตรวจก้นว่ามี anal fissure หรือไม่
- ใน 2-3 วันแรก มักเป็นเลือดแม่ที่ทารกกลืนเข้าไป ตรวจยืนยันโดย Kleihauer=Betke หรือ Apt-Downey test
- ถ้าเกิดหลัง 2-3 วัน ที่พบบ่อยที่สุดคือ idiopathic สาเหตุอื่นๆได้แก่ coagulopathy, necrotizing enterocolitis, allergic/infectious colitis, congenital defects
- Tx: อาจลองหยุดนมวัว ในรายที่เป็นรุนแรงอาจทำ endoscopy
Diarrhea:
- ในทารกที่กินนมแม่อาจถ่ายกระปิดกระปรอยได้บ่อยถึง 10 ครั้ง/วัน
- DDx: volvulus, intussusception, necrotizing enterocolitis; ทั้ง 3 ภาวะนี้ มักถ่ายเป็นมูก/เลือด และมีอาการอาเจียน
- ถ้าสงสัย infectious diarrhea (ดูเรื่อง pediatric AGE) ให้ประเมินภาวะ dehydration (V/S ตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก); Ix: stool exam, stool occult blood, stool pH; BUN, Cr, electrolytes, glucose ในรายที่มี dehydration; UA; Tx: rehydration
Abdominal distention:
- ถ้าทารกดูปกติ ดูดนมได้ดี ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
- DDx: bowel obstruction, constipation, necrotizing enterocolitis, ileus (sepsis, AGE), congenital organomegaly
Constipation:
- แยกจากภาวะปกติในทารก (ดูกล่องข้างต้น) ทารกบางรายอาจจะถ่ายทุก 5-7 วัน (อาจถึง 2 สัปดาห์ต่อครั้ง)
- ถ้าไม่ถ่ายใน 48 ชั่วโมงแรกให้สงสัย intestinal stenosis, Hirschsprung’s disease, meconium ileus (สัมพันธ์กับ cystic fibrosis)
- ถ้า constipation เกิดภายใน 1 เดือนสงสัย Hirschsprung’s disease, hypothyroidism, anal stenosis, anterior displaced anus (วัด Anal Position Index (API) = Fourchette-anal distance หรือ Scrotal-anal distance หารด้วย Fourchette-Coccygeal distance หรือ Scrotal-Coccygeal distance ผิดปกติถ้า < 0.46 ในผู้ชาย หรือ < 0.34 ในผู้หญิง), neurogenic bowel (อาจพบ spinal bifida)
Neonatal conjunctivitis
- Chemical conjunctivitis: มีอาการในวันแรกหลังคลอด เกิดจากการหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ไม่ต้องรักษาจะหายเองใน 24-48 ชั่วโมง
- Gonococcal conjunctivitis: มักเกิดใน 3-5 วันหลังคลอด วินิจฉัยโดยทำ G/S, C/S for N. gonorrhea; Tx: cefotaxime 50 mg/kg IV/IM + ocular irrigation; ทำ septic W/U (+ CSF)
- Chlamydia conjunctivitis: มักเกิดอาการช่วงปลายสัปดาห์แรก ถึงอายุ 1 เดือน อาจมีอาการเล็กน้อย จนถึงตาแดงจัด เปลือกตาอาจบวมมาก วินิจฉัยทำ tissue C/S (Dacron swabs), antigen detection; Tx: erythromycin 50 mg/kg/d แบ่ง PO QID x 14d ให้การรักษาแม่และคู่นอนด้วย
- HSV ถ้าตรวจพบ vesicle ที่ skin หรือ mucous membrane ต้องทำ full septic W/U (+ CSF); Tx: acyclovir 20mg/kg/dose TID
- DDx: corneal abrasion เกิดจากขนตาหรือนิ้วไปข่วนโดน มีอาการตาแดง ระคายเคืองตา ให้ตรวจ fluoresceine with Wood’s lamp; Acute glaucoma พบได้น้อย มาด้วยตาแดง น้ำตาไหล กระจกตาขุ่น AC ตื้น วัด IOP สูง
Abnormal movement
- ภาวะปกติในทารก ได้แก่ startle reflex (อาการผวา เมื่อถูกกระตุ้นจากเสียงหรือการสัมผัสจะกระตุกเหยียดแขนและขาครั้งเดียว), sleep myoclonus (อาการกระตุกเป็นจังหวะตอนหลับ จะหยุดเมื่อสัมผัสหรือปลุกทารก)
- Neonatal tetany จาก hypocalcemia สัมพันธ์กับ congenital syndrome เช่น DeGeorge’s syndrome
- Neonatal seizure ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีอาการเกร็งกระตุก มักจะมาด้วยตาจ้องไปด้านใดด้านหนึ่ง (eye deviation) แลบลิ้น (tongue thrusting) กระพริบตาถี่ๆ (eye fluttering) หยุดหายใจ ถีบขาเหมือนปั่นจักรยาน (pedaling movement)
Ref:
Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น